Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2004
Title: The development of a supervision model that promotes instructional  management of teachers in the College of Dramatic Arts, Bunditpatanasilpa Institute of Fine Arts
การพัฒนารูปแบบการนิเทศที่ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนของครูในวิทยาลัยนาฏศิลป สังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
Authors: Nantawan Panomket
นันทวัน พนมเขต
Tharinthorn Namwan
ธรินธร นามวรรณ
Mahasarakham University
Tharinthorn Namwan
ธรินธร นามวรรณ
tharinthorn.n@msu.ac.th
tharinthorn.n@msu.ac.th
Keywords: รูปแบบการนิเทศ
ความสามารถในการนิเทศ
การส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนของครู
supervision model
supervision ability
promotion of teaching and learning management of teachers
Issue Date:  2
Publisher: Mahasarakham University
Abstract:                        A research to develop a supervision model that promotes instructional management of teachers in the College of Dramatic Arts, Bunditpatanasilpa Institute of Fine Arts aims 1)To study the current situation and the desirable state of supervision that promotes instructional management of teachers in the College of Dramatic Arts. 2) To create and verify a supervision model that promotes instructional management of teachers in the College of Dramatic Arts. 3) To study the results of the experimental use of a supervision model that promotes instructional management of teachers in the College of Dramatic Arts, Bunditpatanasilpa Institute of Fine Arts.           The research results are as follows:           1. The results of the study of current conditions and the desirable condition of supervision that promotes instructional management of teachers in the College of Dramatic Arts, Bunditpatanasilpa Institute of Fine Arts found that the current state of supervision was at a moderate level (= 3.29, S.D.= 0.93). When considering each side, it was found that the aspect with the highest mean was the knowledge before supervision (= 3.38, S.D. = 0.83). Teaching ( = 3.35, S.D.= 0.87) Supervision planning ( = 3.34, S.D.= 1.05) Supervision evaluation ( = 3.33, S.D.= 0.85) Giving feedback ( = 3.16, S.D.= 1.01) ) and supervision operations ( = 3.15, S.D.= 0.94) desirable conditions of supervision was at the highest level ( =4.63, S.D.= 0.49) when considering each aspect The aspect with the highest mean values was the pre-supervision knowledge ( = 4.65, SD.= 0.43), the supervision evaluation ( = 4.63, SD.= 0.44), the current state of teaching and learning supervision ( = 4.63, SD.= 0.46), supervision planning ( = 4.63, SD.= 0.49), supervision operations ( = 4.63, SD.= 0.50) and feedback ( = 4.61, SD.= 0.58 )           2. The results of the development of a supervision model that promotes instructional management of teachers in the College of Dramatic Arts, Bunditpatanasilpa Institute of Fine Arts that passed the supervision model quality check From experts are 1) Principles of the model are 1.1) Participatory network principles of all sectors 1.2) Principle of Integration and continuity 1.3) principles of democracy teamwork and friendliness 2) Objectives of the model 2.1) to develop executives Head of Department Leaders of learning groups, teachers and educational personnel to have knowledge, understanding and skills in applying the supervision model to use in effective learning management of the College of Dramatic Arts. 2.2) To develop teachers who receive supervision apply the results from the implementation of the model to develop teaching and learning management. 2.3) To promote teaching and learning management of teachers in the College of Dramatic Arts, Bunditpatanasilpa Institute of Fine Arts 3) The supervision content consists of 3.1) A design of a learning management plan 3.2) Ability to manage teaching and learning 4) The supervision process (S-I-A-R-E MODEL) consisting of Step 1: Study of the current state of supervision (Study : S ) by using the process of analyzing strengths, weaknesses, opportunities and obstacles of schools in supervision (SWOT Analysis) Step 2 Management of supervision knowledge (Information: I) Pre-test Providing knowledge on supervision (Training), testing after training (Post-test). Step 3 Supervision operations (Action: A), including planning for supervision (Planning) to create mutual understanding. (Understanding), doing supervision and meeting after supervision (Meeting) Step 4 Reflection: R Step 5 Evaluation (Evaluation: E) (Input, Process, Output) 5) supervision style assessment 6) success conditions           3. The effect of using a supervision model to promote instructional management of teachers in the College of Dramatic Arts, Bunditpatanasilpa Institute of Fine Arts found that 1) supervision and supervision recipients 2) the results of the evaluation of the supervision ability of the supervisors were higher than before the training, 3) the evaluation of the ability of teachers in management design learning teaching and learning activities 4) The results of the satisfaction assessment of the supervision and the supervision recipients are satisfied with the style at the highest level. 5) The results of suitability assessment possibility and usefulness at the highest level  
