Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2063
Title: The development of problem-solving ability with learning management on the GPAS 5 Steps and Board Games of Computing science subject  for grade 1-3 students
การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง GPAS 5 Steps ร่วมกับบอร์ดเกม วิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3
Authors: Aphisith Sangram
อภิสิทธิ์ สางรัมย์
Sakorn Atthajakara
สาคร อัฒจักร
Mahasarakham University
Sakorn Atthajakara
สาคร อัฒจักร
sakorn.a@msu.ac.th
sakorn.a@msu.ac.th
Keywords: การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ความสามารถในการแก้ปัญหา
การจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง GPAS 5 Steps
บอร์ดเกม
Learning Achievement Development
Problem-Solving Ability
Learning Organization Plans the GPAS 5 Steps
Board Game
Issue Date:  30
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this research were to 1) develop a Learning Organization Plans using the GPAS 5 Steps approach with board games. Instructional Organization with efficiency at the 80/80 2) compare learning achievements 3) compare problem-solving abilities 4) study the Characteristics of curiosity 5) study the attitudes of the target group which consisted of 7 students at the 1st-3rd grade level in the first semester in academic year 2022 from BanSaLuad School, HuaiThalaeng District NakhonRatchasima Province under the NakhonRatchasima Primary Educational Service Area Office 2. Using Purposive Sampling. The research instruments were assessed with 1) Learning Organization Plans the GPAS 5 Steps with board games amount 9 plans per 2 hours, a total of 18 hours. 2) A multiple-choice 3 options, 30 items of learning achievement test. There are discriminating power ranging from 0.27–0.83 and the reliability value for the entire paper was 0.83. 3) Three-choice problem-solving ability test with 30 items, discriminating power ranged from 0.30–0.73, and the reliability value for the entire paper was 0.80. The concordance was 1.00. 5) The 20-item attitude test had a concordance index of 1.00. The results of these research findings revealed that; mean, percentage, standard deviation and statistics hypothesis Wilcox on Signed Ranks Test. The results revealed that : 1. Learning Organization Plans the GPAS 5 Steps with board games for students at the 1st-3rd grade level, the efficiency of the outcome process (E1/E2) was 83.97/88.09, which met the criterion set at 80/80. 2. Students learn with the Learning Organization Plans the GPAS 5 Steps with board games for students at the 1st-3rdgrade level, their learning achievements are higher than before learning with statistical significance at the level of .01. 3. The ability to solve problems by Learning Organization Plans the GPAS 5 Steps with board games for students at the 1st-3rdgrade level, before the experiment and after the experiment were different. The rating means of the students before and after the experiment showed that their post-experiment increased over their pre-experiment ability at the .01 level of statistical significance. 4. Students at the 1st-3rd grade level are eager to learn about Learning Organization Plans the GPAS 5 Steps with board games. The average of the students was in the group at the very good level. 5. Students at the 1st -3rd grade level had the attitude towards Learning Organization Plans GPAS 5 Steps with board games. After the experiment of the overall was very good level. In conclusion, the Learning Organization Plans the GPAS 5 Steps with board games. The efficiency and the effectiveness were suitable for developing students to have thinking skills, both knowledge and problem-solving. Therefore, teachers should be encouraged to use the Learning Organization Plans the GPAS 5 Steps with board games and to be applied to additional learning activities.
การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาแผนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง GPAS 5 Steps ร่วมกับบอร์ดเกม ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหา 4) ศึกษาการใฝ่เรียนรู้ 5) ศึกษาเจตคติ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนบ้านซ่าเลือด อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง GPAS 5 Steps ร่วมกับบอร์ดเกม จำนวน 9 แผน ๆ ละ 2 ชั่วโมง รวมทั้งหมด 18 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.27–0.83 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ 0.83 3) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาแบบปรนัย 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.30–0.73 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ 0.80 4) แบบวัดการใฝ่เรียนรู้ จำนวน 20 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 5) แบบวัดเจตคติ จำนวน 20 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเพื่อตรวจสอบสมมติฐาน Wilcoxon Signed Ranks Test ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง GPAS 5 Steps ร่วมกับบอร์ดเกม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ที่มีประสิทธิภาพของกระบวนการผลลัพธ์ (E1/E2) เท่ากับ 83.97/88.09 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ 2. นักเรียนที่เรียนโดยแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง GPAS 5 Steps ร่วมกับบอร์ดเกม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ความสามารถในการแก้ปัญหาด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง GPAS 5 Steps ร่วมกับบอร์ดเกม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ก่อนการทดลองและหลังการทดลองแตกต่างกัน โดยค่าเฉลี่ยหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 มีการใฝ่เรียนรู้การจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง GPAS 5 Steps ร่วมกับบอร์ดเกม หลังการทดลองโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก 5. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 มีเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง GPAS 5 Steps ร่วมกับบอร์ดเกม หลังการทดลองโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก โดยสรุปแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง GPAS 5 Steps ร่วมกับบอร์ดเกม มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมาะสำหรับการนำไปพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการคิดทั้งความรู้และการแก้ปัญหา จึงควรส่งเสริมให้ผู้สอนนำแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง GPAS 5 Steps ร่วมกับบอร์ดเกม ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่อไป
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2063
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010582051.pdf9.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.