Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1994
Title: Development of a Learning Environment Model Based on the Concept of a Makerspace that Promotes Creativity in a Vocational College for Students under the Vocational Education Commission
การพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ตามแนวคิดเมกเกอร์สเปซที่ส่งเสริม ความคิดสร้างสรรค์ในวิทยาลัยอาชีวศึกษา สำหรับนักศึกษาในสังกัด คณะกรรมการการอาชีวศึกษา
Authors: Paradorn Wongsripuak
ภราดร วงศ์ศรีเผือก
Manit Asanok
มานิตย์ อาษานอก
Mahasarakham University
Manit Asanok
มานิตย์ อาษานอก
manit.a@msu.ac.th
manit.a@msu.ac.th
Keywords: สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
เมกเกอร์สเปซ
ความคิดสร้างสรรค์
Learning Environment
Makerspace
Creativity
Issue Date:  8
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research is research and development. The objectives were to study and synthesize the model components, develop the model, and study the results of using the learning environment model based on the makerspace concept to promote creativity in vocational colleges. For students under the vocational education commission, divided into 4 phases: Phase 1 Study and synthesis of components and to study problems and needs for a learning environment based on the makerspace concept that promotes creativity. The sample group 1) Students at the Diploma level under the Office of the Vocational Education Commission, 684,055 people from Taro Yamane (Yamane, 1973) using multistage sampling. 2) Expert experts on a makerspace-based learning environment that fosters creativity. Research Tools 1. Opinion questionnaire about current conditions, problems and needs of students 2. Expert in-depth interview form 3. Model component assessment form Phase 2) The development of a learning environment model based on the makerspace concept that promotes creativity in vocational colleges. For students under the vocational education committee as follows: 1. Synthesize and create a model. 2. Develop a model assessment form. and model suitability assessment form. 3. Develop the model environment. 4. Student satisfaction questionnaire about the use of the model. Phase 3. The use of the learning environment model is as follows: 1. The results of the model trial. The sample group was electrical engineering students. Rangsiyophas Technological College, Academic Year 2022 by purposive selection of 30 people. Research Tools 1. A learning environment model that promotes creativity Learning environment that promotes creativity 3. Desirable Characteristics Assessment Questionnaire 4. Student Satisfaction Questionnaire on Model Use Phase 4 Certification of the model as follows: 1. Certification model by qualified A total of 10 people Research tools 1. Evaluation questionnaire for suitability of the model 2. Learning environment that promotes creativity according to the makerspace concept developed by the researcher 3. Evaluation questionnaire for desirable characteristics 4. A questionnaire on student satisfaction with the use of the researcher-developed model 5. The results of using the researcher-developed learning environment model therefore, an analytical method was used. Conclusion The learning environment model that promotes creativity according to the makerspace concept of the students under the vocational education committee The results of the research were as follows: 1. The study results showed that the components of the learning environment model from documents, theory and work. related research It was found that from a study by Jennifer Cooper (2013), Tech Lab (2017), Tonia A. Dousay (2017), it was concluded that Makerspace consists of 1) electronics 2) woodworking and fabrication. 3) Embroidery tools 4) Digital fabrication tools 5) Cutting machines 6) Digital invention equipment and software 7) Space for creating workpieces and 8) Space to exchange knowledge or work 2) The results of the study of components, current conditions, and needs related to the learning environment found that the current conditions related to the learning environment that promotes creativity The overall picture is moderate. And there is a level of need for a learning environment that fosters creativity. The overall picture is at a high level. Current condition. The overall picture is at a low level. And there is a demand for a makerspace that fosters creativity. The overall picture is at a high level. 2. The results of designing a learning environment model that promotes creativity based on the Maker Space concept of students under the Office of the Vocational Education Commission. The development consisted of 6 components, namely 1) principles and concepts of the model, 2) model objectives, 3) learning environment arrangement, 4) makerspace, and 5) activity process. There were 5 steps: Step 1 inspire, Step 2 exercise imagination, Step 3 seek knowledge, Step 4 to creativity, Step 5 create works and Step 6 present results. 3. Results Try out a makerspace concept-based learning environment model that fosters creativity in a vocational college. For students under the vocational education committee, it was found that the vocational students had higher average scores for creativity evaluation after learning. and vocational students were satisfied with the learning environment based on the makerspace concept that promotes creativity. 4. The result of certification of a learning environment model that promotes creativity based on the Makerspace concept. of undergraduate students The vocational education committee found that experts To certify the suitability of the components within the model. in every element and have the results of model evaluation good level.
