Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/212
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorPranee Khummaen
dc.contributorปราณี คำมาth
dc.contributor.advisorNattawut Tontiseten
dc.contributor.advisorณัฐวุฒิ ตันติเศรษฐth
dc.contributor.otherMahasarakham University. Mahasarakham Business Schoolen
dc.date.accessioned2019-10-02T02:48:57Z-
dc.date.available2019-10-02T02:48:57Z-
dc.date.issued1/10/2018
dc.identifier.urihttp://202.28.34.124/dspace/handle123456789/212-
dc.descriptionMaster of Accountancy (M.Acc.)en
dc.descriptionบัญชีมหาบัณฑิต (บช.ม.)th
dc.description.abstractRecently, changes in administration have been significantly influenced by the changes in economic, social and technology conditions. Many organizations, both private and public sectors, need to adept themselves to improve the quality of the organization. The development of human resources is what the organization should focus on Accounting Professional Competency Improvement. Thus, it is essential for accountants to develop their professional account competency to enhance accounting knowledge, skills and potential so that their organization can achieve the set goals and plans. In this regard, the researcher is interested in studying the relationship between the development of professional account competency and job efficiency of Finance and Accounting Officers of Rajamangala University of Technology Isan. Data were collected from 105 Finance and accounting officers of Rajamangala University of Technology Isan. The questionnaires were used as the research instrument. Data were analyzed by using statistics including t-test, F-test (ANOVA and MANOVA), multiple correlation analysis, simple regression analysis and multiple regression analysis. The results of this research indicated that both overall and individual aspects, the respondents had a high level of their opinions towards the accounting professional competency. When individual aspects were considered, knowledge, law, financial management, quality control, and accounting knowledge were at a high level. Additionally, both overall and individual aspects, the respondents had a high level of their opinions towards job efficiency. When individual aspects were considered, quality of work , quantity of work , timeliness, and standard work were at a high level. Financial and Accounting Officers with difference in sex, age, status, education, experience in accounting work, employees and monthly income, position and number of training sessions in finance and accounting or other relevant areas have difference in accounting professional competency.   Financial and Accounting Officers with difference in sex, age, status, education, experience in accounting work, employees and monthly income, position and number of training sessions in finance and accounting or other relevant areas have difference in job efficiency. The results of analyzing the relationship and impact of accounting professional competency improvement showed that 1) accounting professional competency improvement in the aspect of legal knowledge had positive relationships with and effects on job efficiency in the aspects a quantity of work, 2) accounting professional competency improvement in the aspect of financial management had positive relationships with and effects on job efficiency in the aspects a timeliness. 3) accounting professional competency improvement in the aspect of quality controlling had positive relationships with and effects on job efficiency in the aspects a timeliness, 4) accounting professional competency improvement in the aspect of accounting knowledge had positive relationships with and effects on job efficiency in the aspects a quality of work, quantity of work, timeliness and standard work. In conclusion, accounting professional competency improvement had positive relationships with effects on job efficiency. Therefore, accounting professional should attend training on the accounting profession and develop the skills, knowledge, attributes relating to the performance of the accounting professional and take the information gained from this study to develop their own applications in order to operate effectively. An organization would recognize their knowledge and competency and feel more confident in professional accountants, leading to their performance improvement.en
