Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2075
Title: The Development Guidelines Learning Processes of Teachers using Participative Management Principles for School Expands Educational Opportunities Under the Sisaket Primary Education Area Office 2
แนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของครูโดยใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมสำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2
Authors: Chulaporn Padta
จุฬาพร ปัดถา
Suttipong Hoksuwan
สุทธิพงศ์ หกสุวรรณ
Mahasarakham University
Suttipong Hoksuwan
สุทธิพงศ์ หกสุวรรณ
suttipong.h@msu.ac.th
suttipong.h@msu.ac.th
Keywords: การพัฒนา
กระบวนการเรียนรู้โดยใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม
โรงเรียนขยายโอกาส
Development
Learning process using principles of participatory management
Opportunity expansion school
Issue Date:  19
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aims to 1) to study current conditions desirable conditions and guidelines Development of learning process development by using participatory management principles for schools expanding educational opportunities under the Office of Sisaket Primary Educational Service Area Office 2  2) To develop a guideline for developing learning processes by using participatory management principles for schools expanding educational opportunities under the Office of Sisaket Primary Educational Service Area 2 The research is divided into 2 phases as follows Phase 1: Study of current conditions desirable condition and needs of learning process development guidelines using participatory management principles for schools expanding educational opportunities under the Office of Sisaket Primary Educational Service Area 2 The sample group used in the research was the director of the educational institute. Academic Supervisor, Teacher, President of School Board Of schools expanding opportunities under the office of Sisaket Primary Educational Service Area 2 in the amount of 39 places Consists of the Director of the Expanded School of Opportunity, 39 people, the Deputy Director of Academic Administration or the Head of Academic Administration of the Expanded School, 39 people, the Teacher of the Expanded School, 624 people, the President of the School Board, 39 people, in total. 741 people By using a hierarchical random sampling method (Startified sampling), the tools used in the research were: A 5-point estimation scale questionnaire Phase 2: Guidelines for developing learning process development by using participatory management principles for schools expanding educational opportunities under the Office of Sisaket Primary Educational Service Area Office 2. The groups who provided information in the guideline study were: Director of schools with best practices, 3 people, head of academic administration 3 teachers, 3 teachers, a total of 9 people, obtained by purposive sampling. The research tools were interview forms, appropriateness and feasibility assessment forms of the approaches. Statistics used in data analysis were percentage, mean and standard deviation. The research results are as follows: The current state of the guideline for developing teachers' learning process using participatory management principles for schools expanding educational opportunities under the Office of Sisaket Primary Educational Service Area Office 2 in general was at a high level. The desirable condition of the teacher learning process development guideline using participatory management principles for schools expanding educational opportunities under the Office of Sisaket Primary Educational Service Area Office 2, overall, each component was at the highest level  necessity the overall needs of teachers' learning process development guidelines using the participatory management principle of the schools expanding educational opportunities under the Office of Sisaket Primary Educational Service Area Office 2 were 0.073, ranked in order of need from most to necessary. less as follows: No. 1 Learning Management the second measure and evaluation ,4th in curriculum analysis Guidelines for the development of the learning process of teachers using the principle of participatory management of schools expanding educational opportunities under the Office of Sisaket Primary Educational Service Area Office 2 There were a total of 4 components, 22 approaches. The results of the evaluation of the approaches for developing the teacher's learning process using the participatory management principle of schools expanding educational opportunities under the Office of Sisaket Primary Educational Service Area 2 found that by combining each component of the approaches. There is suitability and possibility in most level.
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และแนวทางการพัฒนาการพัฒนากระบวนการเรียนรู้โดยใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมสำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษเขต 2 และ 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้โดยใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมสำหรับโรงโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษเขต 2 โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน  สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น ของแนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้โดยใช้หลักบริหารแบบมีส่วนร่วมสำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษเขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา  หัวหน้างานวิชาการ ครูผู้สอน  ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา ของโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษเขต 2 จำนวน  39 แห่ง รวมจำนวนทั้งสิ้น 741 คน โดยการใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Startified sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และ ระยะที่ 2 แนวทางการพัฒนาการพัฒนากระบวนการเรียนรู้โดยใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมสำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษเขต 2  กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาแนวทางได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ จำนวน 3 คน  หัวหน้าฝ่ายบริหารวิชาการ 3 คน ครูผู้สอน จำนวน 3 คน รวมทั้งสิ้น  9 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทาง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลวิจัยปรากฏดังนี้ สภาพปัจจุบันของแนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของครูโดยใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมสำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก   สภาพปัจจุบันของแนวทางพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของครูโดยใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมสำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษเขต 2 พบว่า โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละองค์ประกอบพบว่า ด้านการวิเคราะห์หลักสูตร ด้านการวางแผนการจัดการเรียนรู้ ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการวัดและประเมินผล อยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของแนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของครูโดยใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมสำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษเขต 2 โดยรวมแต่ละองค์ประกอบอยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็น ความต้องการจำเป็นของแนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของครูโดยใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษเขต 2 โดยรวมเท่ากับ 0.073 เรียงลำดับตามความต้องการจำเป็นจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ลำดับที่ 1 ด้านการจัดการเรียนรู้ ลำดับที่ 2 ด้านการวัดและประเมินผล ลำดับที่ 3 ด้านการวางแผนการจัดการเรียนรู้  ลำดับที่ 4 ด้านการวิเคราะห์หลักสูตร แนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของครูโดยใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษเขต 2 มีทั้งสิ้น 4 องค์ประกอบ 22 แนวทาง ผลการประเมินแนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของครูโดยใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 พบว่าโดยรวมแต่ละองค์ประกอบของแนวทางมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ใน ระดับมากที่สุด
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2075
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64010581009.pdf4.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.