Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1869
Title: The Experiential Tourism Marketing Mix Management of Weaving Villages in Buriram Province
การจัดการส่วนประสมการตลาดท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ของหมู่บ้านทอผ้าในจังหวัดบุรีรัมย์
Authors: Sureerat Khrueabkhontho
สุรีรัตน์ เครือบคนโท
Kantimarn Chindaprasert
กันฑิมาลย์ จินดาประเสริฐ
Mahasarakham University. The Faculty of Tourism and Hotel Management
Keywords: ส่วนประสมการตลาด
การท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์
หมู่บ้านทอผ้า
Marketing Mix Management
Experiential Tourism
Weaving Villages
Issue Date:  4
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objectives of this mixed-method research were: 1) to explore the experiential tourism of weaving village in Buriram province; 2) to study the behavior of experiential tourists of the weaving village in Buriram province; 3) to study the opinions on the experiential marketing mix of the weaving village in Buriram province; and 4) to provide guidelines for experiential marketing mix management in the weaving village in Buriram Province. The mixed-method research uses the quantitative method via questionnaire tool. The sample group consisted of 399 Thai tourists who visited the weaving village in Buriram Province. The statistics used for data analysis were descriptive statistics, inferential statistics, T-test, and F-test. For qualitative research, this research uses interview from public sector, travel agency businessman and leader of the weaving group. It was found that the overall opinion of the tourists about the experiential tourism of the weaving village in Buriram province is at a high level. According to the behavior of experiential tourists, most travel resources are guided through the internet and the experiential tourists usually travel with their families for sightseeing and leisure. In term of the experiential marketing mix, the overall opinion on the experiential marketing mix of the weaving village is at a high level. In addition, there are no different opinions about the experiential tourism among the tourists with different genders, occupations, incomes, and domiciles. On the other hand, there are different opinions about the experiential tourism among the tourists with different ages and education. Owing to the guidelines for the experiential tourism management of the weaving village in Buriram province, it is suggested that the tourists should be involved and participated in weaving activities and local cultural activities to develop into a creative tourism.    
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อสำรวจการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ของหมู่บ้านทอผ้าในจังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ของหมู่บ้านทอผ้า ในจังหวัดบุรีรัมย์ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาดเชิงประสบการณ์ในหมู่บ้านทอผ้าในจังหวัดบุรีรัมย์ และ 4) เพื่อเสนอแนะแนวทางการจัดการส่วนประสมการตลาดท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ในหมู่บ้านทอผ้าในจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการวิจัยเแบบผสมผสาน โดยวิธีการเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาเที่ยวที่หมู่บ้านทอผ้าในจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 399 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน T-test และF-test ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือ โดยมีผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ภาครัฐ ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว และหัวหน้ากลุ่มสมาชิกทอผ้า ผลการวิจัย พบว่า นักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ของหมู่บ้านทอผ้าในจังหวัดบุรีรัมย์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีพฤติกรรมนักท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ ส่วนใหญ่มีแหล่งข้อมูลที่ได้รับคำแนะนำมาเที่ยวจากอินเตอร์เน็ต เดินทางร่วมกับครอบครัว เพื่อท่องเที่ยวและพักผ่อน สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาดเชิงประสบการณ์ในหมู่บ้านทอผ้าในจังหวัดบุรีรัมย์ ภาพรวมในระดับมาก โดยนักท่องเที่ยวที่มีประชากรศาสตร์ที่มีเพศ อาชีพ รายได้และภูมิลำเนาต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ไม่แตกต่างกัน ส่วนนักท่องเที่ยวที่มีอายุ และการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ แตกต่างกัน สำหรับแนวทางในการจัดการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ของหมู่บ้านทอผ้าในจังหวัดบุรีรัมย์ คือ ควรให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในกิจกรรมการทอผ้า มีส่วนร่วมกับกิจกรรมวัฒนธรรมท้องถิ่น และพัฒนาเป็นการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1869
Appears in Collections:The Faculty of Tourism and Hotel Management

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60011080007.pdf4.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.