Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2050
Title: Development of a Program for Strengthen Teacher in English Instructional to Enhance Communicative Ability for School in the Secondary Educational Service Area Office Mahasarakham
การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของครู สำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษามหาสารคาม
Authors: Nantanut Wichienprert
นันทนัช วิเชียรเพริศ
Karn Ruangmontri
กาญจน์ เรืองมนตรี
Mahasarakham University
Karn Ruangmontri
กาญจน์ เรืองมนตรี
Karn.r@msu.ac.th
Karn.r@msu.ac.th
Keywords: การพัฒนาโปรแกรม
หลักการพัฒนาครู
การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อความสามารถในการสื่อสาร
Development of Program
Teacher Development
Communicative Language Teaching
Issue Date:  2
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aimed to study a current condition, a desirable condition, and needs for development of a program for strengthen teacher in English instructional to enhance communicative ability for school in the Secondary Educational Service Area Office Mahasarakham The research was conducted in 2 phases as follows. Phase 1: The current condition, the desirable condition, and the needs for strengthen teacher in English instructional to enhance communicative ability under the Secondary Educational Service Area Office Mahasarakham were studied. The sample group consisted of 118 English teachers of the Secondary Educational Service Area Office Mahasarakham. The research tools were a questionnaire and an interview form. The statistics used in the quantitative data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, and PNImodified. Phase 2: The development of a program for strengthen teacher in English instructional to enhance communicative ability for school in the Secondary Educational Service Area Office Mahasarakham was studied. It was a qualitative research, which its data were collected by interview and focus group and analyzed by content analysis.   The results were as follows: 1. The current condition for strengthen teacher in English instructional to enhance communicative ability under the Secondary Educational Service Area Office Mahasarakham was at a much level, in descending order, namely, 1) Background knowledge of Learning Activities 2) Learning Skills 3) Attitudes toward learning English and 4) Personality in classroom management. 2. Program for strengthen teacher in English instructional to enhance communicative ability for school in the Secondary Educational Service Area Office Mahasarakham consisted of 5 aspects were as follows 1) Principle 2) Objectives 3) Content was as follows; Module 1 Background knowledge of Learning Activities Module 2 Learning Skills Module 3 Attitudes toward learning English and Module 4 Personality in classroom management and 4) Teacher development by using 70 : 20 : 10 Learning Model was as follows coursework and training (10%) developmental relationships (20%) and challenging experiences and assignments (70%) and 5) Assessment. Moreover, the results of assessing the suitability and feasibility of the program were at the highest level.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อความสามารถในการสื่อสาร 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างทักษะครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อความสามารถในการสื่อสาร สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นด้านการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อความสามารถในการสื่อสาร ระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างทักษะครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อความสามารถในการสื่อสาร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูภาษาอังกฤษในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม จำนวน 118 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้องสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค และค่าดัชนีจัดเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNImodified) ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อความสามารถในการสื่อสาร โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อความสามารถในการสื่อสาร โดยรวมอยู่ในระดับมาก และลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างทักษะครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อความสามารถในการสื่อสาร สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม เรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ 2) ทักษะการจัดการเรียนรู้ 3) เจตคติต่อการจัดการเรียนรู้ และ 4) และบุคลิกภาพในการจัดการเรียนรู้ ตามลำดับ 2. โปรแกรมเสริมสร้างทักษะครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อความสามารถในการสื่อสาร สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา แบ่งออกเป็น 4 Module ได้แก่ Module 1 ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ Module 2 ทักษะการจัดการเรียนรู้ Module 3 บุคลิกภาพในการจัดการเรียนรู้ และ Module 4 เจตคติต่อการจัดการเรียนรู้ 4) กระบวนการพัฒนาตามหลักการและวิธีการพัฒนาครู 70 : 20 : 10 Learning Model ประกอบด้วย การเรียนรู้และพัฒนาผ่านหลักสูตรหรือโปรแกรมการพัฒนา (10%) โดยการฝึกอบรม การเรียนรู้และพัฒนาผ่านบุคคลอื่น ๆ (20%) โดยการศึกษาดูงานและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการเรียนรู้จากการปฏิบัติและพัฒนาผ่านประสบการณ์ (70%) โดยการเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน และ 5) การประเมินผล ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมเสริมสร้างทักษะครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อความสามารถในการสื่อสาร สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม โดยรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2050
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010581028.pdf10.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.