Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1877
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorApichart Katasilaen
dc.contributorอภิชาติ กตะศิลาth
dc.contributor.advisorVorapoj Promasatayaproten
dc.contributor.advisorวรพจน์ พรหมสัตยพรตth
dc.contributor.otherMahasarakham University. The Faculty of Public Healthen
dc.date.accessioned2023-01-20T11:46:54Z-
dc.date.available2023-01-20T11:46:54Z-
dc.date.issued25/9/2022
dc.identifier.urihttp://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1877-
dc.descriptionDoctor of Public Health (Dr.P.H.)en
dc.descriptionสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ส.ด.)th
dc.description.abstractThis research was a mixed method aimed to development of self-care model in elderly for enhancing quality of life by community participation among elderly people in Mahachanachai district Yasothon province, and to study the results of the outcomes the developed model. There were participants for developed model including responsible for elderly care from the Mahachanachai hospital, District Public Health Office and Tumbol Health Promoting Hospital in the area of Mahachanachai District Public Health, Yasothon province. Participant for test the outcomes were 64 elderly people divided into 2 groups experimental and control groups. The instruments used for data collection were knowledge, attitude, self - care questionnaires and quality of Life assessment. The developed model was used as the instruments form proving elderly self - care. Qualitative data were analyzed using content analysis and quantitative data were used for frequency, percentage, mean, standard deviation, logistic regression and t-test. The results revealed that factors that positively affected the development of self-care model in elderly for enhancing quality of life were income, education and quality of life. The development of self-care model in elderly for enhancing quality of life by community participation among elderly people in Mahachanachai district Yasothon province comprise of three vital components: 1) Individual 2) Community and 3) Health assembly process. All three aspects needed to link together according to the principle the developed QUALITY Model aims to achieve the goal of enhancing quality of life in elderly people by increasing the knowledge of self-care and increasing the cooperation of community network groups to support and create an environment for the elderly. The results after using the implement, the experimental group had more knowledge self-care, attitudes towards aging and self-care quality of life level than before the experiment (p=0.002, p<0.001 and p=0.031, respectively) with statistical significance. and found that the experimental group had a significantly better quality of life than the control group (p=0.005). The key successful factor was the application of the health assembly process for policy making and Implementation of the policy go hand-in-hand. By emphasizing the unconventional and the participation of all sectors in the process. It will help improve the self-care of the elderly and will result in the elderly having a good and sustainable quality of life. The suggestion of this research was that the government should decentralized the locality to a key role in supporting the mechanisms of the elderly gathering. by collaborating with other organizations and should promoted research on the disadvantaged elderly, such as poor elderly, elderly living alone and marginalized elderly in the community or local district by focusing on the study of the needs in various dimension, whether it is the dimension of health participation and the dimension of security and having an assurance in lifeen
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชน อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร และเพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย ได้แก่ ผู้รับผิดชอบงานด้านผู้สูงอายุโรงพยาบาลมหาชนะชัย สำนักงานาธารณสุขอำเภอและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขตอำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร กลุ่มเป้าหมายที่ใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ ผู้สูงอายุ จำนวน 64 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบวัดความรู้ ทัศนคติ การดูแลตนเอง และแบบประเมินคุณภาพชีวิต เครื่องมือที่ใช้ทดลองเป็นรูปแบบที่พัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน logistic regression และ t-test ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลทางบวกต่อการพัฒนารูปแบบการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ได้แก่ รายได้ การศึกษา และคุณภาพชีวิต การพัฒนารูปแบบการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชน อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร พบว่า มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ 1) ผู้สูงอายุ 2) เครือข่ายชุมชน และ 3) กระบวนการสมัชชา ทั้ง 3 องค์ประกอบเชื่อมโยงประสานกันตามหลัก QUALITY Model ที่สร้างขึ้น มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี โดยเพิ่มองค์ความรู้เรื่องการดูแลตนเองและเพิ่มความร่วมมือของกลุ่มเครื่องข่ายชุมชน เพื่อสนับสนุนและสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมให้กับผู้สูงอายุได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น หลังจากใช้รูปแบบที่สร้างขึ้นพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้เรื่องการดูแลตัวเอง ทัศนคติต่อการดูแลตนเอง และการดูแลตนเอง มากขึ้นกว่าก่อนการทดลอง (p=0.002, p<0.001 และ p=0.031 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่ากลุ่มทดลองมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่ากลุ่มควบคุม (p=0.005) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ การประยุกต์แนวคิดกระบวนการสมัชชาสุขภาพ เพื่อการวางนโยบายและการดําเนินงานไปพร้อมกัน โดยเน้นความไม่เป็นทางการและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในทุกขั้นตอน จะช่วยพัฒนาการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ และจะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืน ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ คือ รัฐบาลควรกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นได้มีบทบาทหลักในการดำเนินงานสนับสนุนกลไกการรวมตัวกันของผู้สูงอายุ โดยสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายอื่นๆ และควรส่งเสริมการทำวิจัยเกี่ยวกับผู้สูงอายุที่ด้อยโอกาส เช่น ผู้สูงอายุที่มีฐานะยากจน ผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียว และผู้สูงอายุชายขอบ ในชุมชนหรือท้องถิ่น โดยมุ่งเน้นการศึกษาถึงความจำเป็นต้องการในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าเป็นมิติของสุขภาพ ด้านการมีส่วนร่วม และมิติทางด้านความมั่นคงและการมีหลักประกันในชีวิตth
dc.language.isoth
dc.publisherMahasarakham University
dc.rightsMahasarakham University
dc.subjectผู้สูงอายุth
dc.subjectการดูแลตนเองth
dc.subjectคุณภาพชีวิตth
dc.subjectElderlyen
dc.subjectSelf-careen
dc.subjectQuality of lifeen
dc.subject.classificationHealth Professionsen
dc.titleThe Development of Self-Care Model in Elderly for Enhancing Quality of Life by Community Participation en
dc.titleการพัฒนารูปแบบการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี โดยการมีส่วนร่วมเครือข่ายชุมชนth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60011460005.pdf10.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.