Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2002
Title: | A Development of Instructional Model to Competency of Thai Language for Students Grade 6 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 |
Authors: | Tharathikoon Raha ธราธิคุณ ระหา Montree Wongsaphan มนตรี วงษ์สะพาน Mahasarakham University Montree Wongsaphan มนตรี วงษ์สะพาน montree.v@msu.ac.th montree.v@msu.ac.th |
Keywords: | สภาพปัญหา สมรรถนะภาษาไทย สมรรถนะ Problems Competencies of Thai Language Competencies |
Issue Date: | 3 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | This research purposes were: 1) To study the current state and problems of learning management in prromoting Thai language competencies of grade 6 students, 2) To develop instructional model promoting Thai language competencies for Grade 6 students, 3) To find the effectiveness index of learning management with a learning management model that promotes Thai competency of grade 6 students, 4) To evaluate instructional model enhance Thai language competencies for Grade 6 students. This research design was processed based on Research and Development methodology with 4 phases that composed of: The first phase to study current state and problems of instructional situation to promote Thai language competencies for Grade 6 students; The second phase to develop the instructional model to promote Thai language competencies for Grade 6 students; The third phase to study the effects of instructional model to promote Thai language competencies for Grade 6 students, and the fourth phased to assess the instructional model to promote Thai language competencies for Grade 6 students. The research samples that assigned in assessing the instructional model results were grade 6 students in Anubanbanna (Wat Chang) School, under the office of Nakhon Nayok Primary Education Service Area, in the second semester of the academic year 2021, with 41 students, which were obtained by purposive sampling. The research instruments were: 1) The questionnaire for gathering current state and problems of learning managemet to promote Thai language competencies for students, 2) the record forms for interviewing the approaches to enhance Thai language competencies for Grade 6 students, 3) Learning management model that promotes Thai competency of grade 6 students, 4) The handbook to implement instructional model, 5) The 10 plans for learning management, 6) Thai language performance test and 7) The assessing forms for appropriateness, feasibility, and usefulness of instructional model. The statistics used to analyze research data were means, standard deviation, and testing for hypotheses with effectiveness index for Dependent Sample, and explanation for qualitative data with narrative approach.
The research results were as follow:
1. Learning management that promotes Thai competency has not given importance to learning management for learners to gain competency in the Thai language as they should. Because teachers still adhere to the learning management framework that mainly focuses on knowledge and understanding of content, lack of problem-solving issues and allow students to practice by themselves. Learning management that promotes competency in the Thai language. There should be persuasion and motivation. Give students a curiosity encourage them to take action and participate in setting their own learning direction. And more self-assessment, In addition, enhancement students learned though practicing and take cooperation in their directed learning, supported with sel-assessment activities, and also including appropriate medias and learning resources sufficient with needs and encouraging their effective learning. Whereas, should design variety and interesting of learning activities to support problem solving in different experiences and performances, and then motivated them to apply knowledge in useful day life.
2. The results of instructional model development to promote Thai language competencies of grade 6 students, were found that; the instructional model components composed of 1) Basic principles, ideas, and theories, 2) the objective of model, 3) learning management process, 4) the social system, 5) the respose system, and 6) the support system. For synthesis of learning process compose of 5 steps, those were 1) Motivation, 2) Searching, 3) Collaboration, 4) Summarizing, and 5) Reflection.
3. The studying of implementing instructional model result to promote Thai language competencies of grade 6 students, were found to Effectiveness Index of learning progress from instructional model to promote Thai language competencies of grade 6 students in term of Knowledge, Skill and Attribute. Effectiveness Index was 0.68, 0.64 and 0.70, respectively, indicating that students who received learning management in accordance with the learning management model to promote Thai language competencies of grade 6 students have increased learning progress.
4. The assessment result of instructional model to promote Thai language competencies of grade 6 students revealed the instructional model were appropriate, feasibilities, and usefulness with the highest level, with average scores of 4.63, 4.55 and 4.69 respectively. การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาด้านการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ส่งเสริมสมรรถนะภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยแบบ R&D รวม 4 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาด้านการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ ระยะที่ 4 ประเมิน รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มทดลองที่ใช้ในการศึกษาผลการใช้รูปแบบ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลบ้านนา (วัดช้าง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 41 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและปัญหาด้านการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะภาษาไทย 2) แบบบันทึกการสัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะภาษาไทย 3) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4) คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 5) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน 6) แบบวัดสมรรถนะภาษาไทย และ 7) แบบประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐาน ด้วยดัชนีประสิทธิผล รวมทั้งนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1. การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะภาษาไทย ยังไม่ได้ให้ความสำคัญในการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะภาษาไทยเท่าที่ควร เนื่องจากผู้สอนยังยึดกรอบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความรู้ความเข้าใจด้านเนื้อหาเป็นหลัก ขาดการเสนอประเด็นการแก้ปัญหา และให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะภาษาไทย ควรมีการโน้มน้าวสร้างแรงจูงใจ ให้ผู้เรียนเกิดความใฝ่รู้ ส่งเสริมให้ลงมือปฏิบัติและมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการเรียนรู้ของตน และมีการประเมินตนเองมากขึ้น อีกทั้งควรจัดสื่อและแหล่งการเรียนรู้ให้เพียงพอกับความต้องการและเอื้อต่อการเรียนรู้ และกิจกรรมการเรียนรู้ควรมีหลากหลายน่าสนใจ เพื่อให้ผู้เรียนได้คิดแก้ปัญหาในสถานการณ์ ที่แตกต่าง จากประสบการณ์ตัวเองได้อย่างเหมาะสม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ 2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้มีองค์ประกอบ ดังนี้ 1) หลักการ แนวคิด ทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนองและ 6) ระบบสนับสนุน ทั้งนี้ ได้สังเคราะห์ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้น ประกอบด้วย 1) ขั้นการสร้างแรงจูงใจ 2) ขั้นค้นคว้าแนวคิด 3) ขั้นการปฏิบัติแบบร่วมมือ 4) ขั้นการจัดองค์ความรู้ และ 5) ขั้นการสะท้อนผล 3. การศึกษาศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ดัชนีประสิทธิผลของความก้าวหน้าในการเรียนรู้จากการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้านความรู้ ด้านทักษะ และความคุณลักษณะ มีค่าดัชนีประสิทธิผล 0.68, 0.64 และ 0.70 ตามลำดับ แสดงว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความก้าวหน้าในการเรียนเพิ่มขึ้น 4. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีความเหมาะสม เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์ ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.63, 4.55 และ 4.69 ตามลำดับ |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2002 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60010563006.pdf | 7.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.