Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2153
Title: Tourism Management of Roi–Et Province
การจัดการการท่องเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ด
Authors: Rungwit Treekun
รุ่งวิทย์ ตรีกุล
Charin Phakprapa
จรินทร์ ฟักปะไพ
Mahasarakham University
Charin Phakprapa
จรินทร์ ฟักปะไพ
charin.f@msu.ac.th
charin.f@msu.ac.th
Keywords: แหล่งท่องเที่ยวในเมือง
แหล่งท่องเที่ยวนอกเมือง
การจัดการการท่องเที่ยว
การมีส่วนร่วมของชุมชน
การวิเคราะห์องค์ประกอบ
ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว
องค์ประกอบทางการท่องเที่ยว
Urban Attractions
Outside Attractions
Tourism Management
Community Involement
Factor Analysis
Postential
Attraction Tourism Elements
Issue Date:  15
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This combined research to : 1. To assess the potential of major tourist attractions of Roi-Et Province 2. To study the behavior of tourists visiting Roi-Et Province 3. To study the relationship between tourist attitudes towards tourism marketing factors of Roi-Et Province 4. To study the contribution of stakeholders to tourism management in Roi-Et Province 5. To determine the guidelines for tourism management in Roi-Et Province. It uses an interview method for providing important information, including monks, government officials, and stakeholders, by selecting samples in a convenient way with tourists. Using Taro Yamane's (1967) formula, the statistics used to analyze the data include percentage, average, standard deviation, and exploratory element analysis (EFA) by means of extracting the main elements and rotating the perpendicular element axis by varimax method and analyzing the data with content analysis. 3. In the field of personnel and safety (Personal and Safety), service training should be provided to the staff. In order to provide good service in a friendly manner. This makes the tourist impress and returns to Roi Et province for longer. 4. Other services (Service) Since the tourist attraction is located in the city, other services are sufficient, such as travel in and out, which is convenient for access to tourist attractions. Tourist attractions outside Roi Et province should be improved and developed in the following areas: 1. Travel should be developed in Thai, English and/or other languages such as Chinese with clarity and periodicity. Public transport has been added to serve tourists to visit tourist attractions. 2. Amenity should have a clean restaurant and toilets to meet the standards and add other amenities such as pharmacies, convenience stores, etc. Cash machines and souvenir shops at tourist attractions 3. Personal personnel should have a local guide to guide the tourist attractions. Increase security in life and property 4. In terms of tour programs, there should be publicity of tourist tours in Roi-Et Province to stimulate awareness among tourists. 5. Unique because the tourist attraction is famous. It should promote the reputation of the tourist attraction to be known. In terms of tourist behavior visiting Roi-Et Province, the majority of tourists are males, aged between 36-45 years old, marital status, bachelor's degree, civil servant/state enterprise career. It earns 10,000-30,000 baht and the relationship between the attitudes of tourists towards the tourism marketing factors of Roi-Et Province. It was found that the tourism marketing factors that affect the decision to visit Roi-Et Province are price factors, distribution channel factors, process factors, personnel factors and product factors. Stakeholder participation in tourism management in Roi-Et Province It was found that there was no correlation. Therefore, the main body should be established to be responsible and appoint a committee to carry out the work. To be the coordination center for reviewing the Roi-Et Tourism Development Plan in order to formulate clear long-term tourism policies and directions in Roi-Et Province, and stakeholders should participate in the decision-making process. Performance Participation in benefits and participation in the evaluation, monitoring, organization of projects or activities of tourist attractions.  
