Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2022
Title: The Development of a Model for Enhancing Classroom Research Competency of Internship Students in Teaching Profession Rajabhat University in the Northeast
การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียน ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Authors: Oranut Srikham
อรนุช ศรีคำ
Yannapat Seehamongkon
ญาณภัทร สีหะมงคล
Mahasarakham University
Yannapat Seehamongkon
ญาณภัทร สีหะมงคล
yannapat.s@msu.ac.th
yannapat.s@msu.ac.th
Keywords: การวิจัยในชั้นเรียน
สมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียน
รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียน
Classroom Research
Classroom Research Competency
Model for Enhancing Classroom Research Competency
Issue Date:  17
Publisher: Mahasarakham University
Abstract:                       Development of a model for enhancing classroom research competency of a practice teacher Rajabhat University in the Northeast. The objectives were 1) to analyze the components and indicators of classroom research competency of a practice teacher. 2) to study the needs and necessities for the development of research competencies in the classroom of teacher professional internship students. 3) to create a model for enhancing research competency in the classroom. 4) to try out the classroom research competency-enhancing model.   5) to evaluate the classroom research competency-enhancing model. The sample group consisted of a practice teacher and mentor 70 people. The research tools were 1) A questionnaire on condition of problems and guidelines for enhancing research competency in the classroom. 2) A questionnaire on the composition and indicators of research competency in the classroom of a practice teacher. 3) Assessment form for the appropriateness and feasibility of the model. 4) Research knowledge test. 5) Research practice assessment form. 6) Research psychology questionnaire. 7) Opinion assessment form on the use of the model. The statistics used to analyze the data were percentage, mean, standard deviation. and the data were analyzed by using a prioritization method (PNImodified)and exploratory component analysis (EFA). The results showed that           1. Components and indicators of classroom research competency of a practice teacher composition can be classified into three components, seventy one indicators, as follows: The first component: Cognitive, consisted of twenty four indicators, The element weight values from 0.53 to 0.72. The second component: research practice, consisted of thirty indicators, The element weight values from 0.57 to 0.71. The third component: research psychology, consisted of seventeen indicators, The element weight values from 0.66 to 0.83.           2. The results of the assessment of the needs and the classroom research competency of a practice teacher by the Modified Priority Needs Index (PNImodified) method showed that the competencies with the highest needs was the cognitive skills (0.179), followed by research practical skills (0.178) and research psychology (0.127), respectively.           3. A model for enhancing research competency in the classroom of a practice teacher operated by conducting research work of a practice teacher. There are five steps in the development process according to the defined method, which are: Self Awareness, Motivation, Intimate, Learning, and Evaluation.           4. The results of the experiment using the model for enhancing research competency in the classroom of a practice teacher found that a practice teacher had good knowledge and understanding (76.30 percent), the overall classroom research practice was at a high level (x̄=3.99, S.D.=.589).  and the overall research psychology was at a high level (x̄=4.15, S.D.=.863) .           5. The results of the assessment of the model for enhancing classroom research competency for a practice teacher of the model users were at a high level (x̄=4.28, S.D.=.663).
       การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีวัตถุประสงค์        1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวชี้วัดของสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู   2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 3) เพื่อสร้างรูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียน 4) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียน และ 5) เพื่อประเมินรูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และครูพี่เลี้ยง จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. แบบสอบถามสภาพปัญหาและแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียน 2. แบบสอบถามเกี่ยวกับองค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียน 3. แบบสอบถามองค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 4. แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ 5. แบบทดสอบความรู้ด้านการวิจัย 6. แบบประเมินการฝึกปฏิบัติงานวิจัย 7. แบบวัดด้านจิตวิจัย 8.แบบประเมินความคิดเห็นที่มีต่อการใช้รูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการจัดลำดับความสำคัญ (PNImodified) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) ผลการวิจัย พบว่า            1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดของสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู    จัดองค์ประกอบได้ 3 องค์ประกอบ 71 ตัวชี้วัด ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 ด้านความรู้ความเข้าใจ มีจำนวน 24 ตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักองค์ประกอบตั้งแต่ 0.53 ถึง 0.72 องค์ประกอบที่ 2 ด้านการปฏิบัติการวิจัย มีจำนวน 30 ตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักองค์ประกอบตั้งแต่ 0.57 ถึง 0.71 องค์ประกอบที่ 3 ด้านจิตวิจัย มีจำนวน 17 ตัวชี้วัด  ค่าน้ำหนักองค์ประกอบตั้งแต่ 0.66 ถึง 0.83            2. ผลการประเมินความต้องการจำเป็นสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ด้วยวิธี Modified Priority Needs Index (PNImodified) พบว่า สมรรถนะที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ ด้านความรู้ความเข้าใจ (0.179) รองลงมาคือ ด้านทักษะปฏิบัติการวิจัย (0.178) และด้านจิตวิจัย (0.127) ตามลำดับ            3. รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู โดยดำเนินงานด้วยการปฏิบัติงานวิจัยของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มีขั้นตอนในการพัฒนา ตามวิธีการที่กำหนดไว้ 5 ขั้นตอน ได้แก่  การรู้จักตนเอง (Self Awareness) การสร้างแรงจูงใจ (Motivation) ความรู้สึกใกล้ชิด (Intimate) การเรียนรู้ (Learning) และการประเมิน (Evaluation)            4. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู พบว่า นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมีความรู้ความเข้าใจในระดับดี (ร้อยละ 76.30) ด้านการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄=3.99, S.D.=.589)  และด้านจิตวิจัยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄=4.15, S.D.=.863)            5. ผลการประเมินรูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของผู้ใช้รูปแบบในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄=4.28, S.D.=.663)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2022
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61010566005.pdf3.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.