Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1859
Title: Developing a Program to Enhance Innovative Leadership of School Administrators under The Secondary Educational Service Area Office Kalasin
การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์
Authors: Malita Promsopa
มาลิตา พรมโสภา
Tharinthorn Namwan
ธรินธร นามวรรณ
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: โปรแกรม
ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม
การเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม
Program
Innovative Leadership
Enhancing Innovative Leadership
Issue Date:  21
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this study were 1) to investigate the current situations, desirable situations, and needs of innovative leadership of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office Kalasin, 2) to develop the program to enhance innovative leadership of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office Kalasin. The design of this study was mixed method which divided into 2 phases. Phase 1 was the study concerning the current situations, desirable situations, and needs of innovative leadership of school administrators. There were 321 samples, school directors and teachers included. The instrument used to collect data was the questionnaire regarding the current situations, desirable situations and needs of innovative leadership of school administrators. The statistics used to analyze the data were percentage, mean, standard deviation, and PNI Modified. Phase 2 was the development of the program to enhance innovative leadership of school administrators. There were 5 experts obliged to evaluate the suitability and feasibility of the program. The statistics used to analyze the data were mean and standard deviation.   The results revealed that: 1. According to the current situations of innovative leadership of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office Kalasin, the result of this study showed that overall was at a high level. In consideration of each foundational element, it revealed that each of them was also at a high level. The overall desirable situations of innovative leadership of school administrators was at the highest level. As for each foundational element, it revealed that each of them was also at the highest level. Having reviewed the priority needs, creative thinking was the most required element, and the rest comprised of vision, teamwork and collaboration, roles and responsibilities, and personality were required in order of priority. 2. There were 5 elements of the program to enhance innovative leadership of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office Kalasin, including the principle, the goals and objectives, the contents, the development processes, and the evaluation. The contents divided into 5 modules consisted of vision, teamwork and collaboration, creative thinking, roles and responsibilities, and personality. With reference to the experts, the suitability and feasibility of the program was at the highest level.
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือผู้รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาและครู จำนวน 321 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า ทุกองค์ประกอบอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า ทุกองค์ประกอบอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นเดียวกัน และความต้องการจำเป็นในการพัฒนา พบว่า มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาด้านการมีทักษะการคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม มากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการมีวิสัยทัศน์เชิงนวัตกรรม ด้านการทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมเชิงนวัตกรรม ด้านการแสดงบทบาทหน้าที่เชิงนวัตกรรม และด้านการมีบุคลิกภาพเชิงนวัตกรรม ตามลำดับ 2. โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ 1) หลักการของโปรแกรม 2) เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโปรแกรม 3) เนื้อหากิจกรรมของโปรแกรม 4) กระบวนการพัฒนาของโปรแกรม และ 5) การประเมินผลของโปรแกรม โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 5 Module ได้แก่ Module 1 การมีวิสัยทัศน์เชิงนวัตกรรม Module 2 การทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมเชิงนวัตกรรม Module 3 การมีทักษะการคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม Module 4 การแสดงบทบาทหน้าที่เชิงนวัตกรรม Module 5 การมีบุคลิกภาพเชิงนวัตกรรม  และผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรม พบว่า มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1859
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64010581039.pdf8.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.