Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2001
Title: The Development of an Instructional Model of English Collocation Based on Sociolinguistic Theory to Enhance Listening and Speaking Skills for Undergraduate Students
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คำปรากฏร่วมภาษาอังกฤษตามแนวคิด ทฤษฎีภาษาศาสตร์สังคม เพื่อส่งเสริมทักษะการฟังและการพูด ภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
Authors: Montaya Srisapoom
มนทยา ศีรษะภูมิ
Jiraporn Chano
จิระพร ชะโน
Mahasarakham University
Jiraporn Chano
จิระพร ชะโน
jiraporn.j@msu.ac.th
jiraporn.j@msu.ac.th
Keywords: คำปรากฏร่วมภาษาอังกฤษ
ทฤษฎีภาษาศาสตร์สังคม
ทักษะการฟังภาษาอังกฤษ
ทักษะการพูดภาษาอังกฤษ
English Collocation
Sociolinguistics Theory
English Listening Skill
English Speaking Skills
Issue Date:  29
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The research aimed to 1) study the basic information and needs for the development of an instructional model based on sociolinguistics theory to enhance English listening and speaking skills for Undergraduate Students, 2) develop the instructional model based on sociolinguistics theory to enhance English listening and speaking skills for undergraduate students. 3) study the results of implementation of the instructional model based on sociolinguistics theory to enhance English listening and speaking skills for undergraduate students. The instructional model was developed based on Joyce, Weil and Calhoun's systematic approach. The research and development (R&D) process was used to develop the instructional model which was divided into three phases: 1) studying the basic information and needs, 2) developing the instructional model, 3) studying the results of implementation of the instructional model. The sample group was 55 students of Ubon Ratchathani Rajabhat University in the 1st semester of the academic year 2020, selected by cluster random sampling. The research instruments consisted of a questionnaire for students, an interviewing form for professor, a learning management manual, lesson plans, English listening tests, English speaking tests, English listening skill achievement tests, and English speaking skill achievement tests. The statistical analyses were mean, percentage, standard deviation, and the Wilcoxon Signed Rank Test. The results of the research were as follows: 1. From understanding the general information and needs for developing listening and speaking instructional model based on sociolinguistics for undergraduate students, it was found that the overall situation for students' English listening and speaking skills enhancement was moderate. Moreover, it revealed that most of the lecturers did not follow the proper sequence of teaching method. The learners were also not so enthusiastic to participant in the given activities and lacked of confidence. These were repercussion for insufficient support of enhancing listening and speaking skills systematically, no chances of getting effective listening and speaking strategies, including lacking of analysis and synthesis thinking skills. It showed that lecturers found the solutions for the mentioned problem by emphasizing on interesting activities in a language classroom, engaging the students more by using various kinds of multimedia teaching materials, creating learning space where learners could communicate in English. All these could purposefully enhance the effectiveness of language classroom management. 2. The instructional model based on sociolinguistics theory to enhance English listening and speaking skills for undergraduate students consisted of 6 elements: 2.1 basic theory and concepts 1) Noam Chomsky’s Sociolinguistic Theory, 2) Concept of English Language Learning Management, 3) Lev Vygotsky’s Linguistic Theory, 4) John Dewey’s Constructivism Theory, 2.2 objectives of the model, 2.3 syntax of the learning with of 6 steps 1) Example, 2) Exploration, 3) Explanation, 4) Elaboration, 5) Evaluation, 6) E–Production, 2.4 social system, 2.5 principle of reaction, and 2.6 support system. Furthermore, the model was affirmed from the experts in developing process. The trying out of model was found that learning process those provided in model had appropriate progression. 3. The results of implementation of the instructional model based on sociolinguistics theory to enhance English listening and speaking skills for undergraduate students revealed the findings as follows: 3.1 The students had a significantly higher improvement of English listening and speaking skills both in overall and each individual aspect at the .05 level of significance. 