Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2044
Title: Digital Teacher Competency Empowerment Program in School under the Provincial Administrative Organization
โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูดิจิทัล ในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
Authors: Pakdee Siripan
ภักดี ศิริพรรณ
Surachet Noirid
สุรเชต น้อยฤทธิ์
Mahasarakham University
Surachet Noirid
สุรเชต น้อยฤทธิ์
surachet.n@msu.ac.th
surachet.n@msu.ac.th
Keywords: สมรรถนะครูดิจิทัล
ความรู้ความเข้าใจดิจิทัล
การใช้เครื่องมือและสื่อดิจิทัล
การแก้ปัญหาด้วยเครื่องมือดิจิทัล
การปรับตัวและเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล
Digital Teacher Competency
Digital Literacy
Use of Digital Tools and Media
Problems-Solving Using Digital Tools
Digital Adaptation and Transformation
Issue Date:  27
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purpose of this research is 1) to study the composition and indicators of digital teacher competencies; In schools under the Provincial Administration Organization and 2) to study the current condition. Desirable conditions and necessary needs In Digital Teacher Empowerment 3) To design digital teacher competency-building programs. and 4) to study the effects of digital teacher competency-building programs. in schools under the Provincial Administration Organization using research and development. The research was conducted in 4 phases: Phase 1: The study of the composition and indicators of digital teacher competency. 7 students Phase 2 Current Condition Study Desirable conditions and necessary needs In Digital Teacher Empowerment The group of informants is administrators and teachers. A total of 364 people were obtained by stratified randomization. Phase 3: Launching the program with a group of informants including experts Phase 4 Study of Program Results The group of informants includes teachers. The tools used to collect data are assessment of the suitability of components and indicators, current and desirable condition inquiry forms, feasibility assessments, suitability and usefulness assessments, tests, and assessments of the ability to use tools and digital media. Satisfaction questionnaire Statistics used to analyze data include percentage, mean, standard deviation, and requirement index. The research found that: 1. The components and indicators of digital teacher competency in schools under the Provincial Administration Organization, there are 4 components with 37 indicators. 2. Current condition Digital teacher competency building is at a high level. The overall desirability is high and the need is necessary to strengthen the capacity of digital teachers. In schools under the Provincial Administration Organization In descending order: 1) use of digital tools and media 2) problem-solving using digital tools 3) digital adaptation and transformation 4) digital literacy, respectively. 3. Digital Teacher Competency Building Program In schools under the Provincial Administration Organization, it consists of 1) principles, 2) objectives, 3) content, consisting of 4 modules, (1) digital literacy, (2) use of digital tools and media, (3) problems-solving using digital tools, (4) digital adaptation and transformation, 4) development methods, consisting of (1) training, (2) personal development, (3) professional learning community (PLC), 5) program evaluation, consisting of (1) digital cognitive assessment, (2) ability assessment of digital tools and media, (3) satisfaction assessment. 4. Effects of Digital Teacher Competency Enhancement Programs In schools under the Provincial Administration Organization, it was found that 1) digital literacy of teachers; After development, 86.67% passed the assessment criteria 2) Learning management behavior with teachers' tools and digital media Pre-development is moderate after development is very high. 3) Teachers' satisfaction with the digital teacher competency program in schools under the provincial administration organization, to a high extent.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของสมรรถนะครูดิจิทัล ในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็น ในการเสริมสร้างสมรรถนะครูดิจิทัล ในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด 3) เพื่อออกแบบโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูดิจิทัล ในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด และ 4) เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูดิจิทัล ในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยใช้การวิจัยและพัฒนา ดำเนินการวิจัยเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของสมรรถนะครูดิจิทัล โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ระยะที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็น ในการเสริมสร้างสมรรถนะครูดิจิทัล โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลคือผู้บริหารและครู จำนวน 364 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น ระยะที่ 3 การออกแบโปรแกรม โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ระยะที่ 4 การศึกษาผลการใช้โปรแกรม โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ครู จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวชี้วัด แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ แบบประเมินความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความเป็นประโยชน์ แบบทดสอบ แบบประเมินความสามารถในการใช้เครื่องมือและสื่อดิจิทัล แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดของสมรรถนะครูดิจิทัล ในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด มี 4 องค์ประกอบ จำนวน 37 ตัวชี้วัด 2. สภาพปัจจุบัน การเสริมสร้างสมรรถนะครูดิจิทัล โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างสมรรถนะครูดิจิทัล ในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ 1) การใช้เครื่องมือและสื่อดิจิทัล 2) การแก้ปัญหาด้วยเครื่องมือดิจิทัล 3) การปรับตัวและเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล และ 4) ความรู้ความเข้าใจดิจิทัล ตามลำดับ 3. โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูดิจิทัล ในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา ประกอบด้วย 4 Module (1) ความรู้ความเข้าใจดิจิทัล (2) การใช้เครื่องมือและสื่อดิจิทัล (3) การแก้ปัญหาด้วยเครื่องมือดิจิทัล (4) การปรับตัวและเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล 4) วิธีการพัฒนา ประกอบด้วย (1) การฝึกออบรม (2) การพัฒนาตนเอง (3) ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) 5) การประเมินผลโปรแกรม ประกอบด้วย (1) การประเมินความรู้ความเข้าใจดิจิทัล (2) การประเมินความสามารถในการใช้เครื่องมือและสื่อดิจิทัล (3) การประเมินความพึงพอใจ 4. ผลการใช้โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูดิจิทัล ในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด พบว่า 1) ความรู้ความเข้าใจดิจิทัล ของครู หลังการพัฒนา คิดเป็น ร้อยละ 86.67 ผ่านเกณฑ์การประเมิน 2) พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ด้วยเครื่องมือและสื่อดิจิทัลของครู ก่อนการพัฒนาอยู่ในระดับ ปานกลาง หลังการพัฒนาอยู่ในระดับ มาก 3) ความพึงพอใจของครูที่ มีต่อโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูดิจิทัล ในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด อยู่ในระดับมาก
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2044
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010562007.pdf11.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.