Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1997
Title: A Development of Learning Model to Promote Senior High School Students’ Social and Emotional Learning
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านสังคมและอารมณ์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา
Authors: Supatarayan Thiantheerasombat
สุภัทรญาณ เฑียรธีระสมบัติ
Chowwalit Chookhampaeng
ชวลิต ชูกำแพง
Mahasarakham University
Chowwalit Chookhampaeng
ชวลิต ชูกำแพง
chowwalit.c@msu.ac.th
chowwalit.c@msu.ac.th
Keywords: การพัฒนารูปแบบ
การจัดการเรียนการสอน
การเรียนรู้ด้านสังคมและอารมณ์
Model Development
Instructional Models
Social and Emotional Learning
Issue Date:  24
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The study aimed to develop a learning model to promote senior high school students’ social and emotional learning, investigate the results of using developmental learning model in different periods, compare the social and emotional learning behaviors of students who study by the social and emotional learning model with students who study by common learning model. The researcher developed the learning model under the research and development process based on the instructional design systems of Joyce and Weil. The study was conducted in 3 different periods namely period 1 the investigation of basic information, period 2 the development of the Learning Model to Promote Senior High School Students’ Social and Emotional Learning, period 3 the study of the results of using the Learning Model to Promote Senior High School Students’ Social and Emotional Learning. The sample group were 76 students of Matthayomsuksa 5 in the first semester of academic year 2019, Mahasarakham University Demonstration School (Secondary). The students were of 2 diverse proficiency classes, one class was the experimented class while the other was the controlled class. The sample groups were selected by cluster sampling technique. The instruments included lesson plans, behavior observation form, and questionnaire. The data were statistically analyzed by average, mean, standard deviation, and parametric statistics t-test independent and Two way Repeated Measures ANOVA. The results revealed that: 1. The investigation of social and emotional learning context and conditional probability showed that the social and emotional learning of senior high school students should be promoted due to the fact that 4 aspects of senior high school students’ social and emotional learning behaviors; self-awareness, self-management, relationship skills, and responsible decision making, are at the low level. 2. The learning model to promote senior high school students’ social and emotional learning consists of 6 elements namely basic concepts, goals, instructional design, social system, conditions of application, and supported system. The learning management procedure comprises of the following steps: step1 creating positive classroom atmosphere, step2 setting the goals, step3 cooperation, step4 communication, and step5 discussion. 3. The results of using the learning model to promote senior high school students’ social and emotional learning indicated that 1) the comparison of social and emotional learning behaviors of students in both experimental class and controlled class had different overall social and emotional learning behaviors. Statistically significant at the .05 level. 2) the investigation of the students’ social and emotional learning behaviors in the different periods of time indicates the comparative results of learning scores on social and emotional intelligence of students who study Mathayomsuksa 5 at Mahasarakham University Demonstration School (High school) are different with statistical significance at the .05 level . The results were compared by matching Test pair 1 to Test pair 3 of student score. Students who learn with social and emotional intelligence model has developed this skill and the results were improving in every month.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านสังคมและอารมณ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ในเชิงพัฒนาการที่มีระยะเวลาแตกต่างกัน รวมถึงเปรียบเทียบพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านสังคมและอารมณ์ ระหว่างนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการการจัดการเรียนรู้ด้านสังคมและอารมณ์ กับนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ปกติ ผู้วิจัยใช้แนวคิดการ พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ของจอย เวล โดยได้ดำเนินการพัฒนารูปแบบด้วยกระบวนการวิจัยและพัฒนา แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านสังคมและอารมณ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา และระยะที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านสังคมและอารมณ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 76 คน ที่เป็นห้องคละความสามารถ 2 ห้อง โดยกำหนดให้ 1 ห้อง เป็นห้องที่ใช้ในการทดลอง และอีก 1 ห้อง เป็นห้องควบคุม ได้มาด้วยการสุ่มแบบยกกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตพฤติกรรม และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบพาราเมตริก t-test independent และ Two way Repeated Measures ANOVA ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. ผลการศึกษาบริบท สภาพปัญหา เกี่ยวกับการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านสังคมและอารมณ์ พบว่า พฤติกรรมการเรียนรู้ด้านสังคมและอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาควรได้รับการส่งเสริมเนื่องจากพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านสังคมและอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับน้อย 4 ด้าน คือ ด้านการตระหนักรู้ในตนเอง ด้านการจัดการตนเอง ด้านทักษะด้านความสัมพันธ์ และด้านการตัดสินใจอย่างมีความรับผิดชอบ 2. รูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านสังคมและอารมณ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา มีองค์ประกอบ 6 องค์ประกอบ ได้แก่ แนวคิดพื้นฐาน วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการเรียนรู้ ระบบสังคมหลักการตอบสนอง และระบบสนับสนุน มีกระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 สร้างบรรยากาศขั้นที่ 2 การตั้งเป้าหมาย ขั้นที่ 3 การร่วมมือ ขั้นที่ 4 การสื่อสาร และขั้นที่ 5 การอภิปรายทำให้ชัดเจน 3. ผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านสังคมและอารมณ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปรากฏผลดังนี้ 1) การเปรียบเทียบพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านสังคมและอารมณ์ระหว่างนักเรียนห้องทดลองและนักเรียนห้องควบคุม พบว่า นักเรียนห้องทดลองและนักเรียนห้องควบคุมมีพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านสังคมและอารมณ์โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลศึกษาพัฒนาการของพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านสังคมและอารมณ์ของนักเรียนในระยะเวลาที่ต่างกัน พบว่า ผลการเปรียบเทียบคะแนนการเรียนรู้ด้านสังคมและอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) คู่ที่ 1 ถึงคู่ที่ 3 มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กล่าวคือ นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านสังคมและอารมณ์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา มีพัฒนาการของพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านสังคมและอารมณ์สูงขึ้นทุกเดือน
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1997
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010563005.pdf8.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.