Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1881
Title: The Development of Health Literacy Model for HIV and Sexual Transmitted Infections among Adolescents, Yasothon Province
การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านเอชไอวีและโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่น จังหวัดยโสธร
Authors: Pincha Pratchayakhup
ปิญชาน์ ปรัชญคุปต์
Vorapoj Promasatayaprot
วรพจน์ พรหมสัตยพรต
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: โรคเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
วัยรุ่น
ยโสธร
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ
HIV and sexual transmitted infections
Adolescents
Yasothon
Health literacy
Issue Date:  18
Publisher: Mahasarakham University
Abstract:  Background : AIDS and STIs are still the leading cause of death worldwide. There are approximately 37.9 million people living with HIV, of which 1.8 million are new cases and 1 million have died. About 5,500 people are living with HIV on average daily. Of the 15 people, approximately 467,600 are living with HIV, 52.8% of the new HIV infections are adolescents under 25 years of age. with high rates of HIV and STDs especially the group of Mathayom 5 (M.5) students and vocational students. 2nd year vocational certificate (vocational certificate 2) Thailand has set a goal to end the AIDS problem with the National Strategy to End AIDS Problems 2017-2030, but the implementation at the provincial or local level There is no clear model for driving such strategies, especially among adolescents in schools. From the above reasons, it is interesting to study to develop a model for enhancing knowledge on HIV and STDs among adolescents in Yasothon educational institutions. Methods : This research is an action research. There are 4 phases: Phase 1) Planning 2) Action 3) Observing 4) Reflection. The sample group for studying risk behaviors and enhancing their knowledge about HIV and STDs were students in Vocational Certificate 2, Yasothon Vocational College. All academic year 2022 and the sample group for group discussion to study the problem condition and develop the model of operation is the stakeholders, namely education administrators. instructor Representative of Vocational Vocational students 2, Vocational College, Yasothon Province, representative of parents and 12 representatives of public health personnel. The tools used were screening forms, skills training activities to enhance health literacy. Assessment form before and after joining the program Qualitative data using content analysis techniques. The quantitative data used descriptive statistics. and inferential statistics t-test. Research conducted from September, May 2021 to August 2022. Results: In terms of problem conditions, it was found that most of the samples were male. Most of them had sex for the first time at 16 years old, 47.36 percent, followed by 17 years old, 37.89 percent, and 18 years old, 16.84 percent, respectively. The majority of the first sex had sex with a boyfriend, 82.10 percent. In the first relationship, most of the sexual partners did not use condoms, 53.68 percent, the last time they had sex, the partners wore condoms, 46.31 percent, and 61.07 percent of them drank alcoholic beverages. The use of condoms was electronic media (Facebook, Line, email, YouTube) 87.91%.The results of the study of problems from the qualitative data revealed that at present there is knowledge and media releases in many channels. causing some people to know more about the disease and its contact But with the increasing number of new HIV cases every day. and disease prevention is not clear. Lack of coordination or integration between network partners The guidelines should be clearly defined, such as providing knowledge and skills to prevent disease. from the above information The researchers and stakeholders had in-depth interviews. The researchers carried out activities to promote HIV and STD health awareness among adolescents in the school setting. The format of activities for practicing skills to enhance knowledge are: (1) access, i.e., practice searching for information. practice moderation practice data verification Before using them for understanding (2) Understanding, including learning practice, memorization methods, building understanding (3)Inquiring: practicing planning, preparing questions, using questions, and assessing questions (4) Making decisions: practicing identifying problems set choice Evaluate options And show the point of making decisions and (5) apply, including practicing self-awareness and practice self-management Before learning, the target group had an average score of 3.25 knowledge and awareness about AIDS, most of them were at a moderate level, 43.95%. After learning, the target group had an average score of 4.61 knowledge and awareness about AIDS. Most scores were at a high level, 59.39%. Before learning, the target group had a low level of condom use behavior at 84.22% and after learning, it was found that The target group had a high level of proper condom use behavior, 100%. The sample group was satisfied with the developed model at a high level. Conclusion and Discussion of Results: From the activities to practice skills to enhance knowledge by participation process As a result, the target group had a high level of correct condom use behavior at 100%, from a low level of 84.22%, and their knowledge of HIV and STIs was increased. This was a result of the form of skill training activities developed in all 5 activities after participating in the skill development activities to enhance health literacy. About HIV and STDs to promote the use of condoms in adolescents The target group had average scores on health literacy. HIV and STDs increased from 132.63 to 155.58 and were statistically significant (p < 0.05). Learning management according to the process of promoting health literacy About HIV and STDs and should develop health literacy Ongoing HIV and STDs To have skills and be able to apply to solve their own health problems according to what has changed in terms of information Prevention and treatment technologies are constantly evolving. and should be used or developed to organize activities at other levels or expand to other educational institutions.
