Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2019
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorSomkuan Silprakoben
dc.contributorสมควร ศิลป์ประกอบth
dc.contributor.advisorKarn Ruangmontrien
dc.contributor.advisorกาญจน์ เรืองมนตรีth
dc.contributor.otherMahasarakham Universityen
dc.date.accessioned2023-09-07T10:45:32Z-
dc.date.available2023-09-07T10:45:32Z-
dc.date.created2023
dc.date.issued18/5/2023
dc.identifier.urihttp://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2019-
dc.description.abstractSupervision, develop supervision model, and study effects of using coaching supervision model for enhancing learning management competency for teachers in primary schools under Office of the Basic Education Commission. There are 3 phases, namely, study of current state, problems and desirable conditions for supervision via coaching, including developing supervision model by studying the effects of coaching supervision model. The statistics used in data analysis were consists nean, standard deviation and t-test. It was found that the current state and problems of supervision by coaching were at a high level and desirable conditions were presented at the highest level. The results of the development of the sup model by coaching featured principle of the model, purposes of the model, and pervision process which consists of 7 steps as follows: Goal; Reality; Option; Way Forward; Observation which includes Pre-coaching, Coaching, and Post- Coaching; Reflection Coaching; and Evaluation. Assessment of the model and success conditions, as well as the results of using the supervision model by coaching gained appropriateness, feasibility, and usefulness at the highest level.en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพพึงประสงค์การนิเทศด้วยการโค้ชเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้สำหรับครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2. พัฒนารูปแบบการนิเทศด้วยการโค้ชเสริมสร้างสมรรถนะ การจัดการเรียนรู้สำหรับครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3. ศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศด้วยการโค้ชเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้สำหรับครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และสภาพพึงประสงค์การนิเทศด้วยการโค้ช โดยมี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาแนวทางและองค์ประกอบของการนิเทศด้วยการโค้ช ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และสภาพพึงประสงค์การนิเทศด้วยการโค้ช โดยกลุ่มตัวอย่างในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูหัวหน้าวิชาการ ครูผู้สอนระดับโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 645 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการนิเทศด้วยการโค้ช โดยการตรวจสอบคุณภาพความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความมีประโยชน์ ด้วยการจัดสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบบันทึกการสนทนากลุ่มและแบบประเมินเพื่อตรวจสอบและยืนยันร่างรูปแบบการนิเทศที่พัฒนาขึ้น ระยะที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศด้วยการโค้ช เป็นการศึกษาผลการนำรูปแบบนิเทศที่พัฒนาขึ้นไปใช้กับโรงเรียนที่อาสาสมัครจำนวน 1 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบทดสอบก่อนและหลังการให้ความรู้ความเข้าใจ แบบประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนประถมศึกษา ประกอบด้วย การประเมินความสามารถด้านการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้และการประเมินการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน และแบบประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศ มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความมีประโยชน์ของรูปแบบการนิเทศ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยดังนี้ 1. ผลการศึกษาแนวทางและองค์ประกอบของการนิเทศด้วยการโค้ช มี 7 องค์ประกอบ 1) การกำหนดเป้าหมายที่ต้องการ (Goal) 2) สภาพปัญหา/สาเหตุของการนิเทศ (Reality) 3) ทางเลือก/แนวทางการแก้ไขปัญหา (Option) 4) การลงมือปฏิบัติตามแผนที่กำหนด/การวางแผนการนิเทศ (Way Forward) 5) การสังเกตการสอน (Observation) 5.1) การประชุมก่อนการสังเกตการสอน (Pre-Coaching) 5.2) การสังเกตการสอนในชั้นเรียน (Coaching) 5.3) การสะท้อนคิดและชี้แนะหลังการสอน (Post-Coaching) 6) การชี้แนะแบบมองย้อนสะท้อนผลการทำงาน (Reflection coaching) 7) การประเมินผลการนิเทศ (Evaluation) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา อยู่ในระดับมาก และสภาพพึงประสงค์การนิเทศด้วยการโค้ช มีสภาพพึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด 2. ผลการพัฒนารูปแบบการนิเทศด้วยการโค้ชแบบ GROWORE ผ่านการตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการนิเทศ จากผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า รูปแบบการนิเทศด้วยการโค้ชแบบ GROWORE มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความมีประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด ประกอบด้วย 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการนิเทศด้วย GROWOER ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ (1) G–Goal การกำหนดเป้าหมายที่ต้องการ (2) R–Reality สภาพปัญหา/สาเหตุ (3) O–Option ทางเลือก/แนวทางการแก้ไขปัญหา/การพัฒนา (4) W–Way Forward การลงมือปฏิบัติตามแผนที่กำหนด/การวางแผนการนิเทศ (5) Observation ขั้นการสังเกตการสอน (5.1) Pre-Coaching การประชุมก่อนการสังเกตการสอน (5.2) Coaching การสังเกตการสอนในชั้นเรียน (5.3) Post-Coaching การสะท้อนคิดและชี้แนะหลังการสอน (6) Reflection coaching การชี้แนะแบบมองย้อนสะท้อนผลการทำงาน (7) Evaluation การประเมินผลการนิเทศ 4) การประเมินรูปแบบ และ 5) เงื่อนไขความสำเร็จ 3. ผลการใช้รูปแบบการนิเทศด้วยการโค้ชแบบ GROWORE เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้สำหรับครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า 1) ครูผู้รับการนิเทศมีความรู้ความเข้าใจ สูงกว่าก่อนการได้รับความรู้ความเข้าใจ 2) ครูผู้รับการนิเทศมีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้สูงขึ้นหลังจากได้รับการนิเทศ 3) ผลการประเมินการใช้รูปแบบการนิเทศด้วยการโค้ชแบบ GROWORE มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความมีประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุดth
dc.language.isoth
dc.publisherMahasarakham University
dc.rightsMahasarakham University
dc.subjectรูปแบบการนิเทศth
dc.subjectการนิเทศด้วยการโค้ชth
dc.subjectการโค้ชth
dc.subjectสมรรถนะครูth
dc.subjectการจัดการเรียนรู้th
dc.subjectSupervision Modelen
dc.subjectSupervision by Coachingen
dc.subjectCoachingen
dc.subjectTeacher's Competencyen
dc.subjectLearning Managementen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.subject.classificationEducationen
dc.titleSupervisory Model Development by Coaching to Enhance Instructional Competency for Teachers in Primary School under the Office of the Basic Education Commissionen
dc.titleการพัฒนารูปแบบการนิเทศด้วยการโค้ชเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ การจัดการเรียนรู้สำหรับครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
dc.contributor.coadvisorKarn Ruangmontrien
dc.contributor.coadvisorกาญจน์ เรืองมนตรีth
dc.contributor.emailadvisorKarn.r@msu.ac.th
dc.contributor.emailcoadvisorKarn.r@msu.ac.th
dc.description.degreenameDoctor of Education (Ed.D.)en
dc.description.degreenameการศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)th
dc.description.degreelevelDoctoral Degreeen
dc.description.degreelevelปริญญาเอกth
dc.description.degreedisciplineEducational Administrationen
dc.description.degreedisciplineภาควิชาการบริหารการศึกษาth
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61010562007.pdf19.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.