Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2112
Title: Developing a Program to Strengthen Collective Leadership of School Administrators under The Secondary Educational Service Area Office Mahasarakham
การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม
Authors: Natnicha Tesaputr
ณัฐณิชา เทศบุตร
Thatchai Chittranun
ธัชชัย จิตรนันท์
Mahasarakham University
Thatchai Chittranun
ธัชชัย จิตรนันท์
thatchai.c@msu.ac.th
thatchai.c@msu.ac.th
Keywords: โปรแกรม
ภาวะผู้นำร่วม
ผู้บริหารศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม
Program
Collective leadership
School administrator
Secondary educational service area office Mahasarakham
Issue Date:  1
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aimed: 1) to explore existing situations, desirable situations, and needs to develop the collective leadership of school administrators under the secondary educational service area office Mahasarakham; and 2) to develop the program to strengthen collective leadership of school administrators under the secondary educational service area office Mahasarakham. Mixed methods research was employed. The research divided into two phases: The 1st phase was exploring the existing situations, desirable situations, and needs to develop the collective leadership of school administrators. Data were collected from 316 samples, consists of secondary school administrators and teachers under the secondary educational service area office Mahasarakham through stratified random sampling technique; and the 2nd phase was developing a program to strengthen collective leadership of school administrators. The program was evaluated to find propriety and feasibility by 5 experts. The research instruments were existing and desirable situations questionnaire, interview form, and the program evaluation form. Statistics used in analyzing data were mean, standard deviation, and modified priority needs index. The research results were as follows: 1. The existing situations of collective leadership of school administrators in overall was at a high level, when each aspect was considered, it was found that there were 2 aspects at a high level, that is build a strong team, and develop the individual; and 3 aspects were at moderate level, that is share vision; make the change, and wholeness.  While the desirable situations in overall was at the highest level and each aspect was at the highest level as well.  Priority needs to develop from high to low were make the change, share vision, wholeness, build a strong team, and develop the individual respectively. 2. The program to strengthen collective leadership of school administrators under the secondary educational service area office Mahasarakham consists of 5 parts: 1) rationale; 2) objectives; 3) content consists of 5 modules, that is Module 1 share vision, Module 2 build a strong team, Module 3 make the change, Module 4 develop the individual, and Module 5 wholeness; 4) methods and development activities comprising three steps; Step 1 develop awareness by outstanding of collective leadership school administrator, and school visit; Step 2 develop knowledge by self-learning and training; Step 3 develop through on the job learning by sharing experiences, creating professional learning community, and mentoring: and 5) assessment including knowledge evaluation by pre-test and post-test, pre-assessment, during and post assessment of collective leadership.
การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม และ 2) พัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยมีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร และครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม จำนวน 316 คน โดยใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) และระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา และประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินโปรแกรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันภาวะผู้นำร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก 2 ด้าน ได้แก่ การสร้างทีมที่เข้มแข็ง และการพัฒนาปัจเจกบุคคล และอยู่ในระดับปานกลาง 3 ด้าน ได้แก่ การกำหนดวิสัยทัศน์ร่วม การสร้างการเปลี่ยนแปลง และการมององค์รวม ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา เรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ดังนี้คือ การสร้างการเปลี่ยนแปลง การกำหนดวิสัยทัศน์ร่วม การมององค์รวม การสร้างทีมที่เข้มแข็ง และการพัฒนาปัจเจกบุคคล ตามลำดับ 2. โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา ประกอบด้วย 5 หน่วยการเรียนรู้ (Module) ได้แก่ Module 1 การกำหนดวิสัยทัศน์ร่วม; Module 2 การสร้างทีมที่เข้มแข็ง; Module 3 การสร้างการเปลี่ยนแปลง; Module 4 การพัฒนาปัจเจกบุคคล; และ Module 5 การมององค์รวม 4) วิธีการและกิจกรรมการพัฒนา ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนคือ ขั้นที่ 1 การสร้างความตระหนัก โดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้บริหารที่โดดเด่นด้านภาวะผู้นำร่วม และการศึกษาดูงาน ขั้นที่ 2 การพัฒนาความรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำร่วม โดยการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-learning) การฝึกอบรม (Training) ขั้นที่ 3 การพัฒนาโดยการเรียนรู้ควบคู่ไปกับการปฏิบัติในสถานศึกษา (On the Job Learning) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และการเป็นพี่เลี้ยง 5) การประเมินผล ประกอบด้วย การประเมินความรู้ก่อนและหลังการฝึกอบรม และการประเมินภาวะผู้นำร่วมก่อนการพัฒนา (Pre-assessment) การประเมินระหว่างการพัฒนา และหลังการพัฒนา (Post-assessment)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2112
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64010583004.pdf5.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.