Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2047
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorChaiyaporn Samransuken
dc.contributorไชยพร สำราญสุขth
dc.contributor.advisorSurachet Noiriden
dc.contributor.advisorสุรเชต น้อยฤทธิ์th
dc.contributor.otherMahasarakham Universityen
dc.date.accessioned2023-09-07T11:13:11Z-
dc.date.available2023-09-07T11:13:11Z-
dc.date.created2023
dc.date.issued21/1/2023
dc.identifier.urihttp://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2047-
dc.description.abstractThis research aims to; 1) study current conditions, desirable conditions, and the needs to enhance change leadership of school administrators 2) Develop the program to enhance change leadership of school administrators. The research method was divided into 2 phases: Phase 1 was to study the current conditions, desirable conditions, and the needs to enhance change leadership of school administrators. The samples were 299 school administrators, head of department and head of learning group from 23 schools under Surin secondary educational service area selected through the stratified random sampling, setting priorities the needs by using priorities needs index (PNImodified).  Phase 2 was to develop a program to enhance change leadership of school administrators under Surin secondary educational service area. The program was inspired by the best practice from 2 model schools, obtained from 5 administrators , head of department and head of learning group interviewing’s and, evaluating the program by 5 experts selected through the purposive sampling technique. The research instruments were semi-structured interview, and evaluation form. The data were analyzed by using mean, standard deviation, and needs index (PNImodified). The results showed that; 1. The current stage of the change leadership of school administrators was overall at the medium level (x̅ = 2.55-2.75). The highest average aspect was the stimulation of intelligence usage. The desirable conditions of the change leadership of school administrators was overall in the highest level (x̅ = 4.68-4.75). The highest average aspect was ideological influence. The needs assessment to the development of the change leadership of school administrators which ordered of the needs assessment from more to less were ideological influence , individual consideration , inspiration and the stimulation of intelligence usage. 2. The program to enhance change leadership of school administrators under Surin Secondary Educational Service Area consists of 1) Principle 2) purposes 3) target group 4) contents 5) implementation 6) evaluation. The content consists of 4 modules: Module 1 ideological influence, Module 2 inspiration Module 3 the stimulation of intelligence usage Module 4 Individual consideration. The results of overall program evaluation were highest level appropriate (x̅ = 4.69) and the possibilities (x̅ = 4.78) are at the highest level. In conclusion, the results of the development of the Program to enhance change leadership of school administrators under Surin Secondary Educational Service Area could help the school to be used as a guideline for enhance the change leadership of school administrators systematically and quality.en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ 2) สร้างโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มงาน และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 299 คน จากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ จำนวน 23 โรงเรียน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยนำข้อมูลที่ได้มาจัดลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งทำการวิเคราะห์หาค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) ระยะที่ 2 การสร้างโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ สร้างโปรแกรมโดยการศึกษาวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) โดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มงาน และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ รวม 5 คน จากโรงเรียนต้นแบบ 2 โรงเรียน และประเมินโปรแกรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 3 ชนิด ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.228–0.951 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.815 ใช้เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างในระยะที่ 1 แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง จำนวน 4 ข้อ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรม เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 18 ข้อ ใช้เก็บข้อมูลในระยะที่ 2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง (x̅ = 2.55-2.75) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญา สภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.68-4.75) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ส่วนความต้องการจำเป็น (PNImodified) ในการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ และด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญา 2. โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กลุ่มเป้าหมาย 4) เนื้อหา 5) การดำเนินการ 6) การประเมินผล เนื้อหาสาระประกอบด้วย 4 Module ได้แก่ Module 1 การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ Module 2 การสร้างแรงบันดาลใจ Module 3 การกระตุ้นการใช้ปัญญา และ Module 4 การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ซึ่งผลการประเมินโปรแกรมโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.69) และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.78 ) สรุปได้ว่า ผลการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ในครั้งนี้ ช่วยให้สถานศึกษาสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ได้อย่างเป็นระบบและมีคุณภาพth
dc.language.isoth
dc.publisherMahasarakham University
dc.rightsMahasarakham University
dc.subjectการพัฒนาโปรแกรมth
dc.subjectเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงth
dc.subjectDevelopment of the Programen
dc.subjectEnhance Change Leadershipen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.subject.classificationEducationen
dc.titleDeveloping Leadership Enhancement Program for Change of School Administrators under Surin Secondary Educational Service Area Officeen
dc.titleการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์th
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
dc.contributor.coadvisorSurachet Noiriden
dc.contributor.coadvisorสุรเชต น้อยฤทธิ์th
dc.contributor.emailadvisorsurachet.n@msu.ac.th
dc.contributor.emailcoadvisorsurachet.n@msu.ac.th
dc.description.degreenameMaster of Education (M.Ed.)en
dc.description.degreenameการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)th
dc.description.degreelevelMaster's Degreeen
dc.description.degreelevelปริญญาโทth
dc.description.degreedisciplineEducational Administrationen
dc.description.degreedisciplineภาควิชาการบริหารการศึกษาth
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010581016.pdf3.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.