Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2072
Title: Development of Chemistry Problem-Solving Ability focused on Stoichiometry of Mathayomsuksa 4 Students with Deductive Learning Method Coordinate with FOPS Learning Strategy
การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางเคมี เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบนิรนัยร่วมกับกลวิธีเอฟโอพีเอส
Authors: Monthira Prasoetthai
มณธิรา ประเสริฐไทย
Kanyarat Cojorn
กัญญารัตน์ โคจร
Mahasarakham University
Kanyarat Cojorn
กัญญารัตน์ โคจร
kanyarat.c@msu.ac.th
kanyarat.c@msu.ac.th
Keywords: ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางเคมี
การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย
กลวิธีเอฟโอพีเอส
Chemistry Problem-Solving Ability
Deductive Learning Method
FOPS Strategy
Issue Date:  14
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research was classroom action research which consist of 3 spirals. The aim of this research was to develop chemistry problem-solving ability focused on the stoichiometry of Mathayomsuksa 4 students to pass the criteria of 70 percent by using a deductive learning method coordinate with FOPS learning strategy. The target group was 29 students in Mathayomsuksa 4/4 from Yang Talat Wittayakhan School. The research instruments included 1) 9 lesson plans of deductive learning method that coordinate with the FOPS strategy, 2) the tests for measuring the ability to solve chemical problems on stoichiometry. They are 3 sets of subjective forms with 6 items in each, 3) student interview forms, and 4) observation forms on students’ problem-solving behaviors. The percentage, mean, and standard deviation were used for analyzing data. The results showed that out of 29 students, there was an increase of students who passed the criteria of 70 percent. After the learning process, in the first spiral, 11 students passed the criteria of 70 percent (37.93%). In the second spiral, 24 students passed the criteria of 70 percent (82.76%). In the third spiral, 29 students passed the criteria of 70 percent (100.00%). In conclusion, the target group developed chemistry problem-solving ability effectively from the deductive learning method coordinate with FOPS learning strategy.
งานวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการซึ่งทำทั้งหมด 3 วงรอบปฏิบัติการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางเคมี เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบนิรนัยร่วมกับกลวิธีเอฟโอพีเอส ให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม กลุ่มเป้าหมาย คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4 จำนวน 29 คน โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบนิรนัยร่วมกับกลวิธีเอฟโอพีเอส จำนวน 9 แผน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางเคมี เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ เป็นแบบอัตนัยจำนวน 3 ชุดชุดละ 6 ข้อ 3) แบบสัมภาษณ์นักเรียน และ 4) แบบสังเกตพฤติกรรมการแก้โจทย์ปัญหาของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าจากนักเรียนจำนวนทั้งหมด 29 คน นักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 มีจำนวนเพิ่มขึ้นดังนี้ ในวงรอบปฏิบัติการที่ 1 มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มจำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 37.93 วงรอบปฏิบัติการที่ 2 มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มจำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 82.76 และในวงรอบปฏิบัติการที่ 3 มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มจำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 100.00 โดยสรุปกลุ่มเป้าหมายได้รับการพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเคมีอย่างมีประสิทธิภาพ จากการจัดการเรียนรู้แบบนิรนัยร่วมกับกลวิธีเอฟโอพีเอส
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2072
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64010554017.pdf5.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.