3.2 The students' learning achievement for both listening and speaking skills after learning through the developed model was significantly higher than that assessed before learning through the model at the .05 level of significance.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย คือ 1. เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คำปรากฏร่วมภาษาอังกฤษตามแนวคิดทฤษฎีภาษาศาสตร์สังคม เพื่อส่งเสริมทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คำปรากฏร่วมภาษาอังกฤษตามแนวคิดทฤษฎีภาษาศาสตร์สังคม เพื่อส่งเสริมทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี 3. เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คำปรากฏร่วมภาษาอังกฤษตามแนวคิดทฤษฎีภาษาศาสตร์สังคม เพื่อส่งเสริมทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ผู้วิจัยใช้รูปแบบจอยส์ เวลล์ และคาลฮัล โดยได้ดำเนินการพัฒนารูปแบบด้วยกระบวนการวิจัยและพัฒนา แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คำปรากฏร่วมภาษาอังกฤษตามแนวทฤษฎีภาษาศาสตร์สังคม เพื่อส่งเสริมทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คำปรากฏร่วมภาษาอังกฤษตามแนวทฤษฎีภาษาศาสตร์สังคม เพื่อส่งเสริมทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 55 คน ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามผู้เรียน แบบสัมภาษณ์อาจารย์ผู้สอน คู่มือการใช้รูปแบบ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดทักษะการฟังภาษาอังกฤษ แบบวัดทักษะการพูดภาษาอังกฤษ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลักภาษาสำหรับครูภาษาอังกฤษ ด้านทักษะการฟัง และ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลักภาษาสำหรับครูภาษาอังกฤษ ด้านทักษะการพูด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบ Wilcoxon Signed Rank Test ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีภาษาศาสตร์สังคม เพื่อส่งเสริมทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี พบว่า มีการส่งเสริมทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษโดยภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง ผู้สอนส่วนใหญ่ยอมรับว่าไม่ได้จัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ตามขั้นตอน และยอมรับว่าผู้เรียนขาดความกระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรมและไม่ให้ความร่วมมือ ผู้เรียนส่วนใหญ่ไม่มีความเชื่อมั่นในตนเองและไม่กล้าแสดงออก ซึ่งผู้เรียนขาดการส่งเสริมและสนับสนุนทักษะกระบวนการฟังและการพูดภาษาอังกฤษที่เป็นระบบ และขาดโอกาสในการได้รับกลวิธีที่ช่วยในการฟังและการพูดภาษาอังกฤษรวมถึงขาดทักษะการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์  ผู้สอนจึงมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาการจัดการเรียน การสอนภาษาอังกฤษโดยสอนภาษาอังกฤษที่เน้นกิจกรรมที่น่าสนใจ นำสื่อและเทคโนโลยีมาช่วยในการ จัดเรียนการสอน ใช้สื่อการสอนที่หลากหลาย สร้างแหล่งเรียนรู้ ให้ผู้เรียนได้สื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ซึ่งผู้สอนมีความต้องการในการพัฒนาขั้นตอนวิธีการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อที่จะนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้ให้ได้คุณภาพมากที่สุด 2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คำปรากฏร่วมภาษาอังกฤษตามแนวคิดทฤษฎีภาษาศาสตร์สังคม เพื่อส่งเสริมทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี ที่พัฒนาขึ้นมี 6 องค์ประกอบ คือ 2.1 ทฤษฎีและแนวคิดพื้นฐาน ประกอบด้วย 1) ทฤษฎีภาษาศาสตร์สังคม ตามแนวคิดของนอมชอมสกี 2) แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ 3) แนวคิดทฤษฎีภาษาศาสตร์ของไวก้อตสกี้ 4) ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ตามแนวคิดของดิวอี้ 2.2 วัตถุประสงค์ 2.3 ขั้นตอนการเรียนรู้ ที่ประกอบด้วย 6 ขั้นได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นนำเสนอตัวอย่าง (Example) ขั้นที่ 2 ขั้นสำรวจ (Exploration) ขั้นที่ 3 ขั้นนำเสนอ (Explanation) ขั้นที่ 4 ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) ขั้นที่ 5 ขั้น ประเมินผล (Evaluation) ขั้นที่ 6 ขั้นสร้างผลงาน (E–Production) 2.4 ระบบสังคม 2.5 หลักการตอบสนอง และ 2.6 ระบบสนับสนุน ซึ่งได้รับการยืนยันและสนับสนุนจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ และมีผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้พบว่า สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ได้ตามรูปแบบที่กำหนด 3. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีภาษาศาสตร์สังคม เพื่อส่งเสริมทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี ปรากฏผล ดังนี้ 3.1 ผู้เรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีภาษาศาสตร์สังคม เพื่อส่งเสริมทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี พบว่า ผู้เรียนมีพัฒนาการทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษโดยรวมและรายด้านหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.2 ผู้เรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีภาษาศาสตร์สังคม เพื่อส่งเสริมทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลักภาษาสำหรับครูภาษาอังกฤษด้านทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2001
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010563003.pdf22.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.