Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2142
Title: Digital Transformation of Higher Education Institutions in Thailand : A Technology Organizational and Environmental Perspective
การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย : มุมมองของเทคโนโลยี องค์กรและสภาพแวดล้อม
Authors: Wongsawat Tepasuk
วงศวัฒน์ เทพาศักดิ์
Sommai Khantong
สมหมาย ขันทอง
Mahasarakham University
Sommai Khantong
สมหมาย ขันทอง
sommai.k@msu.ac.th
sommai.k@msu.ac.th
Keywords: การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล
สถาบันอุดมศึกษา
มุมมองเทคโนโลยี องค์กรและสภาพแวดล้อม
Digital Transformation
Higher Education Institutions
Technology Organizational and Environmental Perspective
Issue Date:  23
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purpose of this research is to study the application of digital technology in Digital transformation of universities in Thailand To compare the digital transformation of universities in Thailand with different types. To study the relationship between technology, organization, environment and personnel and the digital transformation of universities in Thailand. and to study the impact of technology, organization, environment and personnel on the digital transformation of universities in Thailand. By collecting data from 63 institutions of higher education in Thailand and using a questionnaire as a tool to collect data. The statistics used in the data analysis were t-test, F-test (ANOVA), and Pearson's correlation coefficient analysis (Pearson Correlation Coefficient). The results showed that The digital transformation of higher education institutions in Thailand overall is at a high level. when considering each aspect At a high level in all aspects, including the technology perspective organizational perspective environmental perspective and personnel perspective. As for the use of digital technology in management Overall, it's at a high level. when considering each aspect at a high level in all aspects, including Academic administration budget management General administration and personnel management. Factors affecting the adoption of digital technology in management found that the type of university The number of faculties offered, the number of staff, the number of students, the annual income, and the budget for digital transformation are different. have an opinion about Using digital technology in management overall no different Different sizes of universities have an opinion about Using digital technology in management Overall, there was a statistically significant difference at the 0.05 level. The digital transformation of Universities in Thailand found that the type of university size of the university The number of faculties offered, the number of staff, the number of students, the annual income, and the budget for digital transformation are different. Do you have any thoughts on the digital transformation? overall no different. The relationship of perspectives on technology, organization, environment and people with the digital transformation of universities in Thailand It was found that 1) digital transformation with technology perspectives, i.e. IT infrastructure, consistency, and complexity. correlated This has resulted in a positive digital transformation of Thai universities. 2) Digital transformation with organizational perspectives, i.e. support from senior management, formality and benefits. correlated This results in the positive digital transformation of universities in Thailand.  3) Digital transformation with environmental perspectives, including competitive pressure, support from technology vendors, and regulatory and support of the government correlated This resulted in positive digital transformation of universities in Thailand and 4) digital transformation with personnel perspectives, i.e. innovation of top management and IT capabilities of employees. correlated This has resulted in a positive digital transformation of Thai universities.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย เพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่มีประเภทแตกต่างกัน เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยี องค์กร สภาพแวดล้อม และบุคลากรกับการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย และเพื่อศึกษาผลกระทบของเทคโนโลยี องค์กร สภาพแวดล้อมและบุคลากรต่อการเปลึ่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย จำนวน 63 แห่ง และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ t-test, F-test (ANOVA) และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Correlation Coefficient) ผลการวิจัยพบว่า การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ มุมมองด้านเทคโนโลยี มุมมองด้านองค์กร มุมมองด้านสิ่งแวดล้อม และมุมมองด้านบุคลากร ส่วนการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการ โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านบริหารงานทั่วไปและด้านการบริหารงานบุคคล ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการ พบว่า ประเภทของมหาวิทยาลัย จำนวนคณะวิชาที่เปิดสอน จำนวนบุคลากร จำนวนนักศึกษา รายได้ต่อปี และมีงบประมาณในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการ โดยรวม ไม่แตกต่างกัน ส่วนขนาดของมหาวิทยาลัยที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการ โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย พบว่า ประเภทของมหาวิทยาลัย ขนาดของมหาวิทยาลัย จำนวนคณะวิชาที่เปิดสอน จำนวนบุคลากร จำนวนนักศึกษา รายได้ต่อปี และมีงบประมาณในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล โดยรวม ไม่แตกต่างกัน ความสัมพันธ์ของมุมมองด้านเทคโนโลยี องค์กร สิ่งแวดล้อมและบุคลากร กับการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย พบว่า 1) การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลกับมุมมองด้านเทคโนโลยี ได้แก่ ด้านโครงสร้างพื้นฐานไอที ด้านความสอดคล้องและด้านความซับซ้อน มีความสัมพันธ์กัน ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยในเชิงบวก 2) การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลกับมุมมองด้านองค์กร ได้แก่ ด้านการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง ด้านการเป็นทางการและด้านประโยชน์ มีความสัมพันธ์กัน ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยในเชิงบวก 3) การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลกับมุมมองด้านสภาพแวดล้อม ได้แก่ ด้านความกดดันในการแข่งขัน ด้านการสนับสนุนจากผู้จำหน่ายเทคโนโลยี และด้านกฎระเบียบและการสนับสนุนของรัฐบาล มีความสัมพันธ์กัน ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยในเชิงบวก และ 4) การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลกับมุมมองด้านบุคลากร ได้แก่ ด้านนวัตกรรมของผู้บริหารระดับสูง และด้านความสามารถด้านไอทีของพนักงาน มีความสัมพันธ์กัน ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยในเชิงบวก
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2142
Appears in Collections:Mahasarakham Business School

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010980101.pdf3.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.