ความเป็นมา : โรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ยังเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของคนทั่วโลก มีประชากรที่ติดเชื้อเอชไอวีประมาณ 37.9 ล้านคน โดยเป็นผู้ติดเชื้อรายใหม่ประมาณ 1.8 ล้านคน และมีประชากรที่เสียชีวิต 1 ล้านคน ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ ประมาณ 5,500 คน เฉลี่ยวันละ 15 คน มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีชีวิตอยู่ทั้งหมดประมาณ 467,600 คน ในจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่เป็นวัยรุ่นที่มีอายุน้อยกว่า 25 ปี ถึงร้อยละ 52.8 กลุ่มเยาวชนอายุ 14-25 ปี เป็นกลุ่มที่มีอัตราการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สูง โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม.5) และนักเรียนอาชีวศึกษา ชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 2 (ปวช.2) ประเทศไทยได้ตั้งเป้าหมายที่จะยุติปัญหาเอดส์ด้วยยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์ พ.ศ. 2560-2573 แต่การดำเนินงานในระดับจังหวัดหรือในระดับพื้นที่ ยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจนในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ดังกล่าวโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นในสถานศึกษา จากเหตุผลดังกล่าวจึงสนใจศึกษาเพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่นในสถานศึกษาจังหวัดยโสธร วิธีการศึกษา : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มี 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1) ขั้นเตรียมการ (Planning) ระยะที่ 2) ขั้นการปฏิบัติ (Action) ระยะที่ 3) ขั้นสังเกต (Observing) ระยะที่ 4) ขั้นสะท้อนผล (Reflection)  กลุ่มตัวอย่างสำหรับศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงและสร้างเสริมความรอบรู้ด้านเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คือ นักศึกษา ชั้น ปวช.2  วิทยาลัยอาชีวศึกษายโสธร ประจำปีการศึกษา 2565 ทั้งหมด และกลุ่มตัวอย่างสำหรับสนทนากลุ่มเพื่อศึกษาสภาพปัญหาและพัฒนารูปแบบ การดำเนินงาน คือ ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่  ผู้บริหารการศึกษา อาจารย์ผู้สอน ตัวแทนนักเรียนชั้น ปวช. 2 วิทยาลัยอาชีวศึกษา จังหวัดยโสธร ตัวแทนผู้ปกครอง และตัวแทนบุคลากรด้านสาธารสุข จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบคัดกรอง กิจกรรมฝึกทักษะเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ แบบประเมินก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน t-test ดำเนินการวิจัยเดือน กันยายน พ.ค. 2564  ถึงเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2565 ผลการศึกษา : ด้านสภาพปัญหา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนมากเป็นเพศชาย มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกส่วนใหญ่อายุ 16 ปี ร้อยละ 47.36 รองลงมาอายุ 17 ปี ร้อยละ 37.89 และอายุ 18 ปี ร้อยละ 16.84 ตามลำดับ การมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกส่วนใหญ่มีเพศสัมพันธ์กับแฟน ร้อยละ 82.10 การมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกของคู่นอนส่วนใหญ่ไม่สวมถุงยางอนามัย ร้อยละ 53.68 ครั้งล่าสุดที่มีเพศสัมพันธ์คู่นอนสวมถุงยางอนามัยร้อยละ 46.31 ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 61.07 ช่องทางการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารความรู้ เรื่องการใช้ถุงยางอนามัย คือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (เฟสบุ๊ค, ไลน์, อีเมล์, ยูทูป) ร้อยละ 87.91 ผลการศึกษาสภาพปัญหาจากข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า ปัจจุบันมีการให้ความรู้และมีการออกสื่อหลายช่องทาง ทำให้ประชาชนส่วนหนึ่งรู้จักโรคและการติดต่อมากขึ้น