Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1870
Title: VaNSAS Algorithm - Based web Application for Nakhon Phanom Province Tourist Trip Designing, Thailand
เว็บแอปพลิเคชันเพื่อการออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวของจังหวัดนครพนมโดยใช้ VaNSAS อัลกอริทึม
Authors: Boontham Kharkhanmanee
บุญธรรม ข่าขันมะณี
Kantimarn Chindaprasert
กันฑิมาลย์ จินดาประเสริฐ
Mahasarakham University. The Faculty of Tourism and Hotel Management
Keywords: การออกแบบเส้นทางท่องเที่ยว
จังหวัดนครพนม
เว็บแอปพลิเคชัน
Tourist Trip Designing
Nakhon Phanom Province
web application
Issue Date:  29
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The research study entitled “VaNSAS Algorithm-Based Web Application for Designing Tourist Routes in Nakhon Phanom Province of Thailand” is aimed 1) to investigate the tourist behaviors in Nakhon Phanom Province, 2) to explore the potential of tourist attractions of Nakhon Phanom Province, 3) to investigate the behaviors of using the tourist route design application of Nakhon Phanom Province, 4) to examine the needs of tourists regarding the use of application of Nakhon Phanom Province, and 5) to propose a web application for designing tourist routes through using the VaNSAS algorithm. In this study, mixed-methods research was employed. It was conducted in 3 phases as follows: 1) Phase 1, using quantitative research method in collecting data from the tourists, , using qualitative research method by a semi-structured, in-depth interview with the heads of government agencies related to tourism, 2) Phase 2, developing a tourist-route design application of Nakhon Phanom Province with the concept of the Tour Trip Design Problem (TTDP), the Tour Route Planning Problem (TRPP), the Heuristic Approaches, and the VaNSAS algorithm, and 3) Phase 3, evaluating the level of user satisfaction with the application. Phase 1, employed a quantitative research method in which the sample was 500 Thai tourists visiting Nakhon Phanom. The accidental sampling method was used. The research instrument was a questionnaire divided into 6 parts: 1) personal information of the respondents, 2) tourist behavior, 3) potential of tourist attractions 4) behaviors of using the tourist route design application, 5) the needs of tourists for using the tourist route design application, and 6) recommendations. The statistical tools used in the data were frequency, percentage, mean, standard deviation (S.D.), T-Test, and F-Test with the statistical software program in the data analysis. It was found that 1) tourists with different demographics have different tourist behaviors, 2) tourists with different demographics have different behaviors of using the tourist route design application, 3) tourists with different demographics have different needs of using the tourist route design application, and 4) tourists with different demographics have different opinions towards the potential of tourist attractions. Moreover, the qualitative research method was conducted by a semi-structured, in-depth interview with the heads of government agencies related to tourist attractions and activities for tourism. In Phase 2, then, the data obtained from the quantitative and qualitative data analysis in Phase 1 were used for developing the tourist route design application with the following frameworks: the Tour Trip Design Problem (TTDP), the Tour Route Planning Problem (TRPP), the Heuristic Approach: VaNSAS Algorithm. In Phase 3, after that, the satisfaction level of 500 application users as tourists was assessed. Accidental sampling was used. It revealed that the satisfaction level of the tourists regarding the application use was at the maximum level (x̄ = 4.96, S.D. = 0.19)  including the aspects that the application was useful and there was a variety of beneficial information for users at (x̄ = 4.69, S.D. = 0.60), and the information was systematically organized into categories at (x̄ = 4.62, S.D. = 0.67).
