Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2145
Title: The Relationship Between Corporate Social Responsibility Activities Disclosure and Financial Performance of Listed Companies in The Stock Exchange of Thailand
ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดเผยข้อมูลกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมกับผลการดำเนินงานทางการเงินของธุรกิจของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Authors: Nanthaphat Nonsrimueang
นันทพัทธ์ โนนศรีเมือง
Karun Kidrakarn
การันต์ กิจระการ
Mahasarakham University
Karun Kidrakarn
การันต์ กิจระการ
karun.k@msu.ac.th
karun.k@msu.ac.th
Keywords: กลไกการกำกับดูแลกิจการภายใน
การเปิดเผยข้อมูลกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม
ผลการดำเนินงานทางการเงิน
บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Internal Corporate Governance Mechanisms
Corporate Social Responsibility Activities Disclosure
Financial Performance
Listed Companies in the Stock Exchange of Thailand
Issue Date:  19
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Currently economies, societies and technologies have changed rapidly; therefore, the majority of businesses have focused on the importance of concept, procedure and strategies of operating businesses more efficiently and effectively. Business concepts have also changed because of the arising of higher business competition. Businesses then need to find proper strategies and procedures to develop business tools and competitive advantages to be able to complete with other competitors in the same industry. Thus the researcher conducted a study of the Relationship between corporate social responsibility activities disclosure and financial performance of listed companies in the Stock Exchange of Thailand by collecting data from the annual reports (Form 56-1 and Form 56-2) of 46 the Food and Beverage companies listed on the Stock Exchange of Thailand from 2017 to 2020. The statistics used for analyzing the collected data were descriptive statistics, and multiple correlation analysis, and multiple regression analysis. The results revealed that the listed companies had the following internal governance mechanisms: The size of the Board of Directors averaged at 10.88 persons, the proportion of independent boards averaged at 0.39, the number of meetings of the board of directors was 7.30 times per year, and the proportion of the female committee averaged at 0.25 of the board of directors. The listed companies had the following corporate social responsibility activities disclosure when each aspect was considered, the aspect found to be at the highest level was employee responsibility with the average disclosure at 0.72; Community and social responsibility with an average disclosure of 0.76; Product and services responsibility with an average disclosure of 0.92 and environmental responsibility with an average disclosure of 0.63. The listed companies had the following financial performance in the aspects of return on asset (ROA) averaged at 7.72, return on equity (ROE) average of 11.20 and net profit margin (NPM) average of 5.75. From analyses of correlations and effects, the following were found: 1) Internal corporate governance mechanisms in the aspects of board size had positive effects on corporate social responsibility activities disclosure in the aspects of environmental responsibility and product and services responsibility. 2) Internal corporate governance mechanisms in the aspects of board size, board independence, board meeting and women on board had positive effects on financial performance in the aspects of return on asset (ROA) and net profit margin (NPM) 3) Corporate social responsibility activities disclosure in the aspects of employee responsibility had negative effects on financial performance in the aspects of return on asset (ROA), return on equity (ROE) and net profit margin (NPM) 4) Corporate social responsibility activities disclosure in the aspects of community and society responsibility and product and services responsibility  positive effects on financial performance in the aspects of return on asset (ROA), return on equity (ROE) and net profit margin (NPM). In conclusion, Internal corporate governance mechanisms in the aspects of board size had positive effects on corporate social responsibility activities disclosure  and Internal corporate governance mechanisms in the aspects of board size, board independence, board meeting and women on board had positive effects on financial performance and Corporate social responsibility activities disclosure in the aspects of community and society responsibility and product and services responsibility  positive effects on financial performance. The results of this study could be applicable to guidelines on management, establish strategies, policies and operational planning of the organizations. To be in accordance with internal and external environment of organizations changing all the time to affect the competitive advantage of organizations stability, and sustainability in the future.
ปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีได้มีการเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วทำให้ ธุรกิจต่างๆ ได้หันมาให้ความสำคัญกับแนวคิด วิธีการ และกลยุทธ์การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากขึ้น แนวคิดทางการดำเนินธุรกิจก็เช่นกันได้มีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เพราะธุรกิจมีการแข่งขันกันรุนแรงมากขึ้น ธุรกิจแต่ละประเภทจึงต้องแสวงหากลยุทธ์และยุทธ์วิธีต่างๆ มาเป็นเครื่องมือเพื่อสร้างความได้เปรียบให้กับองค์กรตนเอง ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดเผยข้อมูลกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมกับผลการดำเนินงานทางการเงินของธุรกิจของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากรแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (56-1) และรายงานประจำปี (56-2) ระหว่างปี พ.ศ. 2560 – พ.ศ. 2563 ของบริษัทในกลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม จำนวน 46 บริษัท จำนวน 170 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistics) และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ  ผลการวิจัย พบว่า บริษัทจดทะเบียนมีกลไกการกำกับดูแลกิจการภายใน ดังนี้ ด้านขนาดของคณะกรรมการบริษัท มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 10.88 คน ด้านสัดส่วนคณะกรรมการอิสระ มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 0.39 ด้านจำนวนการประชุมของคณะกรรมการบริษัท มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 7.30 ครั้งต่อปี และด้านสัดส่วนคณะกรรมการเพศหญิง มีค่าค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 0.25 ของคณะกรรมการบริษัท บริษัทจดทะเบียนมีการเปิดเผยข้อมูลกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม อยู่ในระดับสูง 3 ด้านได้แก่ ด้านความรับผิดชอบต่อพนักงาน โดยมีค่าเฉลี่ยการเปิดเผยข้อมูลที่ 0.72 ด้านความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม โดยมีค่าเฉลี่ยการเปิดเผยข้อมูลที่ 0.76 และด้านความรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์และบริการ โดยมีค่าเฉลี่ยการเปิดเผยข้อมูลที่ 0.92 และอยู่ในระดับปานกลาง 1 ด้าน คือ ด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีค่าเฉลี่ยการเปิดเผยข้อมูลที่ 0.63 บริษัทจดทะเบียนมีผลการดำเนินงานทางการเงิน ด้านอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 7.72 ต่อปี ด้านอัตราผลตอบแทนผู้ถือ มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 11.20 ต่อปี และด้านอัตราไรสุทธิ มีค่าเฉลี่ย อยู่ที่ร้อยละ 5.75 ต่อปี จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์และผลกระทบ พบว่า พบว่า 1) กลไกการกำกับดูแลกิจการภายใน ด้านขนาดของคณะกรรมการ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับการเปิดเผยข้อมูลกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม ด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และด้านความรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์และบริการ 2) กลไกการกำกับดูแลกิจการภายใน ด้านขนาดของคณะกรรมการ ด้านคณะกรรมการอิสระ ด้านการประชุมของคณะกรรมการ และด้านคณะกรรมการเพศหญิง มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับผลการดำเนินงานทางการเงินของธุรกิจ ด้านอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม และด้านอัตรากำไรสุทธิ 3) การเปิดเผยข้อมูลกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม ด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงลบกับผลการดำเนินงานทางการเงิน ด้านอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม และด้านอัตรากำไรสุทธิ 4) การเปิดเผยข้อมูลกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม ด้านความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม และด้านความรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์และบริการ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับผลการดำเนินงานทางการเงิน ด้านอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม และด้านอัตรากำไรสุทธิ โดยสรุป กลไกการกำกับดูแลกิจการภายใน ด้านขนาดของคณะกรรมการ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับการเปิดเผยข้อมูลกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม และกลไกการกำกับดูแลกิจการภายใน ด้านขนาดของคณะกรรมการ ด้านคณะกรรมการอิสระ ด้านการประชุมของคณะกรรมการ และด้านคณะกรรมการเพศหญิง มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับผลการดำเนินงานทางการเงินของธุรกิจ และการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคม ด้านความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคมและด้านความรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์และบริการมีอิทธิพลเชิงบวกกับผลการดำเนินงานทางการเงิน ดังนั้น ผู้บริหารธุรกิจสามารถนำไปใช้เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการ การกำหนดกลยุทธ์ นโยบายและการวางแผนการดำเนินงานขององค์กร ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพื่อส่งผลต่อการได้เปรียบทางการแข่งขันขององค์กรให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2145
Appears in Collections:Mahasarakham Business School

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010990007.pdf3.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.