Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2173
Title: Model for Management Efficiency Development of Health Insurance Fund: A Case Study of Chokchai Subdistrict Administrative Organization, Chokchai District, Nakhon Ratchasima Province, Thailand
รูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น: กรณีศึกษาพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา
Authors: Sangthip Seusena
แสงทิพย์ เสือเสนา
Jeerasak Pokawin
จีรศักดิ์ โพกาวิน
Mahasarakham University
Jeerasak Pokawin
จีรศักดิ์ โพกาวิน
jeerasak.p@msu.ac.th
jeerasak.p@msu.ac.th
Keywords: กองทุนหลักประกันสุขภาพ
รูปแบบการบริหารจัดการ
ประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
องค์การบริหารส่วนตำบล
Health Security Fund
Management Model
Efficiency Management
Subdistrict Administrative Organization
Issue Date:  8
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The study titled “A Model for Efficiency Development of Local Health Security Fund Management: A Case Study of Chokchai Subdistrict Administrative Organization, Chokchai District, Nakhon Ratchasima Province” aimed to study 1) Management condition of the Health Security Fund, Chokchai Subdistrict Administrative Organization, Chokchai District, Nakhon Ratchasima Province, 2) A Model for efficiency development of health security fund management, Chokchai Subdistrict Administrative Organization, Chokchai District, Nakhon Ratchasima Province by studying the opinions of 15 people involved in the management of the Health Security Fund, Chokchai Subdistrict Administrative Organization. The tools used for data collection were assessment forms and target group interviews. Data were analyzed using content analysis. The results of the study were as follows: 1. For the management condition of Local Health Security Fund, Chokchai Subdistrict Administrative Organization, Chokchai District, Nakhon Ratchasima Province                                                                              1.1 Regarding the management of the fund, it was found that some committees still did not know their roles and responsibilities as they should, and the responsibilities were not clearly divided. As a result, some committees had to perform many duties, not being a good role model for health promotion in the community.                           1.2 The Fund's finances found that the funding or budget was insufficient for the preparation of some projects which were very good projects, but due to the limitations of the criteria, they could not be conducted. Some projects required a lot of budgets, causing many projects to not get allocated money.                                             1.3 In supporting the project, it was found that some network partners and people understood the objectives of the project but did not have the skills to write a project to apply for support from the Fund. The fund committee should provide training on how to write a project and be a mentor to advise and verify the accuracy in accordance with the conditions of the fund.                                           1.4 In terms of tangible benefits (health benefit), it was found that in terms of participation, most people still did not understand the health security fund and participation in various projects. People would understand that it was the budget of the Sub-district Administrative Organization, it was the budget of the health promoting hospital, and the public's access to services was not evenly distributed. Some people were still worried about making a career.                  2. A Model for Efficiency Development of Local Health Security Fund Management : A Case Study of Chokchai Subdistrict Administrative Organization, Chokchai District, Nakhon Ratchasima Province consisting of:                                     2.1 C (Coordination) : The implementation and management of the local security fund requires coordination skills as it is a horizontal operation that requires cooperation from all sectors in the area, especially the public health and civil society sectors, and the local sector as a coordinating intermediary.                                                         2.2 H (Human Resource): In the allocation of human resources, the local government organization assigns knowledgeable personnel to be responsible for the operation of the Sub-district’s Health Security Fund.                                          2.3 O (Organization): The administration of the local health insurance fund is necessary. The committee must understand their roles and responsibilities and provide a structure to have mechanisms for sub-committees and working groups to assist in important tasks, such as preparing annual project plans, supervising projects in the area.                                                           2.4 K (Knowledge Management): To encourage the committees to work fully under their roles and responsibilities, knowledge management is an important tool in creating a collaborative learning process for committees, sub-committees, and working groups.                                                         2.5 C (Controlling): To prevent the risk of managing the local health insurance fund that may not meet the objectives, establishing an internal control system and continuous monitoring is important to increase the efficiency of the local health insurance fund.                                                                       2.6 H (Healthy System): The committee must have an understanding of the health system in which the local community has to carry out activities or projects on an ongoing basis for good health, such as health promotion activities.                                        2.7 A (Action Learning): The theoretical knowledge, if put into practice, learning from the administration and management of the local health insurance fund will help the board to understand and have more skills to work with.                                   2.8 I (Initiative Thinking): Rethinking within the local context will contribute to the effectiveness of local health insurance funding projects for local people in the future.               Participation in finding and analyzing problems should be encouraged. Consistent participation in planning and decision-making requires cooperation from all sectors in the area, especially public health and civil society, and the local sector as a medium for coordinating participation in monitoring and assessment, including supervision to prevent the risk from the management of the local health insurance fund that may not meet the objectives. Building an internal control system and continuous supervision plays an important role in increasing the efficiency of the local health insurance fund because of the problems that arise within the organization.
