Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2058
Title: | Developing reading and writing abilities through personalized learning management in combination with a reading and writing skill set for students with learning disabilities grades 4-6 การพัฒนาความสามารถการอ่านและการเขียน ด้วยการจัดการเรียนรู้เฉพาะบุคคลร่วมกับชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 |
Authors: | Krittiya Janwongsa กฤติยา จันวงษา Sakorn Atthajakara สาคร อัฒจักร Mahasarakham University Sakorn Atthajakara สาคร อัฒจักร sakorn.a@msu.ac.th sakorn.a@msu.ac.th |
Keywords: | การจัดการเรียนรู้เฉพาะบุคคลร่วมกับชุดฝึกทักษะ ภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ ความสามารถการอ่านและการเขียน individualized learning management combined with skills training package learning disabilities reading and writing abilities |
Issue Date: | 19 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The objectives of this research were 1) to develop reading and writing learning activities. With individualized learning management together with reading and spelling practice kits for students with learning disabilities Grade 4-6 with 80/80 efficiency. 2) Study reading and writing abilities. with individual learning management together with a training set 3) to study the learning ambition of students with learning disabilities through individualized learning management together with the reading and spelling skills training package; Studying Thai language courses of students with learning disabilities in grades 4-6 - whose target groups are Students with learning disabilities, Prathomsueksa 4-6, Ban Kai Na School Wapi Pathum District MahaSarakham Province, 17 people in the first semester of the academic year 2012, derived from purposive selection. The research tools consisted of a personal teaching plan with a high level of suitability, a reading skill set, and writing and spelling had the overall appropriateness at the highest level. Writing had a difficulty value between 0.53 and 0.78, a discriminatory power between 0.33-080, and a confidence value of 0.93. and a questionnaire for assessing students' attitude towards Thai language subjects, the statistics used in the research were mean, standard deviation, and percentage การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้การอ่านและการเขียนสะกดคำ ด้วยการจัดการเรียนรู้เฉพาะบุคคลร่วมกับชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ที่มีประสิทธิภาพ 80/80 2)ศึกษาความสามารถด้านการอ่านและการเขียนสะกดคำ ด้วยการจัดการเรียนรู้เฉพาะบุคคลร่วมกับชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 3) ศึกษาการใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ ด้วยการจัดการเรียนรู้เฉพาะบุคคลร่วมกับชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 และ 4) ศึกษาเจตคติต่อการเรียนรายวิชาภาษาไทย ของนักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ภาษาไทย ซึ่งกลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านไก่นา อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 17 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ซึ่งได้มากจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการสอนเฉพาะบุคคล ชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ แบบทดสอบการอ่านและการเขียนสะกดคำ แบบประเมินพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้ และแบบประเมินเจตคติของนักเรียนที่มีต่อวิชาภาษาไทย สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1) การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้การอ่านสะกดคำ ด้วยการจัดการเรียนรู้เฉพาะบุคคลร่วมกับชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) ในวงจรปฏิบัติที่ 1 นักเรียนมีความสามารถการอ่านและการเขียนสะกดคำ มีประสิทธิภาพ 51.99/74.12 ในวงจรที่ 2 มีประสิทธิภาพ 75.00/81.18 และในวงจรที่ 3 มีประสิทธิภาพ 82.43/85.88 2) ความสามารถด้านการอ่านและการเขียนสะกดคำ ของนักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 นักเรียนมีความสามารถด้านการอ่านและการเขียนสะกดคำ วงจรปฏิบัติที่ 1 อยู่ในระดับปรับปรุง คิดเป็นร้อยละ 50.88 วงจรปฏิบัติที่ 2 อยู่ในระดับพอใช้ คิดเป็นร้อยละ 64.71 วงจรปฏิบัติที่ 3 อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 81.76 3) พฤติกรรมใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 นักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ มีพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้ในวงจรปฏิบัติที่ 1 อยู่ในระดับพอใช้ วงจรปฏิบัติที่ 2 อยู่ในระดับดี และวงจรปฏิบัติที่ 3 อยู่ในระดับดี 4) นักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 มีเจตคติที่ดีต่อรายวิชาภาษาไทย นักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ มีเจตคติของนักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ต่อการเรียนรายวิชาภาษาไทย ในวงจรปฏิบัติที่ 1 อยู่ในระดับน้อย วงจรปฏิบัติที่ 2 อยู่ในปานกลาง และวงจรปฏิบัติที่ 3 อยู่ในระดับมาก สรุปได้ว่า การพัฒนาความสามารถการอ่านการเขียน ด้วยการจัดการเรียนรู้เฉพาะบุคคลร่วมกับชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านไก่นา อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ส่งผลให้ความสามารถด้านการอ่านและการเขียนสะกดคำ การใฝ่เรียนรู้และเจตคติของนักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ ในการเรียนรายวิชาภาษาไทย อยู่ในระดับดี เนื่องจากมีเนื้อหามาตราตัวสะกดที่เป็นเสริมสร้างพื้นฐานในการอ่านและการเขียนสะกดคำ และเลือกเนื้อหาใกล้ตัว เพื่อเชื่อมโยงประสบการณ์การเรียนรู้ที่ผ่านมาของผู้เรียน และมีโอกาสนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีการทบทวนวิธีการอ่านและการเขียน โดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ และเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในเรื่องราวต่าง ๆ ที่นักเรียนเคยพบเห็น ครูคอยแนะนำ และเปิดโอกาสให้ซักถามเมื่อพบคำศัพท์ที่ไม่ทราบความหมาย และอ่านตัวสะกดทุกคำ ไม่อ่านข้ามบรรทัด นักเรียนสามารถอ่านสะกดคำ และเขียนคำในมาตราตัวสะกดได้ถูกต้อง ตามแนวทางการแนวทางการจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา สอนให้เห็นรูป – สอนให้รู้จักเสียง – สอนให้เขียนรูป ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2058 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
63010582033.pdf | 7.93 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.