Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2155
Title: Supply Chain Management Model of Snorkeling Tourism to Enhance Competitiveness in Trang Province
รูปแบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานของการท่องเที่ยวดำน้ำตื้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันในจังหวัดตรัง
Authors: Jutima Boonmee
จุติมา บุญมี
Kantimarn Chindaprasert
กันฑิมาลย์ จินดาประเสริฐ
Mahasarakham University
Kantimarn Chindaprasert
กันฑิมาลย์ จินดาประเสริฐ
karntimarn.c@msu.ac.th
karntimarn.c@msu.ac.th
Keywords: ห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวดำน้ำตื้น
การจัดการลีน
ประสิทธิภาพการแข่งขัน
จังหวัดตรัง
Tourism Supply Chain
Snorkeling Tourism
Lean Management
Enhance Competitiveness
Trang Province
Issue Date:  21
Publisher: Mahasarakham University
Abstract:  This research aims to 1) Identify the components of the snorkeling activity supply chain in Trang Province 2) Study the relationship between the competitiveness of the activities snorkeling with supply chain management optimization of snorkeling activities in Trang Province 3) Analyze the value stream mapping (VSM) of snorkeling activity supply chain in Trang Province 4) Improve supply chain management efficiency snorkeling activities in Trang Province 5) Test differences before and after improving the efficiency of snorkeling activities in Trang Province 6) Propose models for supply chain management snorkeling activities in Trang Province to increase competitive efficiency.   The research method is mixed research using a qualitative research model coupled with quantitative research, with four phases of research being conducted as follows: Phase 1, supply chain study of snorkeling activities in Trang Province; qualitative research methods are used in tandem with quantitative research. A qualitative approach by interviewing and observing key contributors who engage in businesses that provide snorkeling services. Seven companies chose purposive sampling according to the specified conditions and conducted additional interviews with relevant parties, choosing snowball of 34 people with semi-structured interviews and observations, analyzing data with inductive principles, summarizing small truths to big truths. Triangulation grouping data Code, key words, content analysis to generate temporary conclusions, then conclusions in conjunction with SIPOC conceptual framework (Supplier, Input, Process, Output, Customer) quantitative methods by selecting specific samples from tourists visiting snorkeling activities. The questionnaire analyzed data by evaluating opinions, competitiveness and optimization in supply chain management. Simple Correlation Analysis Phase 2 Value Stream Mapping (VSM) analysis of the snorkeling activity supply chain in Trang Province. qualitative research methodology by content analysis based on the findings of Phase 1 in conjunction with the VSM (Value Adding, Necessary But Non Value Adding, Non Value Adding) conceptual framework, Phase 3, improving the efficiency of the snorkeling activity supply chain in Trang Province. Qualitative research methods are used in tandem with quantitative research. Qualitatively, select key contributors from companies that provide snorkeling services that choose to conduct experiments. 1. Company by selecting specific according to certain conditions. Conduct interviews with those involved in snorkeling activities. There are 5 groups comprising executives and supervisors, employees on duty, suppliers, distributors, and government agencies. 15 people conducted semi-structured interviews, analyzed the content to draw temporary conclusions, then concluded in conjunction with the 7 Wastes concept framework (Over Production, Waiting, Transport, Inappropriate Processing, Unnecessary Inventory, Unnecessary Motion, Defects) and the ECRS conceptual framework (Eliminate, Combine, Rearrange, Simplify) and quantitative methods. 400 people with questionnaire analyze data by evaluating improvement comments. t-test and Phase 4 proposes a model for supply chain management in Trang Province to increase competitiveness. Qualitative research methodology is used by analyzing content based on the results of phase 3 in conjunction with competitive frameworks (Cost Advantages, Price and Value, Differentiation, Specialty Niches/Focus Strategy, Cooperation, Vitality of the Industry) and focus group discussions. There are 5 groups of 7 people each, comprising executives and supervisors, functional employees, suppliers, distributors and government agencies, with specific selections based on specified conditions in order to evaluate the supply chain management model of snorkeling activities to increase the competitiveness of marine tourism in Trang Province. The results of phase 1 responded to research objective 1 which showed that there were 10 elements in supplier 5 import 5 process activities 9 export activities 5 channels customers or tourists 7 groups. Approximately 88.1% statistically significantly at the level of 0.05, phase 2 responded to research objective 3 found that there were 4 activities that were necessary but not value-added 4 activities that did not add value 5 activities that did not add value of 5 activities and improve performance with ECRS for financial performance comments. Functional aspects overall supply chain. There is a tendency to manage various aspects better. Phase 3 responded to research aims at 5 finding that the effectiveness of snorkeling activities in Trang Province before and after improvements was different. Statistically significantly at the level of 0.05. Phase 4 responded to research intent 6 finding that the supply chain management model of snorkeling activities in Trang Province to increase competitiveness. Emphasis is placed on management on key issues including 1) reducing costs 2) developing service models that impress tourists 3) setting appropriate prices 4) enhancing the strengths of goods and services 5) increasing service facilities 6) providing services to meet the needs of diverse groups of tourists 7) cooperating with relevant agencies 8) improving the quality of service and creating continuous service availability and 9) services and situations in the post-COVID-19 pandemic. 
 การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ระบุองค์ประกอบของห่วงโซ่อุปทานกิจกรรมดำน้ำตื้นในจังหวัดตรัง 2) ศึกษาความคิดเห็นด้านความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการแข่งขันของกิจกรรมดำน้ำตื้นกับการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการห่วงโซ่อุปทานของกิจกรรมดำน้ำตื้นในจังหวัดตรัง 3) วิเคราะห์แผนผังสายธารคุณค่า (Value Stream Mapping: VSM) ของห่วงโซ่อุปทานกิจกรรมดำน้ำตื้นในจังหวัดตรัง 4) ปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการห่วงโซ่อุปทานกิจกรรมดำน้ำตื้นในจังหวัดตรัง 5) ทดสอบความแตกต่างก่อนและหลังปรับปรุงประสิทธิภาพของกิจกรรมดำน้ำตื้นในจังหวัดตรัง 6) เสนอรูปแบบในการจัดการห่วงโซ่อุปทานกิจกรรมดำน้ำตื้นในจังหวัดตรังเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขัน วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ควบคู่กับการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยมีการดำเนินการวิจัย 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาห่วงโซ่อุปทานของกิจกรรมดำน้ำตื้นในจังหวัดตรัง ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพควบคู่การวิจัยเชิงปริมาณ วิธีเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์และสังเกตการณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ประกอบธุรกิจที่ให้บริการดำน้ำตื้น จำนวน 7 บริษัท เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ตามเงื่อนไขที่กำหนด และสัมภาษณ์เพิ่มเติมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเลือกแบบแนะนำ (Snowball) จำนวน 34 คน ด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi- Structured Interview) และแบบสังเกต (Observation From) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยหลักอุปนัย (Inductive) เป็นการสรุปความจริงย่อย ๆ สู่ความจริงใหญ่ โดยการรวบรวมข้อมูล ตรวจสอบข้อมูล (Triangulation) จัดกลุ่มข้อมูล กำหนดรหัส (Coding) กำหนดคำหลัก (Key Words) วิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เพื่อสร้างข้อสรุปชั่วคราว จากนั้นทำบทสรุป (Conclusion) ร่วมกับกรอบแนวคิด SIPOC (Supplier, Input, Process, Output, Customer) วิธีเชิงปริมาณ โดยเลือกแบบเจาะจงกลุ่มตัวอย่างจากนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการกิจกรรมดำน้ำตื้น จำนวน 400 คน ด้วยแบบสอบถาม (Questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูลโดยประเมินความคิดเห็นความสามารถในการแข่งขันและการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการห่วงโซ่อุปทาน วิเคราะห์ข้อมูลความสัมพันธ์อย่างง่าย (Simple Correlation Analysis) ระยะที่ 2 การวิเคราะห์แผนผังสายธารคุณค่า (Value Stream Mapping: VSM) ของห่วงโซ่อุปทานกิจกรรมดำน้ำตื้นในจังหวัดตรังใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา จากผลการวิจัยในระยะที่ 1 ร่วมกับกรอบแนวคิด VSM (Value Adding, Necessary But Non Value Adding, Non Value Adding) ระยะที่ 3 การปรับปรุงประสิทธิภาพของห่วงโซ่อุปทานกิจกรรมดำน้ำตื้นในจังหวัดตรัง ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพควบคู่การวิจัยเชิงปริมาณ โดยวิธีเชิงคุณภาพเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากบริษัทที่ให้บริการดำน้ำตื้นที่เลือกทำการทดลอง 1 บริษัท โดยเลือกแบบเจาะจงตามเงื่อนไขที่กำหนด ทำการสัมภาษณ์กับผู้ที่เกี่ยวข้องในกิจกรรมดำน้ำตื้น จำนวน 5 กลุ่ม ประกอบด้วย ผู้บริหารและหัวหน้างาน พนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ ผู้จัดหาสินค้าและบริการ ตัวแทนจำหน่าย และหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 15 คน ด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์เนื้อหา เพื่อสร้างข้อสรุปชั่วคราว จากนั้นทำบทสรุป ร่วมกับกรอบแนวคิด 7 Wastes (Over Production, Waiting, Transport, Inappropriate