Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2080
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorTidarut Huttamaen
dc.contributorธิดารัตน์ หัตถมาth
dc.contributor.advisorSuwat Junsuwanen
dc.contributor.advisorสุวัฒน์ จุลสุวรรณ์th
dc.contributor.otherMahasarakham Universityen
dc.date.accessioned2023-09-07T11:13:17Z-
dc.date.available2023-09-07T11:13:17Z-
dc.date.created2023
dc.date.issued27/4/2023
dc.identifier.urihttp://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2080-
dc.description.abstractThis research aimed at 1) study the current, desirable condition and need for supervision within educational institutions using the concept of a professional learning community in educational institutions under the Surin Primary Educational Service Area Office 2 and 2) design, create and evaluate supervision guidelines within educational institutions using the concept of professional learning communities in schools under the Surin Primary Educational Service Area Office 2. The research was divided into 2 phases: phase 1: study of current conditions; desirable condition and needs of supervision within educational institutions The sample group consisted of 335 school administrators and teachers. The instrument used for data collection was a questionnaire with an index of consistency (IOC) equal to 1.00. The discriminant power of each question was between 0.56-0.76 and there were Confidence is equal to 0.97 Statistics used in data analysis were mean, standard deviation. and the necessary needs index. Phase 2: Designing, constructing and evaluating guidelines for supervision within educational institutions using the concept of professional learning communities. The group of informants consisted of 5 experts assessing the guidelines. Statistics used in data analysis were mean and standard deviation. The results showed that : 1. Current state of supervision within educational institutions under the Surin Primary Educational Service Area Office 2 overall was at a high level. When considering each aspect, it was found that they were at a high level in all aspects. The aspect with the highest average was the follow-up aspect, followed by the strategic supervision planning aspect. And the side with the least average value was the dissemination and expansion side for desirable conditions of supervision within educational institutions Under the Office of Surin Primary Educational Service Area 2 overall was at the highest level. When considering each aspect, it was found that most were at the highest level. The aspect with the highest average was the follow-up aspect, followed by the strategic supervision planning aspect. And the side with the least average value was the dissemination and expansion side. And order of needs for supervision development within educational institutions Under the Office of Surin Primary Educational Service Area 2 found that the dissemination and expansion of results. The most necessary needs are followed by information and information. And the aspect that is least needed is the tracking aspect. 2. Guidelines for the Development of supervision within educational institutions using the concept of professional learning communities. Under Surin Primary Educational Service Area Office 2 consists of 5 components: 1) Principles 2) Objectives 3) Development Guidelines 5 aspects consisting of 3.1) Data and information 8 indicators 3.2) Supervision planning 3.3) Management focusing on teacher and student development, 11 indicators, 3.4) Follow-up, 6 indicators, and 3.5) Dissemination and expansion, 5 indicators 4) Implementation mechanism tasks, and 5) success conditions. According to the results of the evaluation of the expert's guidelines, it was found that the overall picture was appropriate. at the highest level and there is a possibility at a high level.en
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็นของการนิเทศภายในสถานศึกษาโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 และ 2) ออกแบบ สร้างและประเมินแนวทางการนิเทศภายในสถานศึกษาโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 โดยดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการนิเทศภายในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 335 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 ค่าอำนาจจำแนกของข้อคำถามแต่ละข้ออยู่ระหว่าง 0.56-0.76 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 การออกแบบ สร้างและประเมินแนวทางการนิเทศภายในสถานศึกษาโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินแนวทาง จำนวน 5 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการติดตาม รองลงมาคือ ด้านการวางแผนนิเทศอย่างมียุทธศาสตร์ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการเผยแพร่และขยายผล สำหรับสภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการติดตาม รองลงมาคือ ด้านการวางแผนนิเทศอย่างมียุทธศาสตร์ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการเผยแพร่และขยายผล และลำดับความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 พบว่า ด้านการเผยแพร่และขยายผล มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านข้อมูลและสารสนเทศ และด้านที่มีความต้องการจำเป็นน้อยที่สุด คือ ด้านการติดตาม 2. แนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในสถานศึกษาโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย 3) แนวทางการพัฒนา จำนวน 5 ด้าน ประกอบด้วย 3.1) ด้านข้อมูลและสารสนเทศ จำนวน 8 แนวทาง 3.2) ด้านการวางแผนนิเทศอย่างมียุทธศาสตร์ จำนวน 7 แนวทาง 3.3) ด้านการจัดการที่เน้นพัฒนาครูและนักเรียน จำนวน 11 แนวทาง 3.4) ด้านการติดตาม จำนวน 6 แนวทาง และ 3.5) ด้านการเผยแพร่และขยายผล จำนวน 5 แนวทาง 4) กลไกการดำเนินงาน และ 5) เงื่อนไขความสำเร็จ โดยผลการประเมินแนวทางของผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากth
dc.language.isoth
dc.publisherMahasarakham University
dc.rightsMahasarakham University
dc.subjectนิเทศth
dc.subjectชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพth
dc.subjectSupervisionen
dc.subjectProfessional Learning Communitiesen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.subject.classificationEducationen
dc.titleGuidelines for the Development of Supervision within Educational Institutions using the Concept of a Professional Learning Community in Educational Institutions under the Surin Primary Educational Service Area Office 2en
dc.titleแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในสถานศึกษาโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ ทางวิชาชีพ ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุรินทร์ เขต 2th
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
dc.contributor.coadvisorSuwat Junsuwanen
dc.contributor.coadvisorสุวัฒน์ จุลสุวรรณ์th
dc.contributor.emailadvisorsuwat.j@msu.ac.th
dc.contributor.emailcoadvisorsuwat.j@msu.ac.th
dc.description.degreenameMaster of Education (M.Ed.)en
dc.description.degreenameการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)th
dc.description.degreelevelMaster's Degreeen
dc.description.degreelevelปริญญาโทth
dc.description.degreedisciplineEducational Administrationen
dc.description.degreedisciplineภาควิชาการบริหารการศึกษาth
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64010581018.pdf4.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.