การศึกษาเรื่อง “เว็บแอปพลิเคชันเพื่อการออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวของจังหวัดนครพนมโดยใช้ VaNSAS อัลกอริทึม”( VaNSAS Algorithm - Based web Application for Nakhon Phanom Province Tourist Trip Designing, Thailand) มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อสำรวจข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการสร้างเว็บแอปพลิเคชันเพื่อการออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวของจังหวัดนครพนม 2) เพื่อออกแบบเว็บแอปพลิเคชันเพื่อการออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวของจังหวัดนครพนมโดยใช้ VaNSAS อัลกอริทึม 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลของการใช้เว็บแอปพลิเคชันโดยใช้ VaNSAS อัลกอริทึมเพื่อการออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวของจังหวัดนครพนม และ 4) เพื่อนำเสนอเว็บแอปพลิเคชันเพื่อการออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวของจังหวัดนครพนมโดยใช้ VaNSAS อัลกอริทึม การศึกษาครั้งนี้ใช้การศึกษาแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) โดยมีการดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะที่ 1 สำรวจข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการสร้างเว็บแอปพลิเคชันเพื่อการออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวของจังหวัดนครพนมใช้การวิจัยเชิงปริมาณเพื่อเก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยว และใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างจากหัวหน้าหน่วยงาน ภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว 2) ระยะที่ 2 พัฒนาแอปพลิเคชันการออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวของจังหวัดนครพนม ด้วยแนวคิด The tour trip design problem (TTDP) และ the tour route planning problem (TRPP) และ แนวคิด Heuristic approaches : VaNSAS algorithm และ 3) ระยะที่ 3 ประเมินประสิทธิผลของการใช้เว็บแอปพลิเคชันโดยใช้ VaNSAS อัลกอริทึมเพื่อการออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวของจังหวัดนครพนม ระยะที่ 1 ใช้การวิจัยเชิงปริมาณเพื่อเก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวใน จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่าง 500 คน ใช้วิธีเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidential Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามซึ่งมี 6 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 พฤติกรรมนักท่องเที่ยว ตอนที่ 3 ศักยภาพสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว ตอนที่ 4 พฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชันการออกแบบเส้นทางท่องเที่ยว ตอนที่ 5 ความต้องการของนักท่องเที่ยวในการใช้แอปพลิเคชันการออกแบยบเส้นทางท่องเที่ยว และตอนที่ 6 ข้อเสนอแนะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ไควสแควร์ (Chi-Square) การทดสอบ T-test และการทดสอบ F-test ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า 1) นักท่องเที่ยวที่มีลักษณะประชากรศาสตร์ที่ต่างกันมีพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่แตกต่างกัน 2) นักท่องเที่ยวที่มีลักษณะประชากรศาสตร์ที่ต่างกันมีพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชันในการออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวที่แตกต่างกัน 3) นักท่องเที่ยวที่มีลักษณะประชากรศาสตร์ที่ต่างกันมีความต้องการใช้แอปพลิเคชันในการออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวที่แตกต่างกัน 4) นักท่องเที่ยวที่มีลักษณะประชากรศาสตร์ที่ต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับศักยภาพสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยวที่แตกต่างกัน และได้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างจากหัวหน้าหน่วยงาน ภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยว   ระยะที่ 2 นำข้อมูลผลการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณและข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในระยะที่ 1 มาใช้ในการพัฒนาแอปพลิเคชันการออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวของจังหวัดนครพนม ด้วยแนวคิด The tour trip design problem (TTDP) and the tour route planning problem (TRPP) และ แนวคิด Heuristic approaches : VaNSAS algorithm ระยะที่ 3 จากนั้นทำการประเมินประสิทธิผลของการใช้เว็บแอปพลิเคชันโดยใช้ VaNSAS อัลกอริทึมเพื่อการออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวของจังหวัดนครพนม โดยใช้นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวใน จังหวัดนครพนม จำนวน 500 คน ใช้วิธีเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidential Sampling) โดยให้นักท่องเที่ยวทดลองใช้เว็บแอปพลิเคชันเพื่อการออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวของจังหวัดนครพนมโดยใช้ VaNSAS อัลกอริทึม แล้วประเมินในแบบสอบถามออนไลน์ จำนวน 12 ข้อ แบบมาตราประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) พบว่า ผลการประเมินที่มีคะแนนสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ความพึงพอใจต่อการใช้แอปพลิเคชันที่ระดับมากที่สุด (x̄ = 4.96, S.D. = 0.19)  แอปพลิเคชันมีประโยชน์ต่อการใช้งานมีความหลากหลายของข้อมูลเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานที่ระดับมากที่สุด (x̄  = 4.69, S.D. = 0.60)   มีการจัดระบบข้อมูลเป็นหมวดหมู่ที่ระดับมากที่สุด (x̄ = 4.62, S.D. = 0.67)  
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1870
Appears in Collections:The Faculty of Tourism and Hotel Management

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61011060007.pdf9.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.