Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2113
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Jaroonlak Kamruan | en |
dc.contributor | จรูญลักษณ์ คำเรือน | th |
dc.contributor.advisor | Apantee Poonputta | en |
dc.contributor.advisor | อพันตรี พูลพุทธา | th |
dc.contributor.other | Mahasarakham University | en |
dc.date.accessioned | 2023-09-07T11:13:24Z | - |
dc.date.available | 2023-09-07T11:13:24Z | - |
dc.date.created | 2023 | |
dc.date.issued | 16/6/2023 | |
dc.identifier.uri | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2113 | - |
dc.description.abstract | The objectives of this research were 1. develop a measure and to find the quality of scientific modelling skills test 2. Creating Normal Standards for Measuring Scores of Scientific Modeling Skills Bueng Kan Elementary School Education Service Area Office Grade 6. The sample used in the research They were 370 students from 29 schools in the 2nd semester of the 2nd semester of the 2022 academic year. The sample size was determined from Taroyamane's finished table. At a confidence level of 95%, obtained by multi-stage random sampling. The scientific modeling skill measure created by the researcher is a multiple-choice test with 4 options, totaling 40. 21 items, a correct-false multiple-choice test, paired with fill-in words, and a subjective test, 17 items. The entire test using the Kuder-Richardson method (KR-20). The statistics used for the analysis of subjective tests were the formulas of D.R. Whitney and D.L Sabers (D.R. Whitney and D.L. Sabers). Finding the alpha coefficient According to Cronbach's method (α-Coefficient) and analysis using RTAP package, statistics used to establish normality were to find percentile value (Percentile Rank) and converted to normal T score. The research findings were as follows: 1. The test for measuring scientific modeling skills Grade 6 is a multiple-choice type with 4 options, a total of 30 items, a multiple-choice type of true-false type, a total of 21 items, a subjective type, a total of 17 items, consisting of content and indicators for modeling skills. 5 Sciences: Digestive System Simple electrical circuits, stone cycles, fossils, penumbral shadows. 2. The quality of the scientific modeling skills test. Grade 6 were as follows: The consistency index between the questions and the contents and indicators ranged from 0.80 to 1.00. The multiple choice test had the difficulty (p) ranged from 0.21-0.79, the discriminating power (r). from 0.14-0.84, the confidence value for the whole text is 0.83, multiple-choice type, correct-false type, matching, adding words, with the difficulty value (p) ranging from 0.44-0.92, the discriminating power (r) from 0.12-1.00, the confidence value for the whole text being 0.83 The scoring criterion was given 1, wrong was given 0. The subjective model had the difficulty (p) ranging from 0.37-0.78, the discriminating power (r) ranging from 0.19-0.73, and the confidence for the whole paper was 0.91 using the rubbing scoring criterion. Scoring Rubric 4 levels are 0, 1, 2, 3. 3. The normal criteria of the Scientific Modeling Skills Scale. Grade 6 values ranged from a normal range of T20 to T78, indicating that the level of scientific modeling skills. Grade 6 level should be improved to a very high level. Divided according to the creation of normal criteria (Norm), multiple choice, answer type The normals were in the range of T24 to T80. The multiple-choice true-false type matched and filled in. The normals were in the range of T24 to T72. The subjective normals were in the range of T20 to T80. Grade 6 level should be improved to a very high level. | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1. เพื่อพัฒนาแบบวัดและหาคุณภาพแบบวัดทักษะการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2. เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติของคะแนนแบบวัดทักษะการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จาก 28 โรงเรียน จำนวน 615 คน ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูปของทาโรยามาเน ที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 95% ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้น (Multi-stage Random