Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1990
Title: Creative Leadership Program Development for Secondary School Teachers under a Provincial Organization in the Northeast Region of Thailand
การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Authors: Piriyaporn Butsirimongkol
พิริยาภรณ์ บัตรศิริมงคล
Suwat Junsuwan
สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์
Mahasarakham University
Suwat Junsuwan
สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์
suwat.j@msu.ac.th
suwat.j@msu.ac.th
Keywords: การพัฒนาโปรแกรม
ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครู
ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์
Program Development
Teacher Creative Leadership
Creative Leadership
Issue Date:  7
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aimed to develop a program to enhance the creative leadership of high school teachers affiliated with the provincial administration organization in the northeastern region. This R&D research consisted of three phases. Phase 1 involved analyzing the components of creative leadership through document analysis, exploratory factor analysis, and confirmatory factor analysis. Data were collected from 700 and 500 teachers to assess the appropriateness of the components and indicators. Phase 2 focused on program development, including the examination of program design documents, user manuals, and seminars to evaluate program suitability and feasibility with seven experts. Phase 3 encompassed the implementation of the program with 33 teachers. Data were collected through questionnaires, interview forms, and evaluation forms. Statistical analysis involved calculating means and standard deviations.  The results of the study can be summarized as follows: 1. The study examined the components and indicators of creative leadership among high school teachers affiliated with the provincial administration organization in the northeastern region. It was found that there are three components and eleven indicators: 1) The component of imagination consists of four indicators: creative thinking, emotional agility, knowledge, and creative problem-solving. 2) The vision component consists of three indicators: vision creation, vision implementation, and vision dissemination. 3) The component of divergent thinking skills consists of four indicators: original thinking, flexible thinking, adaptable thinking, and detailed thinking. 2. The program for developing creative leadership among high school teachers affiliated with the provincial administration organization in the northeastern region consists of the following components: 1) Principles, 2) Objectives, 3) Content with three modules: Module 1: Imagination, Module 2: Vision, and Module 3: Divergent Thinking Skills, 4) Development Method. The development follows the 70:20:10 learning model, with self-study constituting 70%, learning from others 20%, and training 10%. Lastly, 5) Measurement and Evaluation of Development are included in the program. 3. The results of the program implementation for developing creative leadership among high school teachers affiliated with the provincial administration organization in the northeastern region indicated that the overall behavior of teachers' creative leadership before the development was at a high level. Furthermore, after the development, the overall behavior reached the highest level. The evaluation of satisfaction with the use of the program for developing creative leadership among high school teachers affiliated with the provincial administration organization in the northeastern region revealed that the overall satisfaction level was at the highest level.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาโปรแกรมพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้กระบวนการ วิจัยและพัฒนา แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการวิเคราะห์เนื้อหาจากเอกสาร วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน โดยเก็บข้อมูลจากครู จำนวน 700 ชุด และ 500 ชุด ตามลำดับ เพื่อศึกษาความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวชี้วัด ระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการศึกษาเอกสารเกี่ยวกับการออกแบบโปรแกรมและคู่มือการใช้โปรแกรม และการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ 7 คน เพื่อประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ของโปรแกรม ระยะที่ 3 นำโปรแกรมพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไปใช้กับครู จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถาม  แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1 การศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า มีจำนวน 3 องค์ประกอบ 11 ตัวชี้วัด ดังนี้ 1) องค์ประกอบการมีจินตนาการ (Imagination) ประกอบด้วย 4 ตัวชี้วัด ได้แก่ มีความคิดสร้างสรรค์ มีอารมณ์ขัน มีความรู้ และมีการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 2) องค์ประกอบการมีวิสัยทัศน์ (Vision) ประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ การสร้างวิสัยทัศน์ การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ และการเผยแพร่วิสัยทัศน์ 3) องค์ประกอบการมีทักษะการคิดแบบอเนกนัย (Divergent Thinking Skills) ประกอบด้วย 4 ตัวชี้วัด ได้แก่ ความคิดริเริ่ม ความคิดคล่องแคล่ว ความคิดยืดหยุ่น และความคิดละเอียดลออ 2. โปรแกรมพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  มีองค์ประกอบของโปรแกรมประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา จำนวน 3 Module ประกอบด้วย Module 1 การมีจินตนาการ (Imagination) Module 2 การมีวิสัยทัศน์ (Vision) และ Module 3 การมีทักษะการคิดแบบอเนกนัย (Divergent Thinking Skills) 4) วิธีการพัฒนา กำหนดสัดส่วนการพัฒนาตามรูปแบบ 70:20:10 (Learning Model) โดยกำหนดให้ การศึกษาด้วยตนเอง 70% การศึกษาจากผู้อื่น 20% และการฝึกอบรม 10% 5) การวัดและประเมินผลการพัฒนา  3. ผลการใช้โปรแกรมพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า พฤติกรรมภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครูที่แสดงออกก่อนการพัฒนา โดยรวมอยู่ในระดับมาก และหลังการพัฒนา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้โปรแกรมพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า ระดับความพึงพอใจต่อการใช้โปรแกรมพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1990
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010560010.pdf9.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.