Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2042
Title: The Development of Mathematics Learning Activity by using Inquiry Process with Ill-Structure Problem Solving to Promote Computational Thinking Skill in Matthayomsuksa 2 students
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบสืบเสาะร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาที่มีโครงสร้างไม่สมบูรณ์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Authors: Bhornthep Chuetapra
พรเทพ เชื้อตาพระ
Tatsirin Sawangboon
ทัศน์ศิรินทร์ สว่างบุญ
Mahasarakham University
Tatsirin Sawangboon
ทัศน์ศิรินทร์ สว่างบุญ
tatsirin.s@msu.ac.th
tatsirin.s@msu.ac.th
Keywords: กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ, กระบวนการแก้ปัญหาที่มีโครงสร้างไม่สมบูรณ์, ทักษะการคิดเชิงคำนวณ
inquiry process
Ill-structure Problem
Computational thinking skill
Issue Date:  24
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research purposed to develop mathematics learning activities on surface area and volume of prisms and cylinders by using inquiry process with Ill-structure Problem Solving to promote computational thinking skills in Matthayomsuksa 2 students to be effective according to the 70/70 criteria, to compare computational thinking skills with 70 percent of criteria and to compare the learning achievement with 70 percent of criteria. The samples were 38 Matthayomsuksa 2/3 students at Mahasarakam University Demonstration School (Secondary) which obtained by cluster random sampling. The instruments used in the experiments were 8 lesson plans based on inquiry process with Ill-structure Problem Solving, total 8 hours and the instruments used to collect the data were a computational thinking skills assessment, learning achievement test of Mathematics 4 on surface area and volume of prisms and cylinders. The statistics manipulated for the data were percentage, mean, standard deviation, and one-sample t-test. The results revealed as follows: 1. The results of the management of mathematics learning activities by using the inquiry process with Ill-structure Problem Solving to promote computational thinking skills in Matthayomsuksa 2 students on surface area and volume of prisms and cylinders had the efficiency of the process (E1)  and the efficiency of the product (E2) at 73.52/75.21, which higher than the set criteria of 70/70. 2. Matthayomsuksa 2 students who studied through mathematics learning activities by using inquiry process with Ill-structure Problem Solving had computational thinking skills higher than the criteria of 70 percent, statistically significant at the level of .05. 3. Matthayomsuksa 2 students who studied through mathematics learning activities by using inquiry process with Ill-structure Problem Solving had the learning achievement higher than the criteria of 70 percent, statistically significant at the level of .05
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตรของปริซึมและทรงกระบอก โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับกระบวนแก้ปัญหาที่มีโครงสร้างไม่สมบูรณ์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตาม เกณฑ์ 70/70 เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดเชิงคำนวณกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 โรงเรียน สาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม(ฝ่ายมัธยม) จำนวน 38 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับกระบวนแก้ปัญหาที่มีโครงสร้างไม่สมบูรณ์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตรของปริซึมและทรงกระบอก จำนวน 8 แผนการเรียนรู้ รวมทั้งสิ้น 8 ชั่วโมง และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบวัดทักษะการคิดเชิงคำนวณ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตรของปริซึมและทรงกระบอก สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ One Sample t-test ผลการศึกษาพบว่า 1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาที่มีโครงสร้างไม่สมบูรณ์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตรของปริซึมและทรงกระบอก มีประสิทธิภาพด้านกระบวนการ (E1) และมีประสิทธิภาพด้านผลลัพธ์(E2) เท่ากับ 73.52/75.21 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 70/70 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาที่มีโครงสร้างไม่สมบูรณ์มีทักษะการคิดเชิงคำนวณสูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับกระบวนแก้ปัญหาที่มีโครงสร้างไม่สมบูรณ์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2042
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010558009.pdf3.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.