Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2027
Title: Developing biology learning activities by using problems  base learning to improve the ability to think connectedly of 5th graders
การพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยาโดยการใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดเชื่อมโยงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Authors: Naphaporn Saiphan
นภาพร สายผัน
Sumalee Chookhampaeng
สุมาลี ชูกำแพง
Mahasarakham University
Sumalee Chookhampaeng
สุมาลี ชูกำแพง
supunnee.l@msu.ac.th
supunnee.l@msu.ac.th
Keywords: การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, ความสามารถในการคิดเชื่อมโยง, ผลสัมฤทธิ์
Problem-based learning Association ability Achievement
Issue Date:  6
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research is purposeful. 1) To develop the efficiency of learning management activities using the problem as an effective basis according to the 70/70 criterion. 2) To compare the associative thinking ability of Mathayomsuksa 5 students who received a problem-based learning management activity that passed the criteria of 70 percent. 3) To compare the learning achievement after receiving the problem-based learning management activity on the subject of the immune system. and about the excretory system of students in grade 5 to pass the criteria of 70 percent. The sample groups in this research are: study ware 37 students of 5th graders in the 2nd semester of 2021 academic year at Phadungnaree school in Mahasarakham District. The research instrument included 1) 5 plans, 17 hours for learning activity by problem-based learning in topic of excretory system and immune system. 2) a 32 items 4 multiple choice the association ability test with discriminating power ranging 0.20 to 0.37, with difficulties ranging 0.49 to 0.79 and reliability of 0.93 and 3) a 30 items 4 multiple choice the achievement test with discriminating power ranging 0.20 to 030, with difficulties ranging 0.44 to 0.80 and reliability of 0.96 the statistic used for analyzing data were percentage, mean, standard deviation and test the hypothesis using statistical t-test (One samples t-test).  The results were as follows: 1) The learning activities based on problem-based learning Inquiry had an efficiency (E1/E2) of 72.56/71.17  2) Students who have been learning by using learning activities based on on problem-based learning inquiry having association ability than 70 percent statistically significant at the .05 level. 3) Students who have been learning by using learning activities based on on problem-based learning inquiry having achievement than 70 percent statistically significant at the .05 level.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของกิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชื่อมโยงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับกิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจากได้รับกิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง เรื่องระบบภูมิคุ้มกัน และเรื่องระบบขับถ่าย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนผดุงนารี อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม  จำนวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ระบบภูมิคุ้มกัน และเรื่องระบบขับถ่าย จำนวน 11 แผน ทั้งหมด 17 ชั่วโมง  2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดเชื่อมโยง เป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 32 ข้อมีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.49 ถึง 0.79 มีค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.37 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.93   3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องระบบภูมิคุ้มกัน และเรื่องระบบขับถ่าย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.44 ถึง 0.80 มีค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.30 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96   สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test (One samples t-test) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 72.56/71.17 2) นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานมีความสามารถในการคิดเชื่อมโยงสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2027
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62010556007.pdf2.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.