Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1998
Title: Developing Activity Program to Enhance Online Social Media Literacy by Self-regulation for High School Students
การพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ ด้วยกระบวนการการกำกับตนเองของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย
Authors: Nattika Kaenchan
นัฐติกา แก่นจันทร์
Lakkana Sariwat
ลักขณา สริวัฒน์
Mahasarakham University
Lakkana Sariwat
ลักขณา สริวัฒน์
lakkana.sariwat@hotmail.com
lakkana.sariwat@hotmail.com
Keywords: การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์
การกำกับตนเอง
ชุดกิจกรรม
Social Media Literacy
Self-regulation
Activity Program
Issue Date:  7
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aimed to develop activity program to enhance online social media literacy through self-regulation and compare online social media literacy before and after using activity program. The samples were 15 high school students, who gained average score of online social media literacy at medium level and under, obtained by multiple sampling technique. Research instruments were 1) online social media literacy form 2) online social media literacy test 3) online social media literacy observation form 4) online social media literacy program. Statistic used were mean, standard deviation, and Wilcoxon Matched Pairs Singed-Ranks test. The results of this research were as follows: 1. The activity program to enhance online social media literacy using self-regulation for high school students consisted of 5 activities 1) getting media 2) media analysis 3) media understanding 4) media evaluation and 5) use of media, evaluated by experts at high level of appropriateness.       2. Online social media literacy of high school students after treated was higher than before treated by activity program to enhance online social media literacy through self-regulation at .05 level of statistical significance and was at high level.
งานวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ด้วยกระบวนการการกำกับตนเอง และ 2) เปรียบเทียบการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรม กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเรณูนครวิทยานุกูล จังหวัดนครพนม จากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โดยให้นักเรียนทำแบบประเมินการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ และเลือกนักเรียนอาสาสมัครที่มีการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ ไม่เกินระดับปานกลาง จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ 2) แบบทดสอบการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ 3) แบบสังเกตการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ด้วยกระบวนการการกำกับตนเอง และ 4) ชุดกิจกรรมการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ด้วยกระบวนการการกำกับตนเองของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐาน คือ สถิติทดสอบวิลคอกซัน ผลการวิจัย พบว่า 1. ชุดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ด้วยกระบวนการการกำกับตนเองของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 กิจกรรม คือ 1) การรับสื่อ 2) การวิเคราะห์สื่อ 3) การเข้าใจสื่อ 4) การประเมินสื่อ และ 5) การใช้สื่อ และได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก     2. นักเรียนมีการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์หลังได้รับการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ด้วยกระบวนการการกำกับตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีพฤติกรรมการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์อยู่ในระดับมาก
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1998
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010554002.pdf5.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.