            การวิจัยพัฒนารูปแบบการนิเทศที่ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนของครูในวิทยาลัยนาฏศิลป สังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์การนิเทศที่ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนของครูในวิทยาลัยนาฏศิลป สังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์  2) เพื่อสร้างและตรวจสอบรูปแบบการนิเทศที่ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนของครูในวิทยาลัยนาฏศิลป สังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศที่ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนของครูในวิทยาลัยนาฏศิลป สังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์            ผลการวิจัยปรากฏดังนี้            1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศที่ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนของครูในวิทยาลัยนาฏศิลป สังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พบว่า สภาพปัจจุบันของการนิเทศ อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.29, S.D.= 0.93)  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ  ด้านการให้ความรู้ก่อนการนิเทศ  ( = 3.38, S.D.= 0.83) ด้านสภาพปัจจุบันของการนิเทศการเรียนการสอน ( = 3.35, S.D.= 0.87) ด้านการวางแผนการนิเทศ ( = 3.34, S.D.= 1.05) ด้านการประเมินผลการนิเทศ ( = 3.33, S.D.= 0.85)  ด้านการให้ข้อมูลย้อนกลับ ( = 3.16, S.D.= 1.01) และด้านการปฏิบัติการนิเทศ ( = 3.15, S.D.= 0.94)  สภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศ อยู่ในระดับมากที่สุด  ( =4.63, S.D.= 0.49) เมื่อพิจารณารายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ  ด้านการให้ความรู้ก่อนการนิเทศ ( = 4.65, SD.= 0.43) ด้านการประเมินผลการนิเทศ  ( = 4.63, SD.= 0.44) ด้านสภาพปัจจุบันของการนิเทศการเรียนการสอน ( = 4.63, SD.= 0.46) ด้านการวางแผนการนิเทศ ( = 4.63, SD.= 0.49)  ด้านการปฏิบัติการนิเทศ ( = 4.63, SD.= 0.50) และด้านการให้ข้อมูลย้อนกลับ  ( = 4.61, SD.= 0.58)              2. ผลการพัฒนารูปแบบการนิเทศที่ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนของครูในวิทยาลัยนาฏศิลป สังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการนิเทศ จากผู้ทรงคุณวุฒิ คือ 1) หลักการของรูปแบบ คือ 1.1) หลักการเครือข่ายการมีส่วนร่วม  ของทุกภาคส่วน  ​1.2) หลักการบูรณาการ และความต่อเนื่อง 1.3) หลักการประชาธิปไตย การทำงานเป็นทีม และความเป็นกัลยาณมิตร 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 2.1) เพื่อพัฒนาผู้บริหาร หัวหน้าภาควิชา  หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ครู และบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะการนำรูปแบบการนิเทศไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพของวิทยาลัยนาฏศิลป สังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ 2.2) เพื่อพัฒนาครูผู้รับการนิเทศ นำผลที่ได้จากการดำเนินการตามรูปแบบไปใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนมีสมรรถนะตามหลักสูตร 2.3) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนของครูในวิทยาลัยนาฏศิลป สังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ให้มีประสิทธิภาพ 3) เนื้อหาการนิเทศ ประกอบด้วย 3.1) การออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้  3.2) ความสามารถในการจัดการเรียนการสอน 4) กระบวนการนิเทศ (S-I-A-R-E MODEL) ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันของการนิเทศ (Study : S) โดยใช้ขั้นตอนการวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของสถานศึกษาในด้านการนิเทศ  (SWOT Analysis) ขั้นที่ 2 การจัดการให้ความรู้เรื่องการนิเทศ (Information : I)  ได้แก่ การทดสอบก่อนอบรม (Pre-test)  การให้ความรู้ด้านการนิเทศ (Training) การทดสอบหลังการอบรม (Post-test)  ขั้นที่ 3 การปฏิบัติการนิเทศ (Action :A) ได้แก่  การวางแผนด้านการนิเทศ (Planning)  การสร้างความเข้าใจร่วมกัน (Understanding) การปฏิบัติการนิเทศ  (Doing) และการประชุมหลังการนิเทศ (Meeting) ขั้นที่ 4 การสะท้อนผลการนิเทศ (Reflection : R)   ขั้นที่ 5 การประเมินผล (Evaluation : E) (Input, Process, Output) 5) การประเมินรูปแบบการนิเทศ 6) เงื่อนไขความสำเร็จ            3. ผลการใช้รูปแบบการนิเทศที่ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนของครูในวิทยาลัยนาฏศิลป สังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พบว่า 1) ผู้นิเทศ และผู้รับการนิเทศ มีความรู้หลังการอบรมสูงกว่าก่อนได้รับการอบรม 2) ผลการประเมินความสามารถในการในการนิเทศของผู้นิเทศสูงกว่าก่อนได้รับการนิเทศอบรม 3) ผลการประเมินความสามารถของครูในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการนิเทศ 4) ผลการประเมินความพึงพอใจของ ผู้นิเทศ และผู้รับการนิเทศ มีความพึงพอใจต่อรูปแบบ อยู่ในระดับมากที่สุด 5) ผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2004
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010564002.pdf24.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.