Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2067
Title: THE DEVELOPMENT OF TGT LEARNING TECHNIQUE WITH SEPAK TAKRAW PRACTICE SKILL SETS THAT PROMOTE SEPAK TAKRAW SKILLS OF MATTHAYOMSUKSA 3 STUDENTS
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับชุดฝึกทักษะปฏิบัติเพื่อส่งเสริมทักษะกีฬาเซปักตะกร้อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Authors: Paramin Intachumpa
ปรมินทร์ อินทจำปา
Yada Thadanatthaphak
ญดา ธาดาณัฐภักดิ์
Mahasarakham University
Yada Thadanatthaphak
ญดา ธาดาณัฐภักดิ์
thanarat.s@msu.ac.th
thanarat.s@msu.ac.th
Keywords: กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับชุดฝึกทักษะปฏิบัติ
ทักษะกีฬาเซปักตะกร้อ
cooperative learning management technique TGT with the Sepak Takraw skill sets
Sepak Takraw skills
Issue Date:  26
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this study were to: 1) develop the learning management by applying the cooperative learning management technique TGT with the Sepak Takraw skill sets that promote Sepak Takraw skills of matthayomsuksa 3 students to be effective according to the criterion of 80/80 2) to compare the Sepak Takraw skills of Mathayomsuksa 3 students by applying the cooperative learning management technique TGT with the Sepak Takraw skill sets against the 80 percent threshold 3) to study the satisfaction on learning management by applying the cooperative learning management technique TGT with the Sepak Takraw skill sets. The sample of this study were 40 mathayomsuksa 3 students Sarakhampittayakom School, Mueang Maha Sarakham in the second semester of the academic year 2022. The study instruments were: 1) learning management by applying the cooperative learning management technique TGT with the Sepak Takraw skill sets, 7 plans, 5 skill sets 2) Sepak Takraw Skills Assessments, 5 issues 3) satisfaction survey. The statistics which were used to analyze the data were percentage, average, and standard deviation. The study results were found as follows;           1. The learning management by applying the cooperative learning management technique TGT with the Sepak Takraw skill sets has an efficiency of 81.58/84.4 which met the criterion of 80/80.           2. The development of Sepak Takraw skills of mathayomsuksa 3 students studying with the cooperative learning management technique TGT with the Sepak Takraw skill sets during the course, the mean score was 40.05, which equaled 80.1 percent and the post-test mean score was 42.40, which equaled 84.4, meaning that the learning management of the cooperative learning management technique TGT with the Sepak Takraw skill sets practice Sepak Takraw skills of students were higher and met the criteria of 80 percent.           3. Overall satisfaction, at most levels among students with the cooperative learning management technique TGT with the Sepak Takraw skill sets.
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับชุดฝึกทักษะปฏิบัติเพื่อส่งเสริมทักษะกีฬาเซปักตะกร้อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เปรียบเทียบทักษะกีฬาเซปักตะกร้อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการประยุกต์การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับชุดฝึกทักษะกีฬาเซปักตะกร้อ เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 80 (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับชุดฝึกทักษะปฏิบัติเพื่อส่งเสริมทักษะกีฬาเซปักตะกร้อ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสารคามพิทยาคม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับชุดฝึกทักษะกีฬาเซปักตะกร้อ จำนวน 7 แผนการจัดการเรียนรู้ และ 5 ชุดฝึกทักษะปฏิบัติ (2) แบบทดสอบวัดทักษะปฏิบัติกีฬาเซปักตะกร้อ จำนวน 5 แบบทดสอบ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจ ชนิดมาตราส่วน 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ วิเคราะห์หาข้อมูลโดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า           1. กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับชุดฝึกทักษะปฏิบัติเพื่อส่งเสริมทักษะกีฬาเซปักตะกร้อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.58/84.4 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้           2. ทักษะปฏิบัติกีฬาเซปักตะกร้อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับชุดฝึกทักษะปฏิบัติ มีคะแนนเฉลี่ยระหว่างเรียนเท่ากับ 40.05 คิดเป็นร้อยละ 80.1 และคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบวัดทักษะกีฬาเซปักตะกร้อเท่ากับ 42.40 คิดเป็นร้อยละ 84.4 หมายความว่า กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับชุดฝึกทักษะปฏิบัติ ส่งผลให้ทักษะปฏิบัติกีฬาเซปักตะกร้อของนักเรียนสูงขึ้นและเป็นไปตามเกณฑ์ร้อยละ 80           3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับชุดฝึกทักษะปฏิบัติเพื่อส่งเสริมทักษะกีฬาเซปักตะกร้อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2067
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64010552010.pdf2.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.