Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2175
Title: The Development of Elderly Quality of Life in Wang Nang Sub-district Municipality, Mueang District, Maha Sarakham Province
การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเทศบาลตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
Authors: Saowalak Somya
เสาวลักษณ์ สมยา
Prayote Songklin
ประโยชน์ ส่งกลิ่น
Mahasarakham University
Prayote Songklin
ประโยชน์ ส่งกลิ่น
prayote@msu.ac.th
prayote@msu.ac.th
Keywords: การพัฒนา
คุณภาพชีวิต
ผู้สูงอายุ
Development
Quality of life
The elderly
Issue Date:  27
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The research on The Development of Elderly Quality of Life in Wang Nang Sub-district Municipality, Mueang District, Maha Sarakham Province aimed (1) to study the needs on developing the quality of life of the elderly in Wang Nang Sub-district Municipality, Mueang District, Maha Sarakham Province and (2) to study suggestions on developing the quality of life of the elderly in Wang Nang Sub-district Municipality, Mueang District, Maha Sarakham Province. The research was conducted on mixed-method research, quantitative and qualitative research. Concerning the quantitative research, the sample was 400 elderly people living in Wang Nang Sub-district Municipality, Mueang District, Maha Sarakham Province. The instrument used for data collecting was a questionnaire. A software program for social science research was used for data analysis. Statistics in data analysis were frequency, percentage, mean, and standard deviation. Concerning the qualitative research, data were collected from a semi-structured interview. Key informants were 8 elderly people living in Wang Nang Sub-district Municipality, Mueang District, Maha Sarakham Province. The data obtained from the interviews was used to analyze, synthesize, categorize and present in a descriptive design. The study found that: 1) Opinions about the needs on developing the quality of life of the elderly in Wang Nang Sub-district Municipality, Mueang District, Maha Sarakham Province were overall at a high level. Classified by each aspect, there were 3 aspects at the highest level of needs, arranged from the highest mean to the lowest mean, which were good physical health, good livelihood, and good emotional health. Besides, there were 3 aspects at a high level of needs, as arranged from the highest mean to the lowest mean, which were interpersonal relationships, social gatherings, and self-decision-making. 2) Significant suggestions about the needs for developing the quality of life of the elderly in Wang Nang Sub-district Municipality, Mueang District, Maha Sarakham Province were (1) government agencies and volunteers should have regular visits to look after the health of the elderly; (2) the elderly allowance should be increased to cover current expenses; (3) a vocational training courses and training courses should be provided for the elderly; (4) outdoor space should be provided for the elderly to have exercise and do activities, and (5) an elderly school should be established in the community for knowledge exchange in healthcare.
งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเทศบาลตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง  จังหวัดมหาสารคาม มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเทศบาลตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม (2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเทศบาลตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมที่มีทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเทศบาลตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยรวบรวมข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผู้ให้สัมภาษณ์ คือ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเทศบาลตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 8 คน โดยนำข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ จัดหมวดหมู่และนำเสนอในเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า 1. ผลการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเทศบาลตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก  เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า มีระดับความต้องการอยู่ในระดับมากที่สุด 3 ด้าน เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านสภาพร่างกายที่ดี ด้านสภาพความเป็นอยู่ที่ดี และด้านสภาพอารมณ์ที่ดี และมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 3 ด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านการรวมกลุ่มทางสังคม และด้านการตัดสินใจได้ด้วยตนเอง 2. ผลการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเทศบาลตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ที่สำคัญได้แก่ (1) หน่วยงานภาครัฐ อาสาสมัคร จิตอาสา ควรมีการลงพื้นที่ดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุเป็นประจำ (2) ควรมีการเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุมากขึ้นจากเดิม ให้พอใช้จ่ายในปัจจุบัน (3) ควรมีการเปิดศูนย์การเรียนรู้ฝึกอาชีพให้ผู้สูงอายุและฝึกอบรมโครงการต่างๆ (4) ควรมีการจัดทำลานกิจกรรมให้แก่ผู้สูงอายุ ในการออกกำลังกายและใช้ทำกิจกรรมต่างๆ และ (5) ควรมีการเปิดโรงเรียนผู้สูงอายุในชุมชนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องสุขภาพ
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2175
Appears in Collections:The College of Politics and Governance

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61011381004.pdf1.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.