การวิจัยผสมผสานครั้งนี้เพื่อ 1. เพื่อประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดร้อยเอ็ด 2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ด 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติของนักท่องเที่ยวที่มีต่อปัจจัยด้านการตลาดท่องเที่ยวของจังหวัดร้อยเอ็ด 4. เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการจัดการการท่องเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ด 5. เพื่อกำหนดแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ด ทั้งนี้ใช้วิธีสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ พระสงฆ์ เจ้าหน้าที่ภาครัฐ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการแบบสะดวกกับนักท่องเที่ยว จำนวน 480 คน โดยใช้สูตรของ Taro Yamane (1967) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) ด้วยวิธีการสกัดองค์ประกอบหลัก และหมุนแกนองค์ประกอบตั้งฉากด้วยวิธีแวร์ริแม็กซ์ (Varimax) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า การจัดการการท่องเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ดสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ คือ 1. แหล่งท่องเที่ยวในเมืองจังหวัดร้อยเอ็ด และ 2. แหล่งท่องเที่ยวนอกเมืองจังหวัดร้อยเอ็ด แหล่งท่องเที่ยวในเมืองจังหวัดร้อยเอ็ด ควรมีการปรับปรุงและพัฒนาด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้ 1. ด้านการเดินทางและการบริการนำเที่ยว (Tour and Travel) ควรมีการปรับปรุงและพัฒนาด้านป้ายบอกทางที่เป็นภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และ/หรือภาษาอื่น ๆ เพิ่ม เช่น ภาษาจีน ที่มีความชัดเจนและเป็นระยะ 2. ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (Amenity) เนื่องจากแหล่งท่องเที่ยวตั้งอยู่ในเมืองจึงมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เพียงพอ 3. ด้านบุคลากรและความปลอดภัย (Personal and Safety) ควรมีการจัดอบรมด้านการบริการให้แก่เจ้าหน้าที่ เพื่อที่จะได้ให้บริการที่ดีอย่างมีมิตรไมตรี ทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความประทับใจและกลับมาเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ดอีกต่อไป 4. ด้านการบริการอื่น ๆ  (Service) เนื่องจากแหล่งท่องเที่ยวตั้งอยู่ในเมืองจึงทำให้ด้านการบริการอื่น ๆ มีเพียงพอ เช่น การเดินทางเข้า - ออก ที่สะดวกต่อการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวนอกเมืองจังหวัดร้อยเอ็ด ควรมีการปรับปรุงและพัฒนาด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้ 1. ด้านการท่องเที่ยว (Travel) ควรมีการพัฒนาด้านป้ายบอกทางที่เป็นภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และ/หรือภาษาอื่น ๆ เพิ่ม เช่น ภาษาจีน ที่มีความชัดเจนและเป็นระยะ มีการเพิ่มระบบขนส่งสาธารณะให้บริการนักท่องเที่ยวในการมายังแหล่งท่องเที่ยว 2. ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (Amenity) ควรมีร้านอาหารและห้องสุขาที่สะอาดเหมาะสมให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ เช่น ร้านขายยา ร้านสะดวกซื้อ ตู้กดเงินสด และร้านจำหน่ายสินค้าของที่ระลึกประจำแหล่งท่องเที่ยว 3. ด้านบุคลากร (Personal) ควรมีมัคคุเทศก์ท้องถิ่นในการนำชมแหล่งท่องเที่ยว เพิ่มการดูแลรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 4. ด้านรายการนำเที่ยว (Tour) ควรมีการประชาสัมพันธ์รายการนำเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ดเพื่อเป็นการกระตุ้นการรับรู้ให้แก่นักท่องเที่ยว 5. เอกลักษณ์ (Unique) เนื่องจากแหล่งท่องเที่ยวมีชื่อเสียง โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ในเรื่องสถาปัตยกรรม ควรส่งเสริมด้านความมีชื่อเสียงของแหล่งท่องเที่ยวให้เป็นที่รู้จัก ด้านพฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 36-45 ปี สถานภาพสมรส การศึกษาระดับปริญญาตรีประกอบอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ มีรายได้ 10,000-30,000 บาท และด้านความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติของนักท่องเที่ยวที่มีต่อปัจจัยด้านการตลาดท่องเที่ยวของจังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า ปัจจัยด้านการตลาดท่องเที่ยวที่มีผลต่อการตัดสินใจมาเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ด คือ ปัจจัยด้านราคา, ปัจจัยด้านช่องทางจัดจำหน่าย, ปัจจัยด้านกระบวนการ, ปัจจัยด้านบุคลากร และปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ซึ่งสามารถนำปัจจัยดังกล่าวไปใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ด้านการตลาดสำหรับการจัดการการท่องเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ดต่อไป  ด้านการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการจัดการการท่องเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า ยังไม่มีความสัมพันธ์กัน เพราะฉะนั้นควรมีการจัดตั้งหน่วยงานหลักในการรับผิดชอบและแต่งตั้งคณะกรรมการในการดำเนินงาน เพื่อเป็นศูนย์ประสานงานในการพิจารณาทบทวนแผนพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อกำหนดนโยบายและทิศทางการท่องเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ดระยะยาวที่ชัดเจน และควรให้ผุ้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ การปฏิบัติงาน การร่วมในผลประโยชน์ และร่วมในการประเมินผลติดตาม การจัดโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ของแหล่งท่องเที่ยว
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2153
Appears in Collections:The Faculty of Tourism and Hotel Management

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61011060011.pdf7.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.