แต่กับมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่เพิ่มขึ้นทุกวัน และการป้องกันโรคยังไม่เป็นรูปธรรมชัดเจน ขาดการประสานงานหรือบูรณาการทางานร่วมกันระหว่างภาคีเครือข่าย ซึ่งควรกำหนดแนวทางในการดำเนินงานให้ชัดเจน เช่น การให้ความรู้และทักษะเพื่อป้องกันโรค จากข้อมูลข้างต้น ผู้วิจัยและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มีการสัมภาษณ์เชิงลึกแล้วผู้วิจัยได้ดำเนินการจัดทำกิจกรรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพโรคเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่นในสถานศึกษา รูปแบบการจัดกิจกรรมฝึกทักษะการสร้างเสริมความรอบรู้ ได้แก่ (1) เข้าถึง ได้แก่ ฝึกการค้นหาข้อมูล ฝึกการกลั่นกรอง ฝึกตรวจสอบข้อมูล ก่อนนำมาใช้ทำความเข้าใจ (2) เข้าใจ ได้แก่ ฝึกการเรียนรู้ วิธีจดจำ สร้างความเข้าใจ (3) ไต่ถาม ได้แก่ ฝึกการวางแผน เตรียมคำถาม ใช้คำถาม และการประเมินคำถาม (4) ตัดสินใจ ได้แก่ ฝึกการระบุปัญหา กำหนดทางเลือก ประเมินทางเลือก และแสดงจุดยืนในการตัดสินใจ และ (5) นำไปใช้ ได้แก่ ฝึกการเตือนตนเอง และฝึกการจัดการตนเอง ก่อนการเรียนรู้กลุ่มเป้าหมายมีคะแนนเฉลี่ยความรู้และความตระหนักเกี่ยวกับเรื่องเอดส์ 3.25 คะแนน ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 43.95 หลังการเรียนรู้ พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีคะแนนเฉลี่ยความรู้และความตระหนักเกี่ยวกับเรื่องเอดส์ 4.61 คะแนน ส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 59.39 ก่อนการเรียนรู้กลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกวิธีอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 84.22 และหลังการเรียนรู้พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกวิธีอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 100 กลุ่มตัวอย่างพึงพอใจต่อรูปแบบที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับสูง สรุปและอภิปรายผล: จากกิจกรรมฝึกทักษะการสร้างเสริมความรอบรู้ โดยกระบวนการการมีส่วนร่วม ทำให้กลุ่มเป้าหมายมีระดับพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกวิธีอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 100 จากเดิมอยู่ในระดับต่ำร้อยละ 84.22 และมีความรอบรู้ความรอบรู้ด้านเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากรูปแบบกิจกรรมฝึกทักษะที่พัฒนาขึ้นทั้ง 5 กิจกรรม โดยหลังเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาทักษะการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่องเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมการใช้ถุงยางอนามัย ในกลุ่มวัยรุ่น กลุ่มเป้าหมายมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่องเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพิ่มขึ้นจาก 132.63 คะแนน เป็น 155.58 คะแนน และมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) คือ มีการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมที่ดีขึ้นและมีความแตกต่างเมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่องเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และควรมีการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่องเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีทักษะและสามารถประยุกต์ใช้แก้ปัญหาสุขภาพของตนเองได้ตามสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยีการป้องกันและรักษาที่มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา และควรมีการใช้หรือพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมในระดับชั้นอื่น หรือ ขยายไปในสถานศึกษาอื่นต่อไป
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1881
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63011481012.pdf6.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.