Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2008
Title: | Enhancing Digital Citizenship in the Northeast Primary School Students การเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนระดับประถมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
Authors: | Rungaroon Pongkan รุ่งอรุณ ป้องกัน Lakkhana Sariwat ลักขณา สริวัฒน์ Mahasarakham University Lakkhana Sariwat ลักขณา สริวัฒน์ lakkana.sariwat@hotmail.com lakkana.sariwat@hotmail.com |
Keywords: | โปรแกรมการฝึกอบรม ความเป็นพลเมืองดิจิทัล นักเรียนระดับประถมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ A Training Program Digital Citizenship Primary School Students in the Northeast |
Issue Date: | 1 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The research aimed 1) to investigate elements and indicators of digital citizenship on primary school students in the northeast, 2) to develop training program to enhance digital citizenship on primary school students and 3) to study the results of using the program developed on the primary school students in the northeast. The samples were divided into 3 phases: Phase 1) 5 qualified subjects for the data and 1,200 primary school students in the northeast obtained by multistage random sampling technique, Phase 2) 5 qualified subjects for the program assessment and 30 subjects through purposive sampling technique, and phase 3) The target group of 30 primary school students in the northeast through purposive sampling technique. The research tools were: 1) a set of digital citizenship scale, 2) a training program of the northeast primary school students’ digital citizenship enhancement, and 3) a program’s appropriateness assessment form. Statistics used in data analysis were mean, standard deviation, confirmatory component analysis, and repeated-measures one-way analysis of variance.
The results revealed as followings: 1) There were 3 elements of digital citizenship for primary school students in the northeast consisting of Respect yourself/Respect others, Educate yourself/ Connect with others, as well as Protect yourself/Protect others and each of those with 3 indicators, 2) The training program of the northeast primary school students’ digital citizenship enhancement was divided into 16 activities to enhance 3 elements of digital citizenship and was assessed its appropriateness at the high level, 3) The comparison of the digital citizenship on primary school students in the northeast after treated by the program developed was higher statistically significant at the .05 level, and the comparison on the follow-up of which was not different between 1 month and post-test. การวิจัยนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนระดับประถมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรมการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนระดับประถมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นต่อนักเรียนระดับประถมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตัวอย่างในการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 ผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้ข้อมูล จำนวน 5 คน และนักเรียนระดับประถมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 1,200 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ระยะที่ 2 ผู้ทรงคุณวุฒิที่ประเมินโปรแกรม จำนวน 5 คน และนักเรียนระดับประถมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 30 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง และระยะที่ 3 นักเรียนระดับประถมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 30 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวัดความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนระดับประถมศึกษา 2) โปรแกรมการฝึกอบรมการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนระดับประถมศึกษา และ 3) แบบประเมินความเหมาะสมของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนระดับประถมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การเคารพในตนเองและผู้อื่น การพัฒนาตนเองและสัมพันธ์กับผู้อื่น และการปกป้องตนเองและผู้อื่น และแต่ละองค์ประกอบมี 3 ตัวบ่งชี้ 2) โปรแกรมการฝึกอบรมการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนระดับประถมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 16 กิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัลทั้ง 3 องค์ประกอบ ได้รับการประเมินความเหมาะสมในระดับมาก 3) การเปรียบเทียบความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนระดับประถมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือสูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการเปรียบเทียบในระยะติดตามผลการทดลอง 1 เดือนกับหลังการทดลองไม่แตกต่างกัน |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2008 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60010567004.pdf | 16.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.