Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1955
Title: Development of Mathematical Problem-Solving Ability on Addition, Subtraction, Multiplication and Division Using Problem-Based Learning (PBL) with Board Games for Prathomsuksa 2 Students
การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหาร โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเกมกระดาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 
Authors: Atcharaporn Assawaphum
อัจฉราภรณ์ อัศวภูมิ
Nongluk Viriyapong
นงลักษณ์ วิริยะพงษ์
Mahasarakham University
Nongluk Viriyapong
นงลักษณ์ วิริยะพงษ์
nongluk.h@msu.ac.th
nongluk.h@msu.ac.th
Keywords: การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL)
เกมกระดาน
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
Board games
Mathematical achievement
Mathematical problem-solving ability
Problem-based leaning (PBL)
Issue Date:  29
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this study were: (1) to develop plans for organization of mathematics learning activities using problem-based learning (PBL) with board games for Prathomsuksa 2 students with a require efficiency of 70/70; (2)to find out the effectiveness index of plans for the organization of mathematics leaning activities using problem-based learning (PBL) with board games for Prathomsuksa 2 students; (3) to compare the mathematical achievement of student who study using problem-based learning (PBL) with board games for Prathomsuksa 2 students with 70 percent criteria; (4) to compare the mathematical problem-solving ability who study using problem-based learning (PBL) with board games for Prathomsuksa 2 students with 70 percent criteria; (5) to explore the satisfaction of students on their leaning activities by problem-based learning (PBL) with board games for Prathomsuksa 2 students.The participants in this study were nineteen students who studied in grade 2 at Khonkean university demonstation international division, in the second semester of academic 2022. However, they were selected by using the cluster random sampling technique. The instruments are used in the study were (1) mathematics learning activities using problem-based learning (PBL) with board games mathematical achievement and mathematical problem-solving ability on addition, subtraction, multiplication and division of Prathomsuksa 2  plan for 15 plans each, totally 15 hours; (2) the learning achievement test on addition, subtraction, multiplication and division of Prathomsuksa 2 were 15 questions for multiple choices, item-objective congruence index (IOC) of test was 0.60-1.00, the difficult (p) of test was between 0.28 – 0.55, the discrimination (B) of test was between 0.29 – 0.59  and the reliability of all the item was 0.74; (3) the mathematical problem-solving ability test on addition, subtraction, multiplication and division of Prathomsuksa 2 were 3 questions for a subjective way of thinking, item-objective congruence index (IOC) of test was 1.00, the difficult (p) of test was between 0.38-0.48, the discrimination (B) of test was between 0.51-0.67 and the reliability of all the item was 0.81; (4) the satisfaction of students’ test on their leaning activities by using problem-based learning (PBL) with board games were 5 levels, 15 items, they were rating scales which had the content validity (IC) was 1.00. The statistics are used for analyzing the data. It consists of percentage, mean, and standard deviation. Moreover, to examine the hypothesis by using t-test for one sample. The results of the study were as follows: 1. The lesson plans for organization of mathematics learning activities using problem-based learning (PBL) with board games on addition, subtraction, multiplication and division of Prathomsuksa 2 was 88.63/78.93, respectively. 2. The effectiveness index of plans for the organization of mathematics leaning activities using problem-based learning (PBL) with board games for Prathomsuksa 2 students was 0.4061, or 40.61 percent, respectively. 3. Mathematical achievement of students who studied using problem-based learning (PBL) with board games on addition, subtraction, multiplication and division of Prathomsuksa 2 accounted for 78.93 percent at over 70 criteria at .05 level of significance. 4. Mathematical problem-solving ability of students who studied using problem-based learning (PBL) with board games on addition, subtraction, multiplication and division of Prathomsuksa 2 accounted for 81.73 percent at over 70 criteria at .05 level of significance 5. The satisfaction of the students with learning using problem-based learning (PBL) with board games on addition, subtraction, multiplication and division of Prathomsuksa 2  was atisfied total at a high level.
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย (1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเกมกระดาน (Board Games) เรื่องการบวก การลบ การคูณ การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  70/70  (2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแก้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเกมกระดาน เรื่องการบวก การลบ การคูณ และการหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง  การบวก การลบ การคูณ การหาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  ได้รับและการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเกมกระดาน (Board Games) เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 (4) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง  การบวก การลบ การคูณ การหาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  ได้รับและการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเกมกระดาน (Board Games) เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 (5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเกมกระดาน เรื่องการบวก การลบ การคูณ และการหาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายนานาติ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 19 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเกมกระดาน (Board Games) เรื่อง การบวก การลบ การคูณ การหาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 แบบละ 15 แผน แผนละ 1 คาบ คาบละ 50 นาที (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ เรื่อง การบวก การลบ การคูณ การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.60-1.00 มีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.28 – 0.55 มีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.29 – 0.59  ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.74 (3) แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์  เรื่อง การบวก การลบ การคูณ การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  เป็นแบบทดสอบอัตนัย จำนวน 3 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.80-1.00 มีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.38 – 0.48 มีค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.51 – 0.67 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.81 (4) แบบวัดความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเกมกระดาน (Board Games) เรื่อง การบวก การลบ การคูณ การหาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 แบบมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) จำนวน 15 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IC) เท่ากับ 1.00  สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t-test for One Sample ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเกมกระดาน (Board Games) เรื่อง การบวก การลบ การคูณ การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  มีประสิทธิภาพ (E1/E2 ) ตามเกณฑ์ 88.63/78.93 2. ดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเกมกระดาน เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.4061 หรือคิดเป็นร้อยละ 40.61 แสดงว่า โดยรวมนักเรียนมีคะแนนเพิ่มขึ้นเท่ากับ 0.4061 คิดเป็นร้อยละ 40.61        3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเกมกระดาน เรื่อง การบวก การลบ การคูณ การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 78.93 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่ระดับนัยสำคัญ .05 4. ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเกมกระดาน เรื่อง การบวก การลบ การคูณ การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 81.73 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่ระดับนัยสำคัญ .05 5. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเกมกระดาน เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ผลสรุปโดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.69 อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1955
Appears in Collections:The Faculty of Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64010285006.pdf7.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.