Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2141
Title: The development of a future Thai economic structure model under the impact of the food processing industry
การพัฒนาแบบจำลองโครงสร้างเศรษฐกิจไทยแห่งอนาคตภายใต้ผลกระทบของอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร
Authors: Maliwan Sarapab
มะลิวัลย์ สารภาพ
Duangrat Tandamrong
ดวงรัตน์ ธารดำรงค์
Mahasarakham University
Duangrat Tandamrong
ดวงรัตน์ ธารดำรงค์
duangrat.t@msu.ac.th
duangrat.t@msu.ac.th
Keywords: อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร
ความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ
ตัวทวีคูณทางเศรษฐกิจ
ความผันผวนและการพยากรณ์ราคา
Food processing industry
Economic linkage
Economic multiplier
Volatility and Price Forecasting
Issue Date:  8
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objective of this research was to analyze the forward, backward and total linkage of sectors related to the total food processing industry output towards the major economic branches in Thailand. The objective of this research was also aimed to analyze the economic impact of sectors related to the food processing industry affecting output using sectoral multipliers from an Input-Output (IO) Table of Thailand. There were 180 sectors in the years 2005, 2010 and 2015 adopted for this study. The canning and preserving of meat, canning and preservation of fish and other sea foods, and sugar sector were the representatives of food processing industry. The data used in the study were secondary data (time series) monthly from January 2002 to December 2021, using a multiplicative model and the Box-Jenkins method of forecasting to study the change in price volatility conditions and to forecast raw material prices of sectors related to food processing industry, whereas the chicken, sugar cane and shrimp prices are representatives. According to the research, it was found that, based on the analysis of forward and backward linkage, the input of canning and preserving of meat sector was mostly from the slaughtering sector and distributing the output to the Hotels and places of loading sector. The input of canning and preservation of fish and other sea foods sector was mostly from the ocean and coastal fishing sector and distributing the output to the canning and preservation of fish and other sea foods sector. The input of sugar sector was mostly from the sugar cane sector and distributing the output to the soft drinks and carbonated water sector. According to the total linkage analysis, it was found that the canning and preserving of meat sector and the canning and preservation of fish and other sea foods sector had a higher correlation on backward output than forward output, and the sugar sector had a high correlation on the backward productivity as well as the forward productivity. According to the output multiplier analysis, it was found all 3 sectors having a high output multiplier value. Based on the study of price volatility, it was found that the volatility could occur in all forms and had been occurring continuously. Finally, it was found that chicken and sugar cane prices tended to increase while there is a tendency for shrimp prices either increase or decrease uncertainty.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความเชื่อมโยงไปข้างหน้า ความเชื่อมโยงไปข้างหลัง และความเชื่อมโยงโดยรวมของสาขาที่เกี่ยวเนื่องกับผลผลิตด้านอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารที่มีต่อสาขาเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย รวมถึงเพื่อวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจของสาขาที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารที่ส่งผลต่อผลผลิต โดยการคำนวณตัวทวีคูณทางเศรษฐกิจ โดยใช้การวิเคราะห์ตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตของประเทศไทย แบ่งกลุ่มสาขาเป็น 180 สาขา ในปี พ.ศ. 2548 พ.ศ. 2553 และ พ.ศ. 2558 โดยพิจารณาให้สาขาการทำเนื้อกระป๋องและผลิตภัณฑ์เนื้ออื่น ๆ สาขาการทำปลากระป๋อง อาหารทะเลกระป๋องและการเก็บรักษาอาหารทะเลอื่น ๆ และสาขาการผลิตน้ำตาล เป็นตัวแทนของอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร และเพื่อศึกษาสภาวะความผันผวนและพยากรณ์ราคาวัตถุดิบของสาขาที่เกี่ยวเนื่องกับผลผลิตด้านอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร โดยข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลทุติยภูมิ แบบอนุกรมเวลา รายเดือนจากเดือนมกราคม พ.ศ. 2545 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 โดยใช้แบบจำลองการเคลื่อนไหวของอนุกรมเวลาแบบผลคูณ และการพยากรณ์ด้วยวิธีของบอกซ์-เจนกินส์ โดยพิจารณาให้ราคาไก่รุ่นพันธุ์เนื้อ ราคาอ้อยโรงงาน และราคากุ้งขาวแวนนาไม เป็นตัวแทนของอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร จากการวิเคราะห์ความเชื่อมโยงไปข้างหน้า และความเชื่อมโยงไปข้างหลัง พบว่า สาขาการทำเนื้อกระป๋องและผลิตภัณฑ์เนื้ออื่น ๆ ส่วนใหญ่ใช้ปัจจัยการผลิตจากสาขาโรงฆ่าสัตว์ และการกระจายผลผลิตไปยังสาขาโรงแรมและที่พักอื่น ๆ ในส่วนของสาขาการทำปลากระป๋อง อาหารทะเลกระป๋องและการเก็บรักษาอาหารทะเลอื่น ๆ ส่วนใหญ่ใช้ปัจจัยการผลิตจากสาขาการประมงทะเล และการประมงชายฝั่ง และการกระจายผลผลิตไปยังสาขาการทำปลากระป๋อง อาหารทะเลกระป๋องและการเก็บรักษาอาหารทะเลอื่น ๆ และสาขาการผลิตน้ำตาล ส่วนใหญ่ใช้ปัจจัยการผลิตจากสาขาการทำไร่อ้อย และการกระจายผลผลิตไปยังสาขาอุตสาหกรรมเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์และน้ำอัดลม จากการวิเคราะห์ความเชื่อมโยงโดยรวม พบว่า สาขาการทำเนื้อกระป๋องและผลิตภัณฑ์เนื้ออื่น ๆ และสาขาการทำปลากระป๋อง อาหารทะเลกระป๋องและการเก็บรักษาอาหารทะเลอื่น ๆ มีค่าความเชื่อมโยงโดยรวมของผลผลิตไปข้างหลังสูงกว่าค่าความเชื่อมโยงโดยรวมของผลผลิตไปข้างหน้า ในส่วนของสาขาการผลิตน้ำตาล มีค่าความเชื่อมโยงโดยรวมของผลผลิตไปข้างหลังสูง และค่าความเชื่อมโยงโดยรวมของผลผลิตไปข้างหน้าสูงเช่นกัน จากการวิเคราะห์ตัวทวีคูณผลผลิต พบว่า ทั้ง 3 สาขา มีค่าตัวทวีคูณผลผลิตสูงขึ้น จากการศึกษาความผันผวนของราคา พบว่า มีความผันผวนเกิดขึ้นทุกรูปแบบและเกิดขึ้นต่อเนื่องมาตลอด และผลการพยากรณ์ พบว่า ราคาไก่รุ่นพันธุ์เนื้อและราคาอ้อยโรงงานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และราคากุ้งขาวแวนนาไมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและลดลงสลับกันไปไม่แน่นอน  
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2141
Appears in Collections:Mahasarakham Business School

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010960001.pdf6.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.