Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2039
Title: The Developing Guidelines for Promoting Democracy in Schools using Professional Learning Community under the Office of Secondary Education Service Area, Maha Sarakham
การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนโดยใช้ชุมชนแห่ง การเรียนรู้ทางวิชาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มหาสารคาม
Authors: Sutawat Chaiyasa
ศุฑาวัฒน์ ไชยสา
Sinthawa Khamdit
สินธะวา คามดิษฐ์
Mahasarakham University
Sinthawa Khamdit
สินธะวา คามดิษฐ์
sinthawa.kha@dpu.ac.th
sinthawa.kha@dpu.ac.th
Keywords: การส่งเสริมประชาธิปไตย
กิจกรรมเพื่อส่งเสริมวิถีประชาธิปไตย
Democracy Promotion
Activities Fostering Democratic Values
Issue Date:  16
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research endeavor aims to investigate the current state, desired conditions, and imperative requirements for fostering democracy, specifically within the educational context, and to propose a framework for promoting democracy in schools through the utilization of professional learning communities. The study focuses on schools affiliated with the Office of Secondary Education Area, Mahasarakham, and employs a mixed-methods research design comprising two distinct phases. Phase 1 involves an examination of the prevailing conditions, aspirational benchmarks, and indispensable prerequisites for advancing democracy. The sample encompasses school principals, vice principals, and teaching staff from the aforementioned educational institutions, totaling 386 individuals in the 2564 academic year. The research instruments employed consist of survey questionnaires employing proportional scaling, enabling statistical analyses such as mean, standard deviation, and the index of necessary requirements. Phase 2 delves into exploring the guidelines for cultivating democracy within schools, leveraging professional learning communities as a key approach. Data for this phase is obtained from a purposefully selected group of 6 highly qualified participants through in-depth interviews, and content analysis is applied for data interpretation. The research findings can be summarized as follows: 1. The assessment of the current state of democracy promotion in schools reveals that both the curriculum and teaching practices aimed at fostering democratic values, as well as the organization of activities supporting democratic ideals, exhibit a moderate overall level of implementation. Concerning the desired conditions for promoting democracy, all aspects are found to be at the highest level. Furthermore, the analysis of essential requirements for fostering democracy in schools indicates that the curriculum and teaching practices demonstrate a necessity index value of 0.59, surpassing the index value of 0.47 associated with the organization of activities aimed at cultivating democratic principles within educational institutions. 2. Regarding the exploration of guidelines for promoting democracy in schools through professional learning communities, the study identifies 13 guidelines pertaining to the curriculum and teaching practices that foster democratic values, along with 9 guidelines focused on the organization of activities promoting democratic ideals within educational settings. Collectively, these guidelines amount to a comprehensive framework comprising 22 guidelines. The assessment of feasibility and appropriateness of these guidelines reveals a high level of alignment with the research objectives.
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการส่งเสริมประชาธิปไตยและเพื่อนำเสนอแนวทางการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มหาสารคาม ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน แบ่งออกเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 เป็นการศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการส่งเสริมประชาธิปไตย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน และรองผู้อำนวยการโรงเรียน และครูผู้สอนของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มหาสารคาม ปีการศึกษา 2564 จำนวน 386 คน โดยสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ส่วนระยะที่ 2 เป็นการศึกษาแนวทางการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน พบว่า ทั้งด้านหลักสูตรและการสอนที่ส่งเสริมประชาธิปไตยและด้านการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตย โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และผลการศึกษาสภาพที่พึงประสงค์ของการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ส่วนผลการศึกษาความต้องการจำเป็นของการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน พบว่า ด้านหลักสูตรและการสอนที่ส่งเสริมประชาธิปไตย โดยรวมมีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นเท่ากับ 0.59 ซึ่งสูงกว่าด้านการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมวิถีประชาธิปไตยในสถานศึกษาซึ่งมีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นเท่ากับ 0.47 2. ผลการศึกษาแนวทางการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ พบว่า ได้แนวทางการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ด้านหลักสูตรและการสอนที่ส่งเสริมประชาธิปไตย 13 แนวทาง และด้านการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมวิถีประชาธิปไตยในสถานศึกษา 9 แนวทาง รวม 22 แนวทาง ส่วนผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2039
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62010586056.pdf5.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.