Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/209
Title: The Relationship Between Job Competency and Work Achievement of Academic Supporting Staff of Nakhonratchasima Rajabhat University
ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะประจำตำแหน่งกับผลสัมฤทธิ์ในการทำงานของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา สายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
Authors: Sutthinee Rattananen
ศุทธินี รัตนเนนย์
Jindarat Peemanee
จินดารัตน์ ปีมณี
Mahasarakham University. Mahasarakham Business School
Keywords: สมรรถนะประจำตำแหน่ง
ผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน
พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาสายสนับสนุน
job competencies
achievement of works
academic supporting staff
Issue Date:  5
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Human Resources is an important resource for bringing organizations into the vision, goal, mission which set by the organization. It is absolutely necessary to organizations that should have human resources, who are knowledgeable, capable, and effective in their work. Therefore, the researcher is interested to study the relationship between job competency and work achievement of academic supporting staffs of Nakhon Ratchasima Rajabhat University, using a questionnaire as an instrument for collecting data from 218 academic supporting staffs of Nakhon Ratchasima Rajabhat University. Collected data were statistics analyzed by t-test (ANOVA and MANOVA), multiple correction analysis, and multiple regression analysis. The finding revealed that the academic supporting staffs agreed with having job competency as a whole and each of the following aspects at high level : caring and developing other, proactiveness, flexibility, and Influential Communication. The academic supporting staffs agreed with have work achievement as a whole and in each of the following aspects at a high level : productive quantity resource, productive quality resource, in time, and value of resource. The academic supporting staffs with different sex agreed different with having job competency in the aspect of proactiveness. The academic supporting staffs with different age agreed different with having job competency as a whole. The academic supporting staffs with different education different with having job competency as a whole and in the aspect of flexibility. Moreover, academic supporting staffs with different salary agreed different with having job competency as a whole and in the aspect of proactiveness, and flexibility. The academic supporting staffs with different sex agreed different with having work achievement as a whole and in the aspect of productive quantity resource, and value of resource. The academic supporting staffs with different education different with having work achievement as a whole and in the aspect of value of resource. Moreover, academic supporting staffs with different salary agreed different with having work achievement as a whole. According to analyses of the data in terms of relationship and effects, the followings were found : (1) job competency in the aspect of caring and developing other had positive relationship with and effects on work achievement in aspect of value of resource. (2) job competency in the aspect of proactiveness had positive relationship with and effects on work achievement as a whole and in the aspect of productive quantity resource, productive quality resource, and in time. (3) job competency in the aspect of flexibility had positive relationship with and effects on work achievement as a whole and in the aspect of productive quantity resource, productive quality resource, and value of resource. And (4) job competency in the aspect of Influential Communication had positive relationship with and effects on work achievement as a whole and in the aspect of productive quantity resource, and productive quality resource. In conclusion, the job competency had positive relationship with and effects on work achievement. In this way academic supporting staff should focus on job competency to create knowledge, skill, ability, and behavioral characteristics to the position and promote their working in the position for efficiency and effectiveness.
ทรัพยากรบุคคลเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญในการนำพาองค์กรไปสู่วิสัยทัศน์ เป้าหมาย พันธกิจที่องค์กรตั้งไว้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรจะต้องมีทรัพยากรที่มีความรู้ ทักษะ ความสามารถ และการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะประจำตำแหน่งกับผลสัมฤทธิ์ในการทำงานของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา สายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา สายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จำนวน 218 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ t-test, F-test (ANOVA และ MANOVA) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ การวิเคราะห์ความถดถอยอย่างง่าย และการวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา สายสนับสนุน มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีสมรรถนะประจำตำแหน่ง โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการดำเนินงานเชิงรุก ด้านการยืดหยุ่นผ่อนปรน ด้านการใส่ใจและพัฒนาผู้อื่น และด้านศิลปะการสื่อสารจูงใจ และพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา สายสนับสนุน มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากร ด้านความรวดเร็ว ด้านปริมาณผลงาน และด้านคุณภาพผลงาน พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา สายสนับสนุน ที่มีเพศแตกต่างกัน มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีสมรรถนะประจำตำแหน่ง ด้านการดำเนินงานเชิงรุกแตกต่างกัน พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา สายสนับสนุน ที่มีอายุแตกต่างกัน มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีสมรรถนะประจำตำแหน่ง โดยรวมแตกต่างกัน พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา สายสนับสนุน ที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกันมีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีสมรรถนะประจำตำแหน่ง โดยรวม และด้านการยืดหยุ่นผ่อนปรนแตกต่างกัน พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา สายสนับสนุน ที่มีรายได้ต่อเดือนในปัจจุบันแตกต่างกัน มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีสมรรถนะประจำตำแหน่ง โดยรวม ด้านการดำเนินงานเชิงรุก และด้านการยืดหยุ่นผ่อนปรนแตกต่างกัน พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา สายสนับสนุน ที่มีเพศแตกต่างกัน มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน โดยรวม ด้านปริมาณผลงาน และด้านความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากรแตกต่างกัน พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา สายสนับสนุน ที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน โดยรวม และด้านความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากรแตกต่างกัน พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา สายสนับสนุน ที่มีรายได้ต่อเดือนในปัจจุบันแตกต่างกัน มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน โดยรวมแตกต่างกัน จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์และผลกระทบ พบว่า 1) สมรรถนะประจำตำแหน่งด้านการใส่ใจและพัฒนาผู้อื่น มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน ด้านความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากร 2) สมรรถนะประจำตำแหน่ง ด้านการดำเนินงานเชิงรุก มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน โดยรวม ด้านปริมาณผลงาน ด้านคุณภาพผลงาน และด้านความรวดเร็ว 3) สมรรถนะประจำตำแหน่ง ด้านการยืดหยุ่นผ่อนปรน มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน โดยรวม ด้านปริมาณผลงาน ด้านคุณภาพผลงาน และด้านความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากร และ 4) สมรรถนะประจำตำแหน่ง ด้านศิลปะการสื่อสารจูงใจ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน โดยรวม ด้านปริมาณผลงาน และด้านคุณภาพผลงาน โดยสรุป สมรรนะประจำตำแหน่งมีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกต่อผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน ดังนั้น พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา สายสนับสนุน จึงควรให้ความสำคัญกับการมีสมรรถนะประจำตำแหน่งซึ่งเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความรู้ ทักษะ ความสามารถ และคุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ และส่งเสริมให้สามารถปฏิบัติงานในตำแหน่งงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลในการทำงาน
Description: Master of Management (M.M.)
การจัดการมหาบัณฑิต (กจ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/209
Appears in Collections:Mahasarakham Business School

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57010986010.pdf1.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.