Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2120
Title: The Development of Learning Activity Packages Based on KWL-Plus Technique with Concept Map to Promote Analytical Reading Ability for Prathomsuksa 6 Students
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยด้วยเทคนิค KWL-Plus ร่วมกับ ผังมโนทัศน์ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Authors: Wannapa Hwandee
วรรณภา หวานดี
Ratasa Lousurayotin
รัฐสาน์ เลาหสุรโยธิน
Mahasarakham University
Ratasa Lousurayotin
รัฐสาน์ เลาหสุรโยธิน
ratasa.l@msu.ac.th
ratasa.l@msu.ac.th
Keywords: การอ่านเชิงวิเคราะห์
การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL–Plus ร่วมกับผังมโนทัศน์
Analytical Reading
KWL–Plus Technique with Concept Map
Issue Date:  26
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aimed to 1) develop the learning activity packages using KWL-Plus technique with concept map to enhance analytical reading ability for Prathomsuksa 6 students to meet the efficiency criterion of 75/75, 2) compare the students’ analytical reading ability before and after the implementation of being taught by KWL-Plus technique with concept map, 3) study the students’ satisfaction towards the learning activity packages using KWL-Plus technique with concept map. The sample group was obtained by cluster random sampling consisting of 30 Prathomsuksa 6 students; 14 students from Ban Huay Rae school, 3 students from Non Swang School, and 3 students from Wang Hin Kao Khor School, under Khonkaen Secondary Educational Service area 2, in the semester of 2022. The instruments were 1) Thai learning activity packages based on KWL-Plus technique with concept map to promote analytical reading ability for Prathomsuksa 6 students, 2) 6 lesson plans of the Thai learning activity packages with 12 hours of teaching, 3) a critical reading test containing 30 multiple-choice items, and 4) a satisfaction questionnaire containing 15 items. The data was analyzed by percentage, mean, standard deviation and t-test Dependent Sample.   The results of this research were: 1. The learning activity packages based on KWL-Plus technique with concept map to promote analytical reading ability for Prathomsuksa 6 students had an efficiency criteria of 77.55/77.57, which were higher than the designated criteria of 75/75. 2. The students’ mean scores of analytical reading ability before the implement were 11.83. The mean scores after the implementation were 23.27 which were significantly higher than the pretest scores at the .05 level. 3. The students’ satisfaction towards the learning activity packages using KWL-Plus technique with concept map was at high level (x ̅ = 4.68, S.D. = 0.08).
การวิจัยในครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL-Plus ร่วมกับผังมโนทัศน์ที่มีต่อความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ด้วยการจัดการเรียนรู้เทคนิค KWL-Plus ร่วมกับผังมโนทัศน์ ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL-Plus ร่วมกับผังมโนทัศน์ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 คน ปีการศึกษา 2565 ประกอบด้วย โรงเรียนบ้านห้วยแร่ จำนวน 14 คน โรงเรียนบ้านโนนสว่าง จำนวน 3 คน โรงเรียนวังหินเก่าค้อ จำนวน 13 คน ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาที่ 10 ศูนย์วังม่วง อำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 ได้โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL-Plus ร่วมกับผังมโนทัศน์ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL-Plus ร่วมกับผังมโนทัศน์เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ จำนวน 6 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง รวม 12 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แบบชนิดเลือกตอบ (Multiple Choice) 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL-Plus ร่วมกับผังมโนทัศน์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยแบบสอบถามมีรูปแบบเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t- test แบบ Dependent Sample ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยด้วยเทคนิค KWL–Plusร่วมกับผังมโนทัศน์เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ 77.55/77.57 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 75/75 2. ความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ด้วยการจัดการเรียนรู้เทคนิค KWL-Plus ร่วมกับผังมโนทัศน์ ก่อนเรียน มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 11.83 และผลการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนหลังเรียน มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 23.27 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL–Plus ร่วมกับผังมโนทัศน์ อยู่ในระดับมากโดยมีค่าคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.68 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.08
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2120
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64010588014.pdf8.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.