Sampling) แบบวัดทักษะการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ แบบทดสอบปรนัยชนิดถูก-ผิด จับคู่ เติมคำ จำนวน 21 ข้อ และข้อสอบอัตนัย จำนวน 17 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์แบบทดสอบปรนัย คือ หาค่าความยาก หาค่าอำนาจจำแนก โดยใช้เทคนิค 27% หาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับโดยใช้วิธีของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน (Kuder-Richardson : KR-20) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์แบบทดสอบอัตนัยใช้สูตรของ ดี อาร์ไวทนีย์ และดีแอล ซาเบอร์ส (D.R. Whitney and D.L. Sabers) หาค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ โดยหาสัมประสิทธิ์แอลฟาตามวิธีของครอนบัค (α-Coefficient) และการวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป RTAP สถิติที่ใช้ในการสร้างเกณฑ์ปกติ คือ หาค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ (Percentile Rank) และแปลงเป็นคะแนน T ปกติ ผลวิจัยพบว่า 1. แบบวัดทักษะการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีลักษณะเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ แบบปรนัยชนิดถูก-ผิด จับคู่ เติมคำ จำนวน 21 ข้อ แบบอัตนัย จำนวน 17 ข้อ ประกอบด้วยเนื้อหาและตัวชี้วัดทักษะการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ 5 เรื่อง คือ ระบบย่อยอาหาร ต่อวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย วัฏจักรหิน ซากดึกดำบรรพ์ เงามืดเงามัว 2. คุณภาพของแบบวัดทักษะการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีดังนี้ ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับเนื้อหาและตัวชี้วัด มีค่าตั้งแต่ 0.80 ถึง 1.00 แบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ มีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.35-0.79 ค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.24-0.84 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.83 แบบปรนัยชนิดถูก-ผิด จับคู่ เติมคำ มีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.44-0.78 ค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.20-1.00 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.83 เกณฑ์การให้คะแนนถูกให้ 1 ผิดให้ 0 แบบอัตนัยมีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.24-0.75 ค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.32-0.73 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.91 ใช้เกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริก (Scoring Rubric) 4 ระดับ คือ 0, 1, 2, 3 3. เกณฑ์ปกติของแบบวัดทักษะการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าตั้งแต่เกณฑ์ปกติอยู่ในช่วง T22 ถึง T69 แสดงว่าระดับทักษะการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับควรได้รับการปรับปรุงถึงระดับสูงมาก แบ่งตามการสร้างเกณฑ์ปกติ (Norm) แบบปรนัยชนิเลือกตอบ มีเกณฑ์ปกติอยู่ในช่วง T23 ถึง T77 แบบปรนัยชนิดถูก-ผิด จับคู่ เติมคำ มีเกณฑ์ปกติอยู่ในช่วง T14 ถึง T70 แบบอัตนัยมีเกณฑ์ปกติอยู่ในช่วง T16 ถึง T78 แสดงว่าระดับทักษะการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับควรได้รับการปรับปรุงถึงระดับสูงมาก | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Mahasarakham University | |
dc.rights | Mahasarakham University | |
dc.subject | การพัฒนา | th |
dc.subject | แบบวัดทักษะ | th |
dc.subject | การสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ | th |
dc.subject | The Development | en |
dc.subject | Skill Test | en |
dc.subject | Scientific Modeling | en |
dc.subject.classification | Social Sciences | en |
dc.subject.classification | Education | en |
dc.title | The Development of Scientific Modeling Skills Test for Grade 6 Student | en |
dc.title | การพัฒนาแบบวัดทักษะการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
dc.contributor.coadvisor | Apantee Poonputta | en |
dc.contributor.coadvisor | อพันตรี พูลพุทธา | th |
dc.contributor.emailadvisor | oomsin.putta@gmail.com | |
dc.contributor.emailcoadvisor | oomsin.putta@gmail.com | |
dc.description.degreename | Master of Education (M.Ed.) | en |
dc.description.degreename | การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) | th |
dc.description.degreelevel | Master's Degree | en |
dc.description.degreelevel | ปริญญาโท | th |
dc.description.degreediscipline | Research and Educational Development | en |
dc.description.degreediscipline | ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา | th |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
64010585001.pdf | 13.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.