Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1996
Title: | The Development of a Model for Encouragement Research Competencies for Non-academic Personnel of Higher Education in the Northeast การพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการทำวิจัยของบุคลากรสายสนับสนุน ระดับอุดมศึกษาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
Authors: | Wuthikrai Pommarang วุฒิไกร ป้อมมะรัง Songsak Phusee - orn ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน Mahasarakham University Songsak Phusee - orn ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน songsak.p@msu.ac.th songsak.p@msu.ac.th |
Keywords: | สมรรถนะ การส่งเสริมสมรรถนะการทำวิจัย บุคลากรสายสนับสนุนระดับอุดมศึกษา Competency Encouragement Research Competencies Non-academic Personnel of Higher Education |
Issue Date: | 11 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | This research aims to 1) analyze the composition and study the needs needed In Development of research competencies for support personnel 2) Develop and experiment with Promote research competency of support personnel 3) Study the results of using competency development models Research of Higher Education Support Personnel in the Northeastern Region Samples are Support personnel of Mahasarakham University who voluntarily participate in research competency development Data analysis uses quantitative analysis. Research instruments are : 1) Measurement Research competencies of support personnel 2) Research skills competency assessment form of and 3) a form to measure the research attitude of support personnel. Statistics used In the research, such as means, standard deviations. Test the difference in mean values using a T-value. Dependent samples t-test.
The research findings were as follows :
1. Components of research competency of higher education support personnel consisted of 3 dimensions: knowledge, skills, and attitudes. There were 13 indicators in the knowledge dimension, 12 indicators in the skill dimension, and 12 indicators in the attitude dimension. And the need for development of research and development competency of support personnel was sorted in 3 aspects as follows : knowledge (PNImodified = 1.50), attitude (PNImodified = 1.47), and skills (PNImodified = 1.40).
2. Models for development of research competencies for higher education support personnel, it consists of 7 components: 1) Origin and significance of the model 2) Basic theories and concepts 3) Principles of the model 4) Objectives of the model 5) Contents of the development model 6) Stages model development phases; and 7) measurement and evaluation.
3. The results of using the model showed that the research competencies of support personnel were higher than before development at a statistical significance at the .05 level in terms of knowledge. skills and attitudes. การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบและศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยสำหรับบุคลากรสายสนับสนุน 2) พัฒนาและทดลองใช้รูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะการทำวิจัยของบุคลากรสายสนับสนุน 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการทำวิจัยของบุคลากรสายสนับสนุนระดับอุดมศึกษาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่สมัครใจเข้าร่วมการพัฒนาสมรรถนะการทำวิจัย จำนวน 12 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบวัดสมรรถนะด้านความรู้การวิจัยของบุคลากรสายสนับสนุน 2) แบบวัดสมรรถนะด้านทักษะการวิจัยของบุคลากรสายสนับสนุน และ 3) แบบวัดสมรรถนะด้านเจตคติต่อการวิจัยของบุคลากรสายสนับสนุน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยแบบสองกลุ่มโดยใช้ค่าทีแบบสองกลุ่มสัมพันธ์กัน (Dependent Samples t-test) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. องค์ประกอบสมรรถนะด้านการวิจัยของบุคลากรสายสนับสนุนระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วย 3 มิติ ได้แก่ มิติด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติ โดยมิติด้านความรู้ มี 13 ตัวบ่งชี้ มิติด้านทักษะมี 12 ตัวบ่งชี้ และมิติด้านเจตคติ มี 12 ตัวบ่งชี้ และความต้องการจําเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยของบุคลากรสายสนับสนุน เรียงลำดับใน 3 ด้าน ดังนี้ ด้านความรู้ (PNImodified = 1.50) ด้านเจตคติ (PNImodified = 1.47) และด้านทักษะ (PNImodified = 1.40) 2. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัย สำหรับบุคลากรสายสนับสนุนระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ที่มาและความสำคัญของรูปแบบ 2) ทฤษฎีและแนวคิดพื้นฐาน 3) หลักการของรูปแบบ 4) จุดมุ่งหมายของรูปแบบ 5) เนื้อหาของรูปแบบการพัฒนา 6) ขั้นตอนการพัฒนาของรูปแบบ และ 7) การวัดและประเมินผล 3. ผลการใช้รูปแบบ พบว่า สมรรถนะด้านการวิจัยของบุคลากรสายสนับสนุนสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งด้านความรู้ ทักษะและเจตคติ |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1996 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59010562004.pdf | 11.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.