การศึกษา เรื่อง รูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น : กรณีศึกษาพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา 1) สภาพการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา 2) รูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพ การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา โดยศึกษาความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารงานกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินผลและแบบสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาปรากฏดังนี้ 1. สภาพการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา                                                                                  1.1 การบริหารจัดการงานกองทุนฯ พบว่า คณะกรรมการบางส่วนยังไม่ค่อยรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองเท่าที่ควรแบ่งหน้าที่รับผิดชอบยังไม่ชัดเจน ส่งผลให้คณะกรรมการบางส่วนต้องทำหน้าที่หลายอย่าง การไม่เป็นแบบอย่างที่ดีในการส่งเสริมสุขภาพกับชุมชน                                 1.2 การเงินกองทุนฯ พบว่า เงินสนับสนุนหรืองบประมาณยังไม่เพียงพอต่อการจัดทำโครงการบางโครงการเป็นโครงการที่ดีมาก แต่ด้วยข้อจำกัดของหลักเกณฑ์ทำให้ไม่สามารถจัดทำได้ การทำโครงการบางโครงการต้องใช้งบประมาณเยอะ ทำให้หลายๆโครงการก็ไม่ได้รับเงินจัดสรร                                                                                                       1.3 การสนับสนุนโครงการ พบว่า ภาคีเครือข่ายและประชาชนบางส่วนมีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของโครงการแล้ว แต่ไม่มีทักษะในการเขียนโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนจากกองทุนคณะกรรมการกองทุนควรจัดอบรมวิธีการเขียนโครงการและเป็นพี่เลี้ยงคอยแนะนำและตรวจสอบ ความถูกต้องให้เป็นไปตามเงื่อนไขของกองทุน                                               1.4 การได้รับประโยชน์เชิงรูปธรรม (ทางสุขภาพ) พบว่า ด้านการมีส่วนร่วมประชาชนส่วนใหญ่ ยังไม่เข้าใจเรื่องกองทุนหลักประกันสุขภาพการเข้าร่วมโครงการต่างๆ ประชาชนจะมี ความเข้าใจว่าเป็นงบของ อบต. เป็นงบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ และการเข้าถึงบริการของประชาชนยังไม่เท่าทั่วถึง ประชาชนบางส่วนยังห่วงการประกอบอาชีพ 2. รูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น : กรณีศึกษาพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วย                                                                                                            2.1 C (Coordination) การประสานงาน การดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันท้องถิ่นมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ทักษะการประสานงานเนื่องจากเป็นการทำงานแนวราบ ที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในพื้นที่ โดยเฉพาะภาคสาธารณสุขและภาคประชาสังคม และมีภาคท้องถิ่นเป็นตัวกลางในการประสานงาน                                                                    2.2 H (Human Resource) การจัดสรรทรัพยากรบุคคลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมอบหมายงานให้บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้ามารับผิดชอบในการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพส่วนตำบล                                                                                 2.3 O (Organization) การจัดองค์กร การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นจำเป็น ต้องให้คณะกรรมการเข้าใจในบทบาทหน้าที่และจัดโครงสร้างให้มีกลไกคณะอนุกรรมการและคณะทำงานมาช่วยงานในภารกิจสำคัญ เช่น การจัดทำแผนงานโครงการประจำปี การกำกับติดตามโครงการในพื้นที่                                                                                             2.4 K (Knowledge Management) การจัดการความรู้ เพื่อหนุนเสริม ให้คณะกรรมการทำงานภายใต้บทบาทหน้าที่ได้อย่างเต็มที่การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันทั้งคณะกรรมการ อนุกรรมการ รวมทั้งคณะทำงานที่มี                     2.5 C (Controlling) การควบคุมกำกับ เพื่อป้องการความเสี่ยงจากการบริหาร กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น ที่อาจไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ การสร้างระบบควบคุมภายใน และกำกับติดตามอย่างต่อเนื่องมีส่วนสำคัญที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น                                                                                                        2.6 H (Healthy System) ระบบสุขภาพ คณะกรรมการต้องมีความเข้าใจกับระบบสุขภาพในส่วนที่ชุมชนท้องถิ่นที่ต้องดำเนินกิจกรรมหรือโครงการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีสุขภาวะที่ดี เช่น กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ                                                                                                      2.7 A (Action Learning) การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ความรู้ในเชิงทฤษฎีหากได้ถูกนำมาปฏิบัติจริง เรียนรู้จากการบริหารและจัดการ กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นจะช่วยให้คณะกรรมการมีความเข้าใจและมีทักษะในการทำงานมากขึ้น                                               2.8 I (Initiative Thinking) ความคิดริเริ่ม การคิดใหม่ทำใหม่ภายใต้บริบทพื้นที่จะมีส่วนช่วยให้โครงการต่างๆ ที่ใช้งบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น เกิดประสิทธิผลกับประชาชนในพื้นที่ต่อไป ควรมีการมีส่วนร่วมในการค้นหาและวิเคราะห์ปัญหาการมีส่วนร่วมในการวางแผนและตัดสินใจสอดคล้องกันต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในพื้นที่ โดยเฉพาะภาคสาธารณสุขและภาคประชาสังคม และมีภาคท้องถิ่นเป็นตัวกลางในการประสานงานการมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล การควบคุมกำกับ เพื่อป้องการความเสี่ยงจากการบริหาร กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น ที่อาจไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ การสร้างระบบควบคุมภายใน และกำกับติดตามอย่างต่อเนื่องมีส่วนสำคัญที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นเป็นเพราะสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นภายในองค์การ
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2173
Appears in Collections:The College of Politics and Governance

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61011380017.pdf1.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.