Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2094
Title: | Guidelines the mitigating the learning losses of small size schools under The Kalasin Primary Educational Service Area Office 2 แนวทางการลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 |
Authors: | Waranya Prapan วรัญญา ประพันธ์ Pacharawit Chansirisira พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร Mahasarakham University Pacharawit Chansirisira พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร wittaya.c@msu.ac.th wittaya.c@msu.ac.th |
Keywords: | แนวทางการลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ โรงเรียนขนาดเล็ก Guidelines the mitigating the learning losses small size schools |
Issue Date: | 25 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | This research aimed to 1) study current conditions, desirable conditions, and the needs assessment of mitigation of the learning losses of small-size schools under the Kalasin Primary Educational Service Area Office 2. 2) study guidelines for mitigating the learning losses of small-size schools under the Kalasin Primary Educational Service Area Office 2 by using mixed methods. The research method was divided into 2 phases: Phase 1 was to study current conditions, desirable conditions, and the needs assessment of mitigation of the learning losses of small-size schools under the Kalasin Primary Educational Service Area Office 2. The samples were 175 school administrators, teachers, and Basic Education School Board Committee under the Kalasin Primary Educational Service Area Office 2 selected through stratified random sampling. The research instrument was a scaling questionnaire. Phase 2 was to study guidelines for mitigating the learning losses of small-size schools under the Kalasin Primary Educational Service Area Office 2 evaluating the guidelines by 5 experts selected through the purposive sampling technique. The research instruments were an interview form and an evaluation form on the suitability and feasibility of the guidelines for mitigating the learning losses of learners. Data were analyzed by using mean, standard deviation, and modified priority index.
The results showed that;
1. The current conditions of mitigation of the learning losses of learners under the Kalasin Primary Educational Service Area Office 2 in 4 areas overall were at the moderate level. The highest average aspect was participatory construction in learning management. The desirable conditions of mitigation of the learning losses of small-size schools under the Kalasin Primary Educational Service Area Office 2 overall were at a high level. The highest average aspect was the design of the learning management process and the new teaching model. The needs assessment of mitigation of the learning losses of small-size schools under the Kalasin Primary Educational Service Area Office 2 were ordered from most to least; the design of the learning management process and new teaching model, promotion and development of teacher learning management, promotion of technological media usage to improve educational quality in schools, and participatory construction in learning management.
2. Guidelines for mitigating the learning losses of small-size schools under the Kalasin Primary Educational Service Area Office 2 consisted of 4 components and 26 guidelines: 8 guidelines for participatory construction in learning management, 6 guidelines for the promotion of technological media usage to improve educational quality in schools, 6 guidelines for the design of the learning management process and new teaching model, and overall guidelines for mitigating the learning losses were at the most suitable level. The usage possibility for developing guidelines for mitigation of the learning losses of small-size schools under the Kalasin Primary Educational Service Area Office 2 was at the highest level. การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 2) ศึกษาแนวทางการลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัยแบบผสมผสาน แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร ครู และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 จำนวน 175 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วน ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 และประเมินแนวทางโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียน สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 โดยรวม 4 ด้านอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้และรูปแบบการสอนใหม่ และความต้องการจำเป็นในการลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้และรูปแบบการสอนใหม่ การส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครู การส่งเสริมการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน การสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ 2. แนวการลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 มีองค์ประกอบ 4 ด้าน มีแนวทาง 26 แนวทาง ได้แก่ ด้านการสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ มี 8 แนวทาง ด้านการส่งเสริมการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน มี 6 แนวทาง ด้านการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครู มี 6 แนวทาง และด้านการออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้และรูปแบบการสอนใหม่ มี 6 แนวทาง โดยแนวทางการลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้โดยรวมมีความเหมาะสมระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้ในการนำไปใช้เพื่อพัฒนาแนวทางการลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ระดับมากที่สุด |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2094 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
64010581048.pdf | 6.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.