Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1882
Title: Quality of Life and Survival Rate of Hepatocholangiocarcinoma patients with Palliative Care receiving Medical Cannabis
คุณภาพชีวิตและอัตรารอดชีพของผู้ป่วยมะเร็งตับและท่อน้ำดีระยะประคับประคองที่ได้รับการรักษาด้วยกัญชาทางการแพทย์
Authors: Narisara Pansila
นริศรา พันธุ์ศิลา
Ranee Wongkongdech
ราณี วงศ์คงเดช
Mahasarakham University. The Faculty of Medicine
Keywords: คุณภาพชีวิต
กัญชาทางการแพทย์
มะเร็งตับและท่อน้ำดี
อัตรารอดชีพ
Quality of life
Medical cannabis
Hepatocholangiocarcinoma
survival rate
Issue Date:  4
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The incidence of hepatocholangiocarcinoma in northeastern Thailand is very high, a major cause of mortality and is patients with hepatocholangiocarcinoma have a poor prognosis and short-term survival. Thailand, the first country in Southeast Asia to revise its regulation to allow the use of cannabis for medical treatment in palliative cancer patients. Study seventy-two advanced hepatocholangiocarcinoma patients have been treated palliative care (30: standard treatment (ST) and 42: cannabis treatment (CT)) assessments, using the EORTC QLQ-C30, HCC18, BIL21 in. Data were analysed prospectively, from baseline ,2nd , 4th months follow-up compared among 2 groups and retrospectively, survival rate among advanced hepatocholangiocarcinoma patients was performed between September 2019 and 30 July, 2021, and included 491 patients (404:ST, 87:CT) with newly diagnosed hepatocholangiocarcinoma from 4 tertiary hospitals 2 secondary hospital in five provinces of northeast Thailand. The Mann-Whitney U-test was performed to compare quality of life scores between the two patient groups and Wincoxin signed rank test performed to compared QoL score one group at pre treatment, 2, 4 month and The cumulative survival rates were calculated by the Kaplan-Meier method, and independent prognostic factors were investigated using Cox regression.Results: Global health status and functional scales, for both groups were high at pre-treatment. At 2 and 4 month follow-up, CT group patients had consistent statistically significantly better Palliative Performance Scale (PPS), and QoL scores, and many symptom scores than the ST group. For survival analysis ST patients there was a total follow-up time of 790 person-months, with a mortality rate of 48.35/100 person-years. For CT patients the total follow-up time was 476 person-months, with mortality rate of 10.93/ 100 person-years. The median survival time after registration at a palliative clinic was 0.83 months (95%CI: 0.71-0.95) for ST and 5.66 months (95%CI: 1.94-9.38) After adjusting for treatment, gender, age, cancer treatment history and the period of registration at the clinic. Treatment was a significant predictor of the survival of patients with palliative hepatocholangiocarcinoma. Patients who received ST group had a 3.57-fold higher mortality than who were CT group. Conclusions:The medicinal cannabis group had an increase post hepatocholangiocarcinoma diagnosis QoL and survival rate. Our findings support the importance of early access to palliative cannabis clinic before caner’s terminal and accelerating phase close to death.
โรคมะเร็งตับและท่อน้ำดีพบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีการพยากรณ์โรคที่ไม่ดีและการรอดชีวิตในระยะสั้น เนื่องจากผู้ป่วยจะมีอาการและมาพบแพทย์เมื่อโรคได้ลุกลามไปมาก ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการรักษาแบบประคับประคอง ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่อนุญาตให้ใช้กัญชาเพื่อการรักษาพยาบาลในผู้ป่วยมะเร็งระยะประคับประคอง เป็นการศึกษาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งตับและท่อน้ำดีระยะประคับประคองจำนวน 72 ราย ที่ได้รับการรักษาที่คลินิกประคับประคองด้วยวิธีมาตรฐาน (ST) 30 ราย และด้วยกัญชาทางการแพทย์ (CT) 42:ราย ได้รับการประเมินคุณภาพชีวิตโดย EORTC QLQ-C30, HCC18, BIL21 ก่อนการรักษา ขณะรับการรักษาเดือนที่ 2 และ 4 และศึกษาระยะเวลารอดชีพผู้ป่วยมะเร็งตับและท่อน้ำดีระยะประคับประคองจำนวน 491 ราย (404:ST, 87:CT) ตั้งแต่กันยายน พ.ศ.2562 ถึง 30 กรกฎาคม พ.ศ.2564 จากโรงพยาบาลศูนย์ 2 แห่ง โรงพยาบาลตติยภูมิ 4 แห่ง ใน 5 จังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้ Mann-Whitney U test เปรียบเทียบคะแนนคุณภาพชีวิตระหว่างกลุ่มรักษาด้วยวิธีมาตรฐาน (ST) และด้วยกัญชาทางการแพทย์ (CT) และใช้ Wincoxin signed rank test เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตก่อนการรักษา ขณะรับการรักษาเดือนที่ 2 และ 4 ของแต่ละกลุ่ม และวิเคราะห์ระยะเวลารอดชีพ ด้วย Kaplan-Meier และปัจจัยที่มีผลต่อการรอดชีพด้วย Cox regression พบว่า คุณภาพชีวิตภาพรวมทั้งสองกลุ่มอยู่ในระดับสูงก่อนรักษา เมื่อติดตามคุณภาพชีวิตในขณะรับการรักษาเดือนที่ 2 และเดือนที่ 4 ผู้ป่วยกลุ่ม CT มีคุณภาพชีวิตและอาการดีมากกว่ากลุ่ม ST อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนผลการวิเคราะห์ระยะเวลารอดชีพกลุ่ม ST ในระยะเวลาติดตามผู้ป่วยรวมทั้งหมด 790 คน-เดือน คิดเป็นอัตราตายเท่ากับ 48.35/100 คน-เดือน กลุ่ม CT ระยะเวลาติดตามผู้ป่วยรวมทั้งหมด 476 คน-เดือน คิดเป็นอัตราตายเท่ากับ 10.93 / 100 คน-เดือน ค่ามัธยฐานระยะเวลารอดชีพกลุ่ม ST เท่ากับ 0.83 เดือน (95%CI: 0.71-0.95) กลุ่ม CT เท่ากับ 5.66 เดือน (95%CI: 1.94-9.38) เมื่อควบคุมผลกระทบจากตัวแปรด้านวิธีการรักษา เพศ อายุ ประวัติรักษามะเร็ง และระยะเวลาขึ้นทะเบียนที่คลินิกแล้ว วิธีการรักษา เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการรอดชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่ม ST มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเป็น 3.57 เท่าของกลุ่ม CT จากผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยมะเร็งตับและท่อน้ำดีกลุ่มที่ได้รับกัญชาทางการแพทย์มีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าและทำให้ระยะเวลารอดชีวิตนานกว่า จึงอาจเป็นข้อมูลในการสนับสนุนนโยบายให้ใช้กัญชาเพื่อการรักษามะเร็งตับและท่อน้ำดีระยะประคับประคองและเป็นแนวทางการวิจัยเพื่อศึกษาประสิทธิผลในระยะก่อนระยะสุดท้ายหรือมะเร็งชนิดอื่น
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1882
Appears in Collections:The Faculty of Medicine

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61011562003.pdf3.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.