Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2064
Title: The Factors Influencing Self-Development of Juvenile Delinquent of Juvenile and Family Court under the Administrative Office of the Court of Justice, Region 4
การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองของเด็กและเยาวชน ของศาลเยาวชนและครอบครัวในสังกัดสำนักศาลยุติธรรม ประจำภาค 4
Authors: Sirirat Wannakul
สิริรัตน์ วรรณกุล
Phamornpun Yurayat
ภมรพรรณ์ ยุระยาตร์
Mahasarakham University
Phamornpun Yurayat
ภมรพรรณ์ ยุระยาตร์
pacharaporn.y@msu.ac.th
pacharaporn.y@msu.ac.th
Keywords: ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเอง
เด็กและเยาวชน
ศาลเยาวชนและครอบครัว
สำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 4
The Factors Influencing Self-Development
Juvenile Delinquent
Juvenile and Family Court
Office of the Court of Justice Region 4
Issue Date:  19
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aimed: 1) to study the level of Self-Efficacy, Achievement Motivation, Self-Confidence, Self-Control, Optimism, and Self-Development; 2) to study investigates the relationship between Self-Efficacy, Achievement Motivation, Self-Confidence, Self-Control, Optimism, and Self-Development; and 3) to study the predictive factors for Self-Development of juvenile delinquent of Juvenile and Family Court under the Administrative Office of the Court of Justice, Region 4. The sample consisted in the study includes 420 juvenile delinquent who have committed criminal offenses and have been ordered to participate in the court’s juvenile justice processes and their families in the jurisdiction of the Juvenile and Family Court of Region 4 in the year 2021 and received special treatment instead of being prosecuted under Section 132, Paragraph 1; obtained using the stratified random sampling technique. The research instruments used consist of 1) A 16-item Self-Development assessment questionnaire with a reliability coefficient of 0.86, and 2) A 45-item Self-Development influencing factors questionnaire, divided into 5 areas: Self-Efficacy, Achievement Motivation, Self-Confidence, Self-Control, and Optimism, with a reliability coefficient ranging from 0.82 to 0.84. The statistical analysis techniques used to analyze the data include percentages, means, standard deviations, Pearson correlation analysis, and multiple regression analysis. The research found that: 1. The levels of Self-Efficacy, Achievement Motivation, Self-Confidence, Self-Control, Optimism, and Self-Development were all found to be high. 2. The correlation between Achievement Motivation, Self-Confidence, Self-Control, Optimism, Self-Efficacy, and Self-Development had significant positive statistical relationships with coefficients of 0.65, 0.64, 0.61, 0.56, and 0.54, respectively. All factors were found to have a significant positive correlation with Self-Development at a level of 0.1. 3. The factors that can predict Self-Development are Achievement Motivation, Self-Confidence, Self-Control, and Optimism, with coefficients of .21, .17, and .18. respectively. These variables all have a statistically significant positive impact on Self-Development at the 0.5 level. These factors can jointly explain the variance in Self-Development among juvenile delinquent of Juvenile and Family Court under the Administrative Office of the Court of Justice, Region 4.
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาระดับการรับรู้ความสามารถของตนเอง แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความเชื่อมั่นในตนเอง การควบคุมตนเอง การมองโลกในแง่ดี และการพัฒนาตนเอง 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเอง แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความเชื่อมั่นในตนเอง การควบคุมตนเอง การมองโลกในแง่ดีกับการพัฒนาตนเอง และ 3) ศึกษาตัวแปรพยากรณ์ของการพัฒนาตนเองของเด็กและเยาวชนของศาลเยาวชนและครอบครัวในสังกัดสำนักศาลยุติธรรม ประจำภาค 4 ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กและเยาวชนผู้กระทำความผิดทางอาญาที่ต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมของศาลเยาวชนและครอบครัวในสังกัดสำนักศาลยุติธรรม ประจำภาค 4 ประจำปี พ.ศ. 2564 ที่ได้รับมาตรการพิเศษแทนการพิพากษาคดีตามมาตรา 132 วรรค 1 จำนวน 420 คน โดยการสุ่มแบบชั้นภูมิและแต่ละชั้นภูมิสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย 1) แบบวัดการพัฒนาตนเอง จำนวน 16 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 2) แบบวัดปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเอง แบ่งเป็น 5 ด้าน ประกอบด้วย การรับรู้ความสามารถของตนเอง แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความเชื่อมั่นในตนเอง การควบคุมตนเอง และการมองโลกในแง่ดี จำนวน 45 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นตั้งแต่ 0.80 ถึง 0.84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ Pearson และการวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับของการรับรู้ความสามารถของตนเอง แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความเชื่อมั่นในตนเอง การควบคุมตนเอง การมองโลกในแง่ดี และการพัฒนาตนเอง พบว่า อยู่ในระดับมากทั้งหมด 2. ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความเชื่อมั่นในตนเอง การควบคุมตนเอง การมองโลกในแง่ดี และการรับรู้ความสามารถของตนเอง กับการพัฒนาตนเอง มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ 0.65, 0.64, 0.61, 0.56 และ 0.54 ตามลำดับ ทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการพัฒนาตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ปัจจัยที่สามารถพยากรณ์การพัฒนาตนเองได้ คือ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความเชื่อมั่นในตนเอง การควบคุมตนเอง และการมองโลกในแง่ดี มีขนาดน้ำหนักความสำคัญ .21, .17, .18, และ .18 ตามลำดับ ตัวแปรดังกล่าวล้วนมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการพัฒนาตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยปัจจัยนั้นสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการพัฒนาตนเองของเด็กและเยาวชนของศาลเยาวชนและครอบครัว ในสังกัดสำนักศาลยุติธรรม ประจำภาค 4 ได้ร้อยละ 54
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2064
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010587006.pdf5.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.