Processing, Unnecessary Inventory, Unnecessary Motion, Defects) และกรอบแนวคิด ECRS (Eliminate, Combine, Rearrange, Simplify) และวิธีเชิงปริมาณ โดยเลือกแบบเจาะจงกลุ่มตัวอย่างจากนักท่องเที่ยวผู้ที่เคยมาใช้บริการกิจกรรมดำน้ำตื้น จำนวน 400 คน ด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยประเมินความคิดเห็นการปรับปรุง วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ และทำการทดสอบความแตกต่างก่อนและหลังปรับปรุงด้วยสถิติ t-test และระยะที่ 4 เสนอรูปแบบในการจัดการห่วงโซ่อุปทานกิจกรรมดำน้ำตื้นในจังหวัดตรังเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขัน ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา จากผลการวิจัยในระยะที่ 3 ร่วมกับกรอบการแข่งขัน (Cost Advantages, Price and Value, Differentiation, Specialty Niches/Focus Strategy, Cooperation, Vitality of the Industry) และสนทนากลุ่ม (Focus Group) เลือกแบบเจาะจงกับผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 5 กลุ่ม กลุ่มละ 7 คน รวมจำนวน 35 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารและหัวหน้างาน พนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ ผู้จัดหาสินค้าและบริการ ตัวแทนจำหน่าย และหน่วยงานภาครัฐ โดยเลือกแบบเจาะจงตามเงื่อนไขที่กำหนด เพื่อประเมินผลรูปแบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานของกิจกรรมดำน้ำตื้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันของการท่องเที่ยวทางทะเลในจังหวัดตรัง ผลการวิจัยในระยะที่ 1 ตอบความมุ่งหมายวิจัยที่ 1 พบว่า มีองค์ประกอบครบทุกองค์ประกอบ ในด้านผู้จัดหา จำนวน 10 รายการ ด้านนำเข้า จำนวน 5 กิจกรรม ด้านกระบวนการ จำนวน 9 กิจกรรม ด้านการส่งออก จำนวน 5 ช่องทาง ด้านลูกค้าหรือนักท่องเที่ยว จำนวน 7 กลุ่ม ตอบความมุ่งหมายวิจัยที่ 2 พบว่า ความสามารถในการแข่งขันมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการห่วงโซ่อุปทานในทิศทางเดียวกันในระดับที่สูงมาก ประมาณ 88.1 % อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ระยะที่ 2 ตอบความมุ่งหมายวิจัยที่ 3 พบว่า มีกิจกรรมที่มีมูลค่า จำนวน 4 กิจกรรม กิจกรรมที่จำเป็นแต่ไม่เพิ่มมูลค่า จำนวน 4 กิจกรรม กิจกรรมที่ไม่เพิ่มมูลค่า จำนวน 5 กิจกรรม ระยะที่ 3 ตอบความมุ่งหมายวิจัยที่ 4 พบว่า มีกิจกรรมที่ทำให้เกิดความสูญเปล่า จำนวน 5 กิจกรรม และปรับปรุงประสิทธิภาพด้วย ECRS สำหรับความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพในด้านการเงิน ด้านการทำงาน ด้านห่วงโซ่อุปทานโดยรวม มีแนวโน้มการจัดการด้านต่าง ๆ ดีขึ้น ระยะที่ 3 ตอบความมุ่งหมายวิจัยที่ 5 พบว่า ประสิทธิภาพของกิจกรรมดำน้ำตื้นในจังหวัดตรังก่อนและหลังปรับปรุงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ระยะที่ 4 ตอบความมุ่งหมายวิจัยที่ 6 พบว่า รูปแบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานกิจกรรมดำน้ำตื้นในจังหวัดตรังเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขัน เน้นการจัดการในประเด็นที่สำคัญ ประกอบด้วย  1) การลดต้นทุนค่าใช้จ่าย 2) การพัฒนารูปแบบการบริการที่ทำให้นักท่องเที่ยวประทับใจ 3) การกำหนดราคาให้เหมาะสม 4) การเพิ่มจุดเด่นให้สินค้าและบริการ 5) การเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกในการให้บริการ 6) การบริการให้ตรงกับความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีหลากหลายกลุ่ม 7) การให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 8) การปรับปรุงคุณภาพการบริการและสร้างความพร้อมการบริการอย่างต่อเนื่อง และ 9) การบริการและสถานการณ์ต่าง ๆ ช่วงหลังการแพร่ระบาดของโรค COVID-19
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2155
Appears in Collections:The Faculty of Tourism and Hotel Management

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62011060001.pdf8.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.