Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1850
Title: Open Approach Learning Activity Affecting Science Argumentation Skills of Mathayomsuksa 5 Students
การจัดการเรียนรู้แบบเปิดที่มีผลต่อทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Authors: Suttinee Maneetup
ศุทธินี มณีทัพ
Supakorn Harnsoongnoen
สุภกร หาญสูงเนิน
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การจัดการเรียนรู้แบบเปิด
ทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์
Open approach learning activity
Issue Date:  12
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this research were 1) to develop an open approach learning activity that affects science argumentation skills with a required efficiency of 70/70 2) to develop science argumentation skills of Mathayomsuksa 5 students through the open approach to pass the good level 3) to compare learning achievement on sound wave of Mathayomsuksa 5 students through open approach learning activity with 70 percent criterion. The sample in this study was a group of 40 students of Mathayomsuksa 5 in the 2nd semester of the 2021 academic year at Wapipathum school. The research instruments included 1) the lesson plans on sound wave 2) the argumentation ability test 3) the achievement test. Statistics used in this study consist of percentage, mean, standard deviation, and one sample t-test. The results were as follows: 1) The open approach learning activity that affects science argumentation skills had the efficiency (E1/E2) of 79.63/78.74, higher than the predetermined criterion of 70/70. 2) 36 students which were 90.00 percent of students who had learned science argumentation skills through the open approach learning activity passed at the good level. 3) Students who had learned through the open approach learning activity had learning achievement of more than 70 percent criterion with the statistical significance of .05 level.
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบเปิดที่มีผลต่อทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เพื่อพัฒนาทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเปิด ให้ผ่านเกณฑ์ระดับดี และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการเรียน เรื่อง เสียง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเปิดกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม ตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนวาปีปทุม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบเปิด เรื่อง เสียง 2) แบบทดสอบวัดทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ และ 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐาน One sample t-test ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) การจัดการเรียนรู้แบบเปิดที่มีผลต่อทักษะโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 79.63/78.74 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 70/70 ที่กำหนด 2) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเปิดที่มีผลต่อทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ ผ่านเกณฑ์ระดับดี จำนวน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 90.00 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด 3) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเปิดมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1850
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010558029.pdf2.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.