dc.description.abstractปัจจุบันความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในการบริหารงาน ได้รับอิทธิพลสำคัญจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีทำให้องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต้องมีการปรับตัวเพื่อยกระดับคุณภาพขององค์กร การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรจึงเป็นสิ่งที่องค์กรควรให้ความสำคัญ โดยเฉพาะนักวิชาชีพบัญชีจำเป็นต้องมีการพัฒนาสมรรถนะด้านวิชาชีพบัญชี เพื่อให้มีความรู้ ทักษะ และศักยภาพให้สูงขึ้น ทำให้องค์กรสามารถดำเนินงานได้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายและแผนงานที่วางไว้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาสมรรถนะด้านวิชาชีพบัญชีกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักวิชาการเงินและบัญชี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักวิชาการเงินและบัญชี ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จำนวน 105 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ t-test F-test (ANOVA และ MANOVA) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ การวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า นักวิชาการเงินและบัญชี มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการพัฒนาสมรรถนะด้านวิชาชีพบัญชีโดยรวมและเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านความรู้ด้านกฎหมาย ด้านการบริหารจัดการด้านการเงิน ด้านการควบคุมคุณภาพ และด้านความรู้ทางการบัญชี และมีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน โดยรวมและเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านคุณภาพงาน ด้านปริมาณงาน ด้านงานสำเร็จทันเวลา และด้านผลงานได้มาตรฐาน นักวิชาการเงินและบัญชี ที่มี เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงานด้านบัญชี รายได้เฉลี่ยต่อเดือนในปัจจุบัน ตำแหน่งงานในปัจจุบัน และจำนวนครั้งที่เข้ารับการฝึกอบรมด้านการเงินและบัญชีหรือด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องแตกต่างกัน มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการพัฒนาสมรรถนะด้านวิชาชีพบัญชีไม่แตกต่างกัน  นักวิชาการเงินและบัญชี ที่มี เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงานด้านบัญชี รายได้เฉลี่ยต่อเดือนในปัจจุบัน ตำแหน่งงานในปัจจุบัน และจำนวนครั้งที่เข้ารับการฝึกอบรมด้านการเงินและบัญชีหรือด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องแตกต่างกัน มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน  จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์และผลกระทบของการพัฒนาสมรรถนะด้านวิชาชีพบัญชี พบว่า 1) การพัฒนาสมรรถนะด้านวิชาชีพบัญชี ด้านความรู้ด้านกฎหมาย มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานโดยรวม และด้านปริมาณงาน 2) การพัฒนาสมรรถนะด้านวิชาชีพบัญชี ด้านการบริหารจัดการด้านการเงิน มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานโดยรวม และด้านงานสำเร็จทันเวลา 3) การพัฒนาสมรรถนะด้านวิชาชีพบัญชี ด้านการควบคุมคุณภาพ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานโดยรวม และด้านงานสำเร็จทันเวลา 4) การพัฒนาสมรรถนะด้านวิชาชีพบัญชี ด้านความรู้ทางการบัญชี มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานโดยรวม และด้านคุณภาพของงาน ด้านปริมาณงานด้านงานสำเร็จทันเวลา และด้านผลงานได้มาตรฐาน โดยสรุปการพัฒนาสมรรถนะด้านวิชาชีพบัญชี มีความสัมพันธ์และผลกระทบกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ดังนั้นนักวิชาชีพบัญชีควรมีการเข้าร่วมการฝึกอบรมเกี่ยวกับวิชาชีพบัญชีและพัฒนาตนเองให้มีทักษะ ความรู้ คุณลักษณะที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานทางด้านวิชาชีพบัญชี และควรนำเอาข้อมูลสารสนเทศที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเองเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้องค์กรเล็งเห็นถึงความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานของนักวิชาชีพบัญชี ซึ่งจะทำให้องค์กรมีความเชื่อมั่นในตัวนักวิชาชีพบัญชี และส่งผลให้นักวิชาชีพบัญชีมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดีต่อไปth
dc.language.isoth
dc.publisherMahasarakham University
dc.rightsMahasarakham University
dc.subjectการพัฒนาสมรรถนะด้านวิชาชีพบัญชีth
dc.subjectประสิทธิภาพการปฏิบัติงานth
dc.subjectนักวิชาการเงินและบัญชีth
dc.subjectAccounting Professional Competency Improvementen
dc.subjectJob Efficiencyen
dc.subjectFinancial and Accounting Officersen
dc.subject.classificationBusinessen
dc.titleRELATIONSHIPS BETWEEN ACCOUNTING PROFESSIONAL COMPETENCY IMPROVEMENT AND JOB EFFICIENCY OF FINANCIAL AND ACCOUNTING OFFICERS OF RAJAMANGALA UNIVERSITY OF TECHNOLOGY ISANen
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาสมรรถนะด้านวิชาชีพบัญชีกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักวิชาการเงินและบัญชี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:Mahasarakham Business School

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010980004.pdf2.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.