Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2056
Title: | The Development of STEM-Based Learning Activities Education to Enhance Learning
Achievement and Computational Thinking for Primary 5 Students การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 |
Authors: | Panupong Prajuabwan ภาณุพงศ์ ประจวบวัน Wittaya Worapun วิทยา วรพันธุ์ Mahasarakham University Wittaya Worapun วิทยา วรพันธุ์ Wittaya.wo@msu.ac.th Wittaya.wo@msu.ac.th |
Keywords: | การคิดเชิงคำนวณ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สะเต็มศึกษา STEM STEM-Based Learning Activities Computational Thinking |
Issue Date: | 29 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The purpose of this study is 1) to compare the academic achievement of
5th grade students between pre-school and post-school by developing learning
activitiesbased on STEM concepts to promote academic achievement and
computational thinking, 2) to compare computational thinking of 5th grade
students between pre-school and post-school by developing learning activities
based on STEM concepts to promote academic achievement and computational
thinking. 3) To compare the academic achievement of 5th grade students by
developing learning activities based on STEM concepts to promote academic
achievement and computational thinking with the 70% threshold. 4) To compare
the numeracy of 5th grade students by developing learning activities based on
STEM concepts to promote academic achievement and computational thinking
with the 70% threshold. 5) To study the satisfaction of 5th grade students towards
the development of learning activities based on STEM concepts to promote
academic achievement and numeracy thinking. The sample in this research
consisted of 30 students in Grade 5/1 of Soontonvijit School (Bumrungwittaya),
Nakhon Phanom Primary Education Area Office, District 1, Nakhon Phanom Province,
obtained by Cluster Random Sampling method. Statistics used to analyze data
include mean, percentage, standard deviation, and t-test
The results of the study revealed that:
1) The academic achievement of 5th graders after learning with STEM
concepts is significantly higher than before school at .05.
2) Computational thinking of 5th graders after learning with STEM
concepts was significantly higher than before school at .05.
3) The academic achievement of fifth graders learning with STEM-based
learning was not significantly higher than the 70% threshold at .05.
4) The numeracy of fifth graders learning with STEM-based learning was
significantly higher than the 70 percent threshold at .05.
5) Grade 5 students who learn by developing learning activities based on
STEM concepts to promote academic achievement and numeracy thinking.
Satisfaction is at a high level.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงคำนวณ 2) เพื่อเปรียบเทียบการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนเรียน และหลังเรียนด้วยการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงคำนวณ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด สะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงคำนวณ กับเกณฑ์ ร้อยละ 70 4) เพื่อเปรียบเทียบการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนและการคิดเชิงคำนวณกับเกณฑ์ร้อยละ 70 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด สะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงคำนวณกลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนสุนทรวิจิตร (บำรุงวิทยา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครพนม เขต 1 จังหวัดนครพนม จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการ สุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่ส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัด การคิดเชิงคำนวณ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t – test) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนด้วย การเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2) การคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนด้วย การเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วย การเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาไม่สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 4) การคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการเรียนรู้ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 5) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงคำนวณ มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2056 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
63010582022.pdf | 8.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.