Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2116
Title: The Development of Mathematics Problem-solving abilities of Fifth Grade students using Polya’s problem-solving concept with Bar Model method
การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับบาร์โมเดล
Authors: Kritsanakan Srinonyang
กฤษณกัณฑ์ ศรีโนนยาง
Yannapat Seehamongkon
ญาณภัทร สีหะมงคล
Mahasarakham University
Yannapat Seehamongkon
ญาณภัทร สีหะมงคล
yannapat.s@msu.ac.th
yannapat.s@msu.ac.th
Keywords: ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์
กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับบาร์โมเดล
Mathematics problem solving ability
Mathematics achievement
Polya's problem-solving concept with Bar Model method
Issue Date:  19
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objective of the research were 1) to develop grade 5 students' Mathematics problem solving ability using Polya's problem-solving concept with Bar Model method so that students would have average score not less then 70% of total score and 2) to study grade 5 students' Mathematics achievement using Polya's problem-solving concept with Bar Model method so that students would have average score not less then 70% of total score. The target group was 14 Grade 5 students in Nongvaengwittaya School. The research design was Action Research as a 3-loop. The tools used include observational models, problem solving behaviors, reflexive thinking patterns. The math problem solving test and the math achievement test Qualitative data analysis uses a triangulation model. Statistics used, averages, percentages, and standard deviations The results were summarized: 1) The students had average of Mathematics problem solving ability for 47.07 or 78.45% of the total score, and there were 13 students or 92.86% passed.In the first circuit, there were no qualified students because they could not accurately analyze the problem. The next operational cycle, there were some students who qualified, and some students did not meet the criteria. Students use solutions that are inconsistent with the problem, and the final practice cycle, all students can solve the problem correctly. 2) The students had average of Mathematics achievement for 16.21 or 81.05% of the total score. Therefore, Polya's problem-solving concept with Bar Model method gives students the ability to solve problems above the threshold 70 percent. 
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับบาร์โมเดล ให้นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70  2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับบาร์โมเดล  กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนหนองแวงวิทยา อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 14 คน โดยใช้การวิจัยเป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ 3 วงรอบ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรมการแก้โจทย์ปัญหา แบบสะท้อนคิด แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้แบบสามเส้า สถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เฉลี่ยเท่ากับ 47.07 คิดเป็นร้อยละ 78.45 ของคะแนนเต็ม และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 92.86 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ในวงจรปฏิบัติการแรกไม่มีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ เพราะนักเรียนไม่สามารถวิเคราะห์โจทย์ปัญหาได้อย่างถูกต้อง ทำให้ไม่สามารถทำในขั้นต่อไปได้ วงจรปฏิบัติการถัดมา มีนักเรียนบางส่วนที่ผ่านเกณฑ์ และนักเรียนบางส่วนยังไม่ผ่านเกณฑ์ นักเรียนใช้วิธีการแก้ปัญหาที่ไม่สอดคล้องกับโจทย์ และวงจรปฏิบัติสุดท้าย นักเรียนทุกคนสามารถแก้โจทย์ปัญหาได้อย่างถูกต้อง 2) นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เฉลี่ยเท่ากับ 16.21 คิดเป็นร้อยละ 81.05 ดังนั้นการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับบาร์โมเดลทำให้นักเรียนมีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาสูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 70
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2116
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64010588003.pdf10.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.