Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/197
Title: FORMS OF THE COUNTRYSIDE LIFE
รูปทรงชีวิตชนบท 
Authors: Anuluk Nonting
อณุลักษณ์ โนนทิง
Boontan Chetthasurat
บุญทัน เชษฐสุราษฎร์
Mahasarakham University. The Faculty of Fine and Applied Arts
Keywords: รูปทรงชีวิตชนบท
Forms of the Countryside Life
Issue Date:  31
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Research work focuses on the creation of sculptures, based on the life experiences of the creator. The creator of this worklived in an agricultural society and sculpture creation depicts his life experiences. The main purpose is to study the shape of the tools used for agricultural purposes by ancestors then create a sculpture. The wood carving technique was used. Four types of data were collected: preliminary inspirational data, documentary data, art influence of Tipnett Yam manechai, Insong Wongsom, MIMO paradigm (MIMO) PALLINO and information form creative experiments, Followed by creative movement, then the sketch to the final. The real work involved wood lumbering.  The creation of sculpture reflects the rural landscape and tools used for agricultural purpose. In the work, agricultural tools were used for wood carving to create the there-dimensional shape of the countryside, where the creator lived in the past
วิทยานิพนธ์การสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์เรื่อง รูปทรงชีวิตชนบท ได้รับแรงบันดาลใจมาจากจากประสบการณ์ชีวิตในอดีตของผู้สร้างสรรค์ หมู่บ้านที่เคยอาศัยมีวิถีการดำเนินชีวิตในสังคมเกษตรกรรม พึ่งพาอาศั ธรรมชาติ ทำนาทำไร่ตามฤดูกาล สังคมเกษตรกรรมชนบทในอดีต อาศัยอยู่แบบพึ่งพาอาศัยเกื้อหนุนจุนเจือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะถ่ายทอดผลงานประติมากรรมจัดวาง ในรูปแบบกึ่งนามธรรม มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษารูปทรงเครื่องมือ เครื่องใช้ทางการเกษตร ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ แล้วนำมาสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ ประติมากรรมด้วยเทคนิคแกะไม้ประกอบไม้เพื่อตอบสนองแนวความคิด โดยมีการรวบรวมข้อมูล 4 ประเภท คือ ข้อมูลจากแรงบันดาลใจเบื้องต้น,ข้อมูลจากเอกสาร,อิทธิพลทางศิลปกรรมของ ทิพเนตร์ แย้มมณีชัย, อาจารย์อินสนธ์ วงศ์สาม, มิมโม พาราดิโน่ (MIMMO PALADINO), และข้อมูลจากการทดลองสร้างสรรค์ จากนั้นจึงสร้างสรรค์ผลงานตามขบวนการ โดยเริ่มจากการทำภาพร่างให้มีความสมบูรณ์มากที่สุดแล้วจึงนำไปขยายเป็นผลงานจริง โดยใช้เทคนิคกลวิธีการแกะไม้ประกอบไม้ วัสดุที่ใช้ คือ ไม้ ผลการสร้างสรรค์เกิดข้อค้นพบใหม่ที่มีลักษณะเฉพาะตนของผู้สร้างสรรค์ โดยผลงานได้สะท้อนรูปทรงของสัตว์เลี้ยงที่ฝช้แรงงานในการทำเกษตรในชนบท เช่น ควาย วัว ที่มีส่วนช่วยพลิกพื้นนาช่วยชาวนาทำมาหากินและรูปทรงทางการเกษตร เช่น แอก คราด คันไถ ที่ผู้สร้างนำรูปทรงเข้ามาสร้างสรรค์ผลงาน จาการศึกษารูปทรงของควาย วัว โดยผูสร้างสรรค์ใช้รูปทรงส่วนกระดูกข้อต่อ ซึ่งหมายถึงความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันเข้ากับรูปทรงเครื่องมือทางการเกษตรซึ่งสื่อถึงภูมิปัญญาการสร้างเครื่องมือทำกาเกษตรโดยอาศัยไม้จากธรรมชาติที่มีรูปแบบเรียบง่าย  เป็นผลงานประติมากรรม ใช้เทคนิคแกะไม้ประกอบไม้ เพื่อตอบสนองให้เห็นเป็นรูปทรงสามมิติที่จะสื่อถึงความเป็นพื้นถิ่นในชนบทที่ผู้สร้างสรรค์อาศัยอยู่ในอดีต  
Description: Master of Fine Arts (M.F.A.)
ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (ศป.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/197
Appears in Collections:The Faculty of Fine and Applied Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010650010.pdf5.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.