Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1902
Title: Development of Creative Problem Solving Ability of Mathematical Concepts on Perimeter and Area Using Creative Problem Solving Process with GeoGebra for Prathomsuksa 6 Students
การพัฒนาความสามารถการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เรื่องความยาวรอบรูปและพื้นที่ โดยใช้รูปแบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ร่วมกับโปรแกรมจีโอจีบรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Authors: Thattiyaporn Pungpa
ฐัติยาภรณ์ พึ่งป่า
Chokchai  Viriyapong 
โชคชัย วิริยะพงษ์
Mahasarakham University. The Faculty of Science
Keywords: รูปแบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
จีโอจีบรา
ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
creative problem solving process
Geogebra
creative problem solving ability of mathematical Concepts
Issue Date:  26
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this research were (1) to develop of creative problem solving ability of mathematical concepts on perimeter and area using creative problem solving process with GeoGebra for Prathomsuksa 6 students efficiency criteria 70/70 (2) to study the effectiveness index of learning management base on creative problem solving process with GeoGebra on perimeter and area (3) comparing of mathematical achievement and creative problem solving ability of mathematical concepts on perimeter and area using creative problem solving process with GeoGebra for Prathomsuksa 6 students. The sample group were students in Prathomsuksa 6, who are studying in the first semester of the academic year 2022 obtained by cluster random sampling. The research instrument were (1) 8 lesson plans of mathematics learning management on creative problem solving process with Geogebra programs on perimeter and area for Prathomsuksa 6 students (2) the achievement test were 20 four-alternative items of mathematic, it has difficulty (p) 0.38 – 0.71 the discrimination of each item (r) was 0.30 - 0.70, and the reliability of all items was 0.88 (3) creative problem solving ability of mathematical concepts test, it has difficulty (p) 0.55 – 0.65, with discrimination of each item (r) was 0.20 - 0.40, and the reliability of all items was 0.89 The research statistics used were a percentage, a average, a standard deviation and the hypothesis teste by Hotelling's T2. The results of the study were as follows : 1. The creative problem solving process with GeoGebra on perimeter and area lesson plans for Prathomsuksa 6 students, its efficiency were 79.15/75.25, respectively the setting criteria 70/70. 2. The effectiveness index of learning management base on creative problem solving process with GeoGebra on perimeter and area for Prathomsuksa 6 students found that there were 0.5352. It showed that students had learning process were 53.52. 3. The students who received teaching process using creative problem solving process with GeoGebra on Perimeter and Area learning achievement and mathematical problem solving were higher than criterion 70 percent, statistically significant at the .05 level. In conclusion, The students who studied teaching creative problem solving process with GeoGebra on Perimeter and Area, they had average the learning achievement and average mathematical problem solving abilities of mathematical concepts on perimeter and area more than criterion of 70 percent. The mathematics teachers should this technique for their teaching in classroom to develop of students were efficiencies.
การวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ร่วมกับโปรแกรมจีโอจีบรา เรื่องความยาวรอบรูปและพื้นที่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ร่วมกับโปรแกรมจีโอจีบรา เรื่อง ความยาวรอบรูปและพื้นที่ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง ความยาวรอบรูปและพื้นที่ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังได้รับจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ร่วมกับโปรแกรมจีโอจีบรา กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนสามัคคีมีชัยวิทยา อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 20 คน โดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม ซึ่งใช้โรงเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ร่วมกับโปรแกรมจีโอจีบรา เรื่องความยาวรอบรูปและพื้นที่ จำนวน 8 แผน รวม 18 ชั่วโมง ซึ่งมีความเหมาะสมมากที่สุด คะแนนเฉลี่ย 4.85 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องความยาวรอบรูปและพื้นที่ ใช้ทดสอบทั้งก่อนเรียนและหลังเรียน ข้อสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าความยาก ตั้งแต่ 0.38 – 0.71 ค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.30 – 0.70 และความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.88   3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความยาวรอบรูปและพื้นที่ ข้อสอบอัตนัย จำนวน 4 ข้อ มีค่าความยาก ตั้งแต่ 0.55 – 0.65 ค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.20 – 0.40 และความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.89  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ Hotelling’s T2 ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ร่วมกับโปรแกรมจีโอจีบรา เรื่อง ความยาวรอบรูปและพื้นที่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 79.15/75.25 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  70/70 2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ร่วมกับโปรแกรมจีโอจีบรา เรื่อง ความยาวรอบรูปและพื้นที่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เท่ากับ 0.5352 ซึ่งมีความก้าวหน้าทางการเรียนร้อยละ 53.52 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง ความยาวรอบรูปและพื้นที่ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ร่วมกับโปรแกรมจีโอจีบรา สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสรุปนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ร่วมกับโปรแกรมจีโอจีบรา เรื่อง ความยาวรอบรูปและพื้นที่ เพื่อพัฒนาความสามารถการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ครูผู้สอนควรนำไปจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามจุดมุ่งหมายของการจัดการเรียนรู้ต่อไป
Description: Master of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1902
Appears in Collections:The Faculty of Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010285003.pdf4.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.