Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2157
Title: Model Of Sustainable Sport Tourism Management In Buriram Province
รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬาเพื่อความยั่งยืนจังหวัดบุรีรัมย์
Authors: Peeranthorn Puacharoen
พีรันธร พัวเจริญ
Linjong Pocharee
ลินจง โพชารี
Mahasarakham University
Linjong Pocharee
ลินจง โพชารี
Linjong.p@msu.ac.th
Linjong.p@msu.ac.th
Keywords: การจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬา
รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬา
ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว
พฤติกรรมนักท่องเที่ยว
ความพึงพอใจนักท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
Sports tourism management
sports tourism management model
potentiality of tourist attraction
tourist behavior
Issue Date:  25
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aimed to study the potentiality of sports tourism resources, behaviors and tourists’ satisfaction. Then sports tourism management was analyzed to find for sustainable sports tourism of Buriram province. The study was mixed methods research of qualitative and quantitative research by using of 3 types of tools as: Semi-structured interview to inquire 3 administrators or managers of sports competition and data was analyzed by content analysis; Questionnaire on behavior and satisfaction of 384 tourists then accidental sampling was used for collecting data; and Focus group discussion to find some models of sports tourism management with 11 network partners by using of purposive sampling method and data was analyzed by content analysis. Statistics used for analyzing data were mean, stand deviation, t-test and Chi-square. The study revealed that the potentiality of sports tourism resources in Buriram province was ready in all 6 aspects; competition venues, sports equipment used for competition, sports personnels, tourist attractions, facilities for competition and convenient accessibilities to competition venues.  For behaviors of sports tourists in Buriram province, it was found that more than a half of them were female between 20-29 years of age, graduated in bachelor’s degree level, worked as officers of private companies, had their monthly income at THB 10,001-20,000, travelled to touch sports competition’s atmosphere, planned their trips for 2-7 days in advance and travelled in Saturday-Sunday with their friends by personal vehicles. Factors affecting the decision making on sports tourism were: the beauty of sports tourist attractions, tourists wanted to stay in hotel/resort/bungalow, the reason for selecting of accommodation was convenient location and stayed for 1 night. Tourists searched for information on sports tourism from social media. The highest expense was in foods and beverages less than or equal to THB 3,000 for each trip.  Tourists’ satisfaction on sports tourism in Buran province was in high level in overall and by aspect, the highest levels were in aspect of continuous service and progressive service; while in aspect of equitable service, timely service and ample service were in high level. SSTM-Model (Sustainable Sport Tourism Management: SSTM-Model) in Buriram province was consisted of 5 aspects of management as; Strategy, Attractive, Personal, Public Relation and Sustainable.
การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อศึกษาศักยภาพของทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงกีฬา พฤติกรรม และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว จากนั้นนำมาวิเคราะห์การจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬาเพื่อค้นหารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬาเพื่อความยั่งยืนของจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง เพื่อสอบถามผู้บริหารหรือผู้จัดการแข่งขันกีฬา จำนวน 3 คน แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาแบบสอบถามพฤติกรรมและความพึงพอใจนักท่องเที่ยว จำนวน 384 ฉบับ ใช้วิธีในการเก็บข้อมูลแบบบังเอิญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test Chi-square และแบบสนทนากลุ่ม เพื่อค้นหารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬากับภาคีเครือข่ายจำนวน 11 คน ซึ่งเลือกแบบเจาะจง จากนั้นนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า ศักยภาพทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในจังหวัดบุรีรัมย์ มีความพร้อมในทุกด้านทั้ง 6 ด้าน คือ สถานที่ในการจัดการแข่งขัน อุปกรณ์กีฬาที่ใช้ในการจัดการแข่งขัน บุคลากรทางการกีฬา แหล่งท่องเที่ยวที่มีความดึงดูดใจสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการแข่งขัน และ ความสะดวกในการเข้าถึงสถานที่จัดการแข่งขันกีฬา พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเชิงกีฬาในจังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า นักท่องเที่ยวเชิงกีฬามากกว่าครึ่งเป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 20-29 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัท เอกชน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท เดินทางมาเพื่อสัมผัสบรรยากาศการแข่งขันกีฬา มีการวางแผนการเดินทางล่วงหน้า 2-7 วัน และเดินทางในวันเสาร์-อาทิตย์ โดยมากับเพื่อนด้วยรถยนต์ส่วนตัว ปัจจัยที่ทำให้ตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวเชิงกีฬา คือ ความสวยงามของแหล่งท่องเที่ยวเชิงกีฬา นักท่องเที่ยวต้องการพักโรงแรม/รีสอร์ท/บังกะโล สาเหตุในการเลือกสถานที่พักเพราะเดินทางสะดวก และพักค้างคืน 1 คืน นักท่องเที่ยวหาข้อมูลทางการท่องเที่ยวเชิงกีฬาจาก โซเชียลมีเดีย มีค่าใช้จ่ายคือค่าอาหารและเครื่องดื่มมากที่สุด ซึ่งค่าใช้จ่ายแต่ละครั้งต่ำกว่าหรือเท่ากับ 3,000 บาท ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวเชิงกีฬาจังหวัดบุรีรัมย์ ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ซึ่งด้านการให้บริการอย่างต่อเนื่อง และด้านการให้บริการอย่างก้าวหน้าอยู่ในระดับมากที่สุด ในส่วนด้านการให้บริการอย่างเสมอภาค ด้านการให้บริการอย่างทันเวลา และด้านการให้บริการอย่างเพียงพอ อยู่ในระดับมาก รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬาเพื่อความยั่งยืนจังหวัดบุรีรัมย์ SSTM-Model (Sustainable Sport Tourism Management : SSTM-Model) ประกอบด้วยการจัดการทั้ง 5 ด้าน คือ การจัดการด้านกลยุทธ์ (Strategy) การจัดการด้านสถานที่ (Attractive) การจัดการด้านบุคลากร (Personal) การจัดการด้านประชาสัมพันธ์ (Public Relation) และการจัดการด้านความยั่งยืน (Sustainable)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2157
Appears in Collections:The Faculty of Tourism and Hotel Management

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62011060004.pdf7.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.