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและสังเคราะห์องค์ประกอบโมเดลฯ พัฒนาโมเดลฯ และศึกษาผลการใช้โมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ตามแนวคิดเมกเกอร์สเปซที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในวิทยาลัยอาชีวศึกษา สำหรับนักศึกษาในสังกัดคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาและสังเคราะห์องค์ประกอบ และศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ตามแนวคิดเมกเกอร์สเปซที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่าง 1) นักศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 400 คน ของทาโร ยามาเน่ (Yamane, 1973) โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage sampling) 2) ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่ตามแนวคิดเมกเกอร์สเปซที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เครื่องมือในการวิจัย 1. แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของนักศึกษา 2. แบบสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ 3. แบบประเมินองค์ประกอบของโมเดลฯ ระยะที่ 2) การพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ตามแนวคิดเมกเกอร์สเปซที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในวิทยาลัยอาชีวะศึกษา สำหรับนักศึกษาในสังกัดคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ดังนี้ 1. สังเคราะห์และสร้างโมเดลฯ 2. พัฒนาแบบประเมินโมเดลฯ และแบบประเมินความเหมาะสมของโมเดลฯ 3. พัฒนาสิ่งแวดล้อมของโมเดลฯ 4. พัฒนาเครื่องมือวัด กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำการประเมินโมเดล จำนวน 8 ท่าน 2. ออกแบบสิ่งแวดล้อม และการจัดกิจกรรมตามโมเดลฯ 3. เครื่องมือวัดความคิดสร้างสรรค์ตามแนวทางของ Torrance (1973) 4. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาเกี่ยวกับการใช้โมเดลฯ ระยะที่ 3 การใช้โมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ฯ ดังนี้ 1. ผลการทดลองใช้โมเดลฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาขางานไฟฟ้า วิทยาลัยเทคโนโลยีรังสิโยภาส ปีการศึกษา 2565 โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือในการวิจัย 1. โมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ฯ 2. สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ฯ 3. แบบประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ต่อการเรียน 4. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการใช้งานโมเดลฯ ระยะที่ 4 การรับรองโมเดลฯ ดังนี้ 1.รับรองโมเดลฯ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 ท่าน เครื่องมือในการวิจัย 1. แบบประเมินความเหมาะสมของโมเดลฯ 2. สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ตามแนวคิดเมกเกอร์สเปชที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น 3. แบบประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ต่อการเรียนเมื่อได้ใช้โมเดลที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น 4. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการใช้งานโมเดลผู้วิจัยพัฒนาขึ้น 5. ผลการใช้โมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ตามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น สรุปผลการวิจัย โมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ตามแนวคิดเมกเกอร์สเปซ ของนักศึกษาสังกัดคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษา องค์ประกอบของโมเดลการจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ จากเอกสาร ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่าจากการศึกษาของ Jennifer Cooper (2013) Tech Lab (2017) Tonia A. Dousay (2017) สรุปได้ว่า Makerspace ประกอบด้วย 1) อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 2) งานไม้และการประดิษฐ์ 3) เครื่องมือเย็บปัก 4) เครื่องมือการผลิตแบบดิจิทัล (Digital fabrication) 5) เครื่องตัด 6) อุปกรณ์การประดิษฐ์ระบบดิจิตอลและซอฟต์แวร์ 7) พื้นที่สำหรับสร้างชิ้นงาน และ 8) พื้นที่ในการแลกเปลี่ยนความรู้หรือทำงาน 2) ผลการศึกษาองค์ประกอบ สภาพปัจจุบัน และความต้องการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ฯ พบว่า สภาพปัจจุบันเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และมีระดับความต้องการสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก สภาพปัจจุบัน ภาพรวมอยู่ในระดับน้อย และมีความต้องการเกี่ยวกับเมกเกอร์สเปซที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก  2. ผลของการพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมที่ความคิดสร้างสรรค์ตามแนวคิดเมกเกอร์สเปซ (Maker Space) ของนักศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการและแนวคิดของโมเดล 2) วัตถุประสงค์ของโมเดล 3) การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ 4) เมกเกอร์สเปซ 5) กระบวนการจัดกิจกรรม มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 สร้างแรงบันดาลใจ ขั้นตอนที่ 2 ฝึกใช้จินตนาการ ขั้นตอนที่ 3 เสาะหาความรู้ ขั้นตอนที่ 4 สู่ความคิดสร้างสรรค์ ขั้นตอนที่ 5 รังสรรค์ผลงาน และ ขั้นตอนที่ 6 นำเสนอผลงาน 3. ผลการทดลองใช้โมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ตามแนวคิดเมกเกอร์สเปซที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในวิทยาลัยอาชีวะศึกษา สำหรับนักศึกษาในสังกัดคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พบว่า นักศึกษาอาชีวศึกษามีคะแนนเฉลี่ยการประเมินความคิดสร้างสรรค์หลังการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักศึกษาอาชีวศึกษามีความพึงพอใจต่อสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ตามแนวคิดเมกเกอร์สเปซที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ในระดับมากที่สุด 4. ผลการรับรองโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ตามแนวคิดเมกเกอร์สเปซ ของนักศึกษาสังกัดคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิ ให้การรับรองความเหมาะสมขององค์ประกอบภายในโมเดลฯ ในทุกองค์ประกอบ และมีผลการประเมินโมเดลฯ อยู่ในระดับดี
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1994
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